ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 07:13:34 pm »




:13:     :45: :07: :45:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 08:28:55 pm »

นิทานสอนใจ : เปิบมหาพิสดาร!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
20 กุมภาพันธ์ 2554 10:45 น.


ขอบคุณภาพประกอบจาก
http://learnamericanenglishonline.com



เห็น คำว่า "เปิบพิสดาร" ที่ร้านไหนทุกคนก็ทราบว่าที่นั่นขายอาหารอร่อย และคงมีความพิเศษพิสดารต่าง ๆ นานา แต่ "เปิบมหาพิสดาร" เรื่องนี้ ไม่ซ้ำแบบใคร เป็นเรื่องพิสดารเกินกว่าเรื่องใด ๆ ที่ทุกคนเคยได้พบเห็นได้ยินมา
       
       ความพิสดารในอดีตกาลครั้งนี้ เกิดขึ้นที่เมืองพาราณสี...
       
       เริ่มเรื่องด้วยการที่เศรษฐีคนหนึ่งได้ถึงแก่กรรมลง พระราชาจึงมีพระกระแสรับสั่งให้ทายาทเศรษฐีนาม "คันธกุมาร" เข้าเฝ้าเพื่อทรงปลอบโยนให้คลายโศก แล้วจึงพระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้แทนบิดา
       
       ต่อมาผู้รักษาเรือนคลังของเศรษฐีผู้วายชนม์ก็ขนทรัพย์สมบัติที่เก็บ รักษาไว้มาให้คันธเศรษฐีดูพลางแจงให้ทราบว่าส่วนไหนเป็นของบิดา และส่วนไหนตกทอดมาจากปู่ของเขา
       
       คันธเศรษฐีเห็นทรัพย์สมบัติจำนวนมหาศาลที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ให้ตนแล้ว ก็คิดว่าบรรพบุรุษทั้งหลายไม่ฉลาดเลยที่พากันสะสมทรัพย์สินไว้มากมายแล้ว ละทิ้งไปเสีย เพราะฉะนั้น เขาจะต้องนำทรัพย์สมบัติเหล่านั้นไปด้วยให้จงได้
       
       คงจะทราบดีอยู่แล้วว่า ตามคติของชาวพุทธนั้น การที่คนเราจะนำทรัพย์สินติดตัวหลังจากกลับโลกไปแล้วได้นั้นจะต้องทำบุญทำ ทานในพระพุทธศาสนา และสงเคราะห์คนยากไร้เจ็บป่วย แต่คันธเศรษฐีก็ไม่ฉลาดพอที่จะทราบ และกระทำดังกล่าว เขาคิดแค่จะใช้สมบัติเหล่านี้ให้หมดไปก่อนตายเท่านั้น
       
       เศรษฐีจึงเริ่มดำเนินการใช้จ่ายเงินเพื่อการ "เปิบมหาพิสาดาร" ของตัวเองโดยจ่ายเงินสองแสนแรกสร้างห้องอาบน้ำประดับประดาไปด้วยแก้วผลึก จัดสร้างบัลลังก์สำหรับนั่ง ถาดใส่อาหาร ตั่งสำหรับวางอาหาร และมณฑปที่ตกแต่งประตูหน้าต่างอย่างวิจิตรงดงามด้วยเงินหลายแสนบาท แล้วจ่ายเงินจำนวนพันสำหรับอาหารแต่ละมื้อ
       
       ครั้นใกล้ถึงวันเพ็ญ คันธเศรษฐีก็ให้เตรียมอาหารราคาเรือนแสน ทั้งยังสละเงินอีกหนึ่งแสนตกแต่งพระนครจนงดงาม ใช้ให้คนเที่ยวตีกลองป่าวประกาศเชิญชวนประชาชนมาชมการเปิบมหาพิสดารของตน ราษฎรทั้งหลายจึงเตรียมผูกเตียงซ้อนเตียงขึ้น (คงทำคล้าย ๆ อัฒจันทร์สมัยนี้) เพื่อจะชมการเปิปกันให้ชัด ๆ
       
       วันนั้นมีชายบ้านนอกบรรทุกฟืนเพื่อแลกเปลี่ยนกับเสื้อผ้า และเสบียงอาหารคนหนึ่งเข้ามาพักกับสหายของตนในเมือง พอทราบข่าวการบริโภคอาหารของคันธเศรษฐีก็ชักชวนกันไปดู
       
       ฝ่ายเศรษฐีก็อาบน้ำชำระร่างกายอยู่ในห้องแก้วผลึกโดยใช้น้ำหอมถึง 16 หม้อ จากนั้นจึงขึ้นนั่งบัลลังก์เปิดสีหบัญชรให้ประชาชนชม แล้วคอยบริวารที่จะยกอาหารมาจึงบริโภคอาหารเรือนแสนโดยมีการฟ้อนรำ และมโหรีบรรเลงขับกล่อมต่อหน้าประชาชนทั้งปวง
       
       ส่วนชายบ้านนอก เมื่อชมการบริโภคอาหารของเศรษฐีแล้วก็เกิดความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะได้ บริโภคบ้าง แม้ไม่สมหวังก็จะขอตาย สหายของเขาจึงต้องเข้าไปอ้อนวอนคันธเศรษฐีให้ช่วยชีวิตเพื่อนไว้ ครั้งแรกเศรษฐีไม่ยอมด้วยกลัวว่าจะเป็นตัวอย่างให้คนอื่น ๆ พากันมาขอบ้าง
       
       แต่ด้วยเห็นแก่ชีวิตชายบ้านนอกคนนั้น จึงออกปากให้โดยมีข้อแม้ว่า ชายคนนั้นต้องมาทำงานในบ้านของตนครบ 3 ปีเสียก่อนถึงจะมีสิทธิ์บริโภคอาหาร มหาชนทั้งหลายเมื่อทราบเรื่องในครั้งนี้ต่างก็ขนานนามชายบ้านนอกนั้นว่า "นายภัตตภติกะ"

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://pinoytutorial.com
       ด้านนายภัตตภติกะก็ไม่ย่อท้อ ทำกิจการทุกอย่างโดยเรียบร้อยทั้งงานในบ้าน ในป่า ไม่ว่าจะเป็นกลางวัน หรือกลางคืน และเมื่อครบ 3 ปีตามสัญญา คันธเศรษฐีก็อนุญาตให้จัดงาน "เปิบมหาพิสดาร" ขึ้นในคืนวันเพ็ญท่ามกลางสายตามหาชน
       
       ได้เวลานายภัตตภติกะก็อาบน้ำชำระร่างกายในห้องแก้วผลึกด้วยน้ำหอม 16 หม้อตามแบบคันธเศรษฐีทุกประการ แล้วจึงขึ้นนั่งบัลลังก์เพื่อเตรียมลิ้มรสอาหาร
       
       กาลนั้น มีพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ภูเขาคันธมาทน์ในป่าหิมพานต์พระองค์หนึ่งทรงออกจาก นิโรธสมาบัติ หรือเข้าถึงความดับครบเจ็บวันในวันที่เจ็ด ทรงเล็งเห็นด้วยพระญาณ จึงทรงเหาะมาบิณฑบาตอาหารจากนายภัตตภติกะ ฝ่ายนายภัตตภติกะผู้สู้อุตส่าห์อดทนทำงานถึง 3 ปี เพียงเพื่อจะลิ้มรสอาหารมื้อนี้ ยังไม่ทันได้ตักเข้าปากสักคำก็เหลือบเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าจึงกลับคิด ได้ว่า
       
       "เพราะเราไม่ได้ทำทานเอาไว้ใน กาลก่อน ชาตินี้จึงเกิดมายากจนถึงเพียงนี้ อาหารมื้อนี้ถ้าเราบริโภคเข้าไปก็จะยังประโยชน์ต่อเราเพียงแค่วันเดียว แต่ถ้าเราถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว อาหารนี้ก็จะยังประโยชน์ต่อเรามากกว่าพันโกฏิกัลป์ทีเดียว"
       
       คิดได้ดังนั้นนายภัตตภติกะจึงก้มลงกราบพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยท่าเบญจางคประดิษฐ์แล้วถวายบิณฑบาตแก่พระองค์
       
       เมื่อใส่อาหารลงไปได้ครึ่งหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้าก็ทรงปิดบาตรเสีย แต่นายภัตตภติกะขอร้องให้ทรงรับไปเสียทั้งหมดเพื่อผลบุญจะได้เต็มที่ หลังจากที่พระผู้เป็นเจ้ารับแล้วนายภัตตภติกะจึงขอพรให้ตนมีความสุขในทุก ๆ ชาติ และขอให้ได้มีส่วนแห่งธรรมที่พระปัจเจกพุทธเจ้าพึงมีด้วยเถิด
       
       พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานว่า
       
       "ขอให้ท่านจงสำเร็จสมความมุ่งหมาย ประสงค์สิ่งใดจงได้เต็มเปี่ยมดุจพระจันทร์วันเพ็ญ และแก้วมณีโชติรสฉะนั้น"
       
       จากนั้นก็ทรงตั้งจิตอธิษฐานให้มหาชนทั้งปวงสามารถมองเห็นพระองค์เหาะ กลับไปยังภูเขาคันธมาทน์แจกอาหารแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อยพระองค์ที่ ประทับอยู่ ณ ที่นั่น ซึ่งก็แจกกันได้อย่างทั่วถึงโดยไม่รู้จักหมด
       
       มหาชนเห็นดังนั้นก็พร้อมใจกันเปล่งเสียงสาธุการดังสนั่นราวกับ อสนีบาต คันธเศรษฐีได้ยินก็เข้าใจว่าเป็นเสียงหัวเราะเยาะของมหาชนเมื่อเห็นนายภัต ตภติกะบริโภคอาหารด้วยท่าทางเปิ่นเทิ่นตามแบบยาจกบ้านนอก แต่เมื่อทราบเรื่องราวที่แท้จริงจากบริวารก็เรียกนายภัตตภติกะเข้ามาเพื่อขอ อนุโมทนาแบ่งบุญ ซึ่งนายภัตตภติกะก็ยินยอมแบ่งให้ตามส่วน ด้านคันธเศรษฐีจึงแบ่งทรัพย์ให้กึ่งหนึ่ง
       
       แม้แต่พระราชาที่ทรงสดับข่าว ก็ยังขอแบ่งบุญจากนายภัตตภติกะ เขาได้รับพระราชทานทรัพย์สมบัติมากมาย แล้วยังได้รับพระราชทานคำว่า "เศรษฐี" เป็น "ภัตตภติกะเศรษฐี" อีกด้วย
       
       คงจะไม่แปลกใจในผลบุญของนายภัตตภติกะ ด้วยเขาบริจาคทานอันทำได้ยากยิ่ง บริจาคทานอันสุจริตทั้งหมดแก่ผู้มีจิตบริสุทธิ์ด้วยศรัทธาเต็มเปี่ยม จึงได้รับอาริสงส์ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
       
       ครั้นสมัยพุทธกาลนายภัตตภติกะก็ถือกำเนิดมาเป็น "สุขกุมาร" บรรพชาเป็นสามเณรแล้วบรรลุธรรมตั้งแต่อายุ 7 ขวบดังนี้แล
       
       //////////////
       
       ขอขอบคุณนิทานเรื่องสั้น "ธรรมะบันดาลใจ นิทานต้นแบบแห่งความดี" สำนักพิมพ์ในเครือสถาพรบุ๊คส์


.

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000021935


.



.