ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 07:28:05 pm »

 :46: :45:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 05:56:59 pm »





ทุกขเวทนาของพระอรหันต์เจ้า
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ
หน้าที่ ๑๔ กระทู้ที่ ๒๗๕

ทุกขเวทนาของพระอรหันต์เจ้า
ถาม : หลวงปู่ครับ ท่านผู้ได้อรหันตภูมิ เมื่อแก่ชรา เมื่ออาพาธเจ็บป่วย หรือเมื่อมีทุกขเวทนาอย่างที่คนทั่วไปได้รับอยู่นั้น ของท่านจะเป็นอย่างใดครับ ?
ตอบ : ก็ไม่เป็นไร ทุกข์บ้างสุขบ้างไปตามเรื่อง
ทุกข์ทางกาย (กายิกทุกข์) ก็มีบ้างเป็นคราวๆ ไป คือทุกข์เพราะยังอยู่ยังมีรูปกาย เป็นเครื่องรองรับทุกข์ แปลว่า เวทนากายยังเป็นอยู่
แต่ท่านได้สุขจากการพิจารณาธรรมดา คือ เกิด – แก่ – เจ็บป่วย – เป็นอยู่หรือมรณานุสสติ
แต่ทุกข์ในทางใน คือ จิตใจ ท่านไม่มี ไม่เสวย
แปลว่าจิตใจไม่เป็นที่ตั้งของทุกข์ประการใดๆ
กายป่วยจิตไม่ป่วย กายทุกข์จิตไม่ทุกข์ กายทรุดโทรมจิตไม่ทรุดโทรม กายคือรูปก็เป็นธรรมดาธรรมชาติตามยถา เป็นไปตามเรื่องของทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ส่วนจิตใจอันเป็นธรรมะแล้วนั้นก็เป็นธรรมคงธรรม ไม่เป็นทุกข์ ไม่เป็นอนิจจัง เป็นธรรมไป ตามยถาของธรรม

ถาม : เข้าใจแล้วครับกระผม
แล้วในเมื่อยังต้องค้างอยู่กับทุกข์ทางกายนี้อยู่ เหตุใดจึงไม่ปรินิพพานเสียหล่ะ
ตอบ : นักโทษเมื่ออยู่ในคุก ก็รู้ว่าทุกข์ทรมาน แต่ทำไมหนีจากคุกไม่ได้ ทำไมไม่ออกจากคุกหนีไปเสียหละ
ก็อายุโทษยังไม่หมดมิใช่หรือ
นี่ก็เช่นกัน อายุยังไม่สิ้น ก็สืบอายุไป เลี้ยงชีวิตไป ทำหน้าที่ของท่านไป ไม่มีเร่งรัดเวลาใดๆ ไม่อยากพ้นทุกข์
ไม่อยากพ้นมรณะ ไม่มีรักไม่มีชังในสภาพเป็นอยู่และเป็นไป มีสติมั่นรู้รอคอยกาลเวลาอยู่ มรณะมาถึงวันใดก็วันนั้น
ทุกข์ก็เรื่องของทุกข์ สุขก็เรื่องของสุข ไม่อินังขังขอบอันใด ไม่เหมือนเรามัวเมาแต่คิดทุกข์คิดยาก เอาตนเพื่อคนนั้นคนนี้


             

ถาม : ภาระเรื่องขันธ์อาการ ๕ ต้องต่างก็รับของตัวไว้อย่างนั้นหรือ ?
ตอบ : ใช่...อย่างนั้น ร้อน หนาว หิว กระหาย ปวดหนัก ปวดเบา เจ็บนั่นนี้ บริหารอิริยาบถน้อยใหญ่ ไปมา ก็ยังมีอยู่
พยาธิทุกข์ก็ยังมีอยู่ แต่ท่านรู้หน้าตาของเวทนาว่า เวทนากล้านักๆ, อาพาธคราวนี้หนักหนาจริง, เวทนามันรุนแรงอย่างนี้หรือ
นี่ท่านรู้ที่จะพิจารณาอย่างนี้ แต่จิตใจของท่านไม่กระวนกระวายตามอาการของกายไม่ทุกข์ไปด้วย
ให้พิจารณาดูเถิดว่า แม้ตัวเราได้แต่รูปกาย รู้แต่รูปกายเท่านี้ก็ยังแบกภาระอันหนักเอาไว้ วันๆใช้รูปกายอันนี้อย่างหนัก

เพื่อให้กายนี้คงอยู่ได้ปัจจัยมาบำรุงบำเรอ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าสุดประมาณก็ยินยอมบางพวกก็บาปใหญ่เข้าให้อีก
มิหนำซ้ำได้โรคภัยไข้หนาวอื่นๆ อีกเป็นสิบเป็นร้อยอาการแก้ไขเยียวยาไปตามเรื่อง ทุเลาบ้างไม่หายบ้าง
นี่คือ ขันธภาระ เป็นภาระของทุกข์ทางกาย ผู้ยังเป็นปุถุชนก็หนักหนาสาหัสเป็นตายอยู่เท่าๆ กัน แล้วยังต้องหาบหาม
กิเลสภาระ ที่เกี่ยวด้วย เวทนา สัญญาสังขารวิญญาณเข้าอีก เป็นอยู่กับจิตนั่นหล่ะ คือให้ทุกข์ ให้เดือดร้อน เมาทุกข์เมาโลกไปเรื่อย

สมกับพระพุทธพจน์ที่ว่า “ขันธ์ ๕ เป็นภาระอันหนัก แต่จำต้องนำภาระนี้ไป การต้องทำภาระนี้เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
การปลงภาระนี้เสียได้เป็นสุข ครั้นปลงภาระอันหนักนี้ได้แล้ว ไม่ยึดภาระอันอื่นอีก ถอนตัณหาพร้อมมูลรากได้แล้ว
เป็นผู้หมดความอยาก เป็นผู้ดับสนิท”

ถาม : หมายความว่า ขันธ์คงขันธ์, ธรรมคงธรรม เช่นนั้นหรือครับ ?
ตอบ : ถูกแล้ว พระอรหันต์ท่านเป็นอย่างนั้น

ถาม : คำว่า คงธรรมคงขันธ์ หมายความว่าอย่างไร ขอหลวงปู่อธิบายให้ฟัง
ตอบ : คงที่คงธรรมก็หมดเรื่องว่าอีกต่อไปแล้ว จะให้อธิบายอะไรอีกเล่า
เหมือนกับแม่ครัวเขาทำอยู่ทำกิน ต้มยำทำแกง ใส่ลงไปในหม้อเดียวกัน
รสชาติทุกรสมีทุกรสของมัน เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด จืด ต่างก็บอกลักษณะเอาไว้
จะมาแยกรสชาติให้เสียไปทำไมอีก หล่ะ นี่ก็เหมือนกันเป็นธรรมอันบริสุทธิ์ หมดอาการแล้วไม่มีไปไม่มีมา
ไม่มีใครแยกความหวานออกจากน้ำตาลให้เมื่อยโดยเปล่าหรอก
ถาม : กราบขอบพระคุณครับหลวงปู่ แจ่มแจ้งแล้วครับ
ตอบ : เออ..ต้องอย่างนั้น



ขอบพระคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญวาท 6
พิมพ์ถวายวัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม )
บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยสำนักพิมพ์มติชน




รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปันโดย : VANCO (เต้)
http //board palungjit.com
Pics by : Google
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ