ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2011, 10:37:23 am »




โสฬสกิจ (หลวงปู่มั่น) และ ลักษณะจิตที่หลุดพ้น
***
พระธรรมเทศนาโดย...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

     นำมาแบ่งปันโดย : rinnn 

กิจในพระธรรมวินัยนี้ ที่นับว่าสำคัญที่สุดเรียกว่า โสฬสกิจ เป็นกิจที่โยคาวจร กุลบุตรพึง พากเพียรพยายามทำให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท

โสฬสกิจ ได้แก่กิจในอริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ชั้นโสดาบันก็ประชุม ๔ ชั้น สกิทาคามีก็ประชุม ๔ สองสี่ก็เป็น ๘
ชั้นอนาคามีก็ประชุม ๔ ชั้นอรหันต์ก็ประชุม ๔ สองสี่ก็เป็น ๘
สอง แปด เป็น ๑๖ กำหนดสัจจะทั้ง ๔ รวมเป็นองค์อริยมรรคเป็นขั้นๆ ไป

เมื่อเรามาเจริญอริยมรรคทั้ง ๘ อันมีอยู่ในกายในจิต คือ

ทุกข์ เป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ ก็รู้ว่ามี อยู่เป็น ปริญเญยฺยะ ควรกำหนดรู้ก็ได้ กำหนดรู้
สมุทัย เป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่ เป็น ปหาตัพพะ ควรละ ก็ละได้แล้ว
นิโรธ เป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่เป็น สัจฉิกาตัพพะ ควรทำให้แจ้งก็ได้ทำให้แจ้งแล้ว
มรรค เป็นสัจจะของจริงที่มีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่เป็น ภาเวตัพพะ ควรเจริญให้มากก็ได้เจริญให้มากแล้ว


เมื่อมากำหนดพิจารณาอยู่อย่างนี้ ก็แก้โลกธรรม ๘ ได้สำเร็จ
มรรค อยู่ที่ กาย กับ จิต คือ ตา ๒ หู ๒ จ มูก ๒ รวมเป็น ๖ ลิ้น ๑ เป็น ๗ กาย ๑ เป็น ๘ มาพิจารณารู้เท่าสิ่งทั้ง ๘ นี้ ไม่หลงไปตาม ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ อันมาถูกต้อง ตนของตนจิตไม่หวั่นไหว โลกธรรม ๘ เป็นคู่ปรับกับมรรค ๘ เมื่อรู้เท่าส่วนทั้งสองนี้แล้ว

เจริญมรรคให้บริบูรณ์เต็มที่ ก็แก้โลกธรรม ๘ ได้ ก็เป็น ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตมฺ มงฺคลมุตฺตมํ

โลกธรรมถูกต้องจิตผู้ใดแล้ว จิตของผู้นั้นไม่หวั่นไหว เมื่อ ไม่หวั่นไหวก็ไม่เศร้าโศก เป็นจิตปราศจากเครื่องย้อม เป็นจิตเกษมจากโยคะ จัดว่าเป็นมงคลอันอุดม เลิศ ฉะนี้แล ฯ

                       

ลักษณะจิตที่หลุดพ้นนั้นมีลักษณะการหลุดพ้นต่างกัน จำแนกออกได้ 5 ประเภทคือ

๑. ตทงฺควิมุตฺติ คือ ความหลุดพ้นเป็นบางขณะ ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากความสงบของจิตในบางคราว หรืออาจเกิดจากการเจริญวิปัสสนาแล้วเห็นทุกข์ ทำให้จิตละสังขารเพียงบางครั้งบางคราว แต่ไม่เกิดปัญญา ไม่เกิดมรรค ที่จะทำลายกิเลสให้สิ้นไปได้ เพียงแต่ละได้ในบางครั้งบางคราวเป็นขณะ ๆ เท่านั้น

๒. วิกฺขมฺภนวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นโดยการใช้สมาธิกดข่มจิตไว้ คือ การเข้าฌาณสมาบัติ ระงับจิตจากกิเลสชั่วคราว จัดเป็นโลกียวิมุติ เมื่อออกจากฌานสมาบัติ กิเลสก็เข้าเกาะกุมจิตได้อีก เป็นความหลุดพ้นที่ไม่เด็ดขาด เพราะมรรคไม่ประหารนั่นเอง

๓. สมุจฺเฉทวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นโดยมรรคประหารกิเลส ขาดไปจากจิต เป็นการหลุดพ้นโดยเด็ดขาด คือ กิเลสขาดไปจากจิต ได้แก่ ผู้เจริญสมถวิปัสสนาจนเกิดมัคญาณประหารกิเลสในจิต

๔. ปฏิปสฺสทฺธิวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นด้วยความสงบ คือ จิตสงบหลุดพ้นจากกิเลสเป็นผลเกิดจากมรรคประหาร

๕. นิสฺสรณวิมุตฺติ จิตหลุดพ้นโดยแล่นออกจากสังขารธรรม เป็นวิมุตฺติของผู้เจริญวิปัสสนา มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงว่า สังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทำให้จิตหลุดพ้นแล่นออกจากความทุกข์ เข้าสู่นิพพาน เป็นธรรมชาติ หาเครื่องเสียบแทงไม่ได้

ลักษณะการหลุดพ้นของจิตทั้ง ๕ นี้ ตทงฺควิมุตฺติ และวิกฺขมฺภนวิมุตฺติ มักจะเกิดจากการเจริญสมถะอย่างเดียว ส่วนการหลุดพ้นแบบ สมุจฺเฉทวิมุตฺติ ปฏิปสฺสทฺธิวิมุตฺติ และนิสฺสรณวิมุตฺติ นั้น เกิดจากการเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เป็นโลกุตฺตรวิมุตฺติ เพราะกิเลสถูกประหารไปจากจิต




ขอบพระคุณที่มาจาก : board.palungjit.com
miracle of love
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ