ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 08:39:21 pm »




“เพราะเป็นผู้หนึ่งที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์สึนามิ ที่ภูเก็ตเมื่อหลายปีก่อน และได้มีโอกาสใช้ความสามารถด้านภาษา อาสาเข้าไปเป็นล่ามสื่อสารกับชาวต่างชาติในโรงพยาบาลพังงาในเหตุการณ์นั้น จึงเป็นแรงบันดาลใจอยากทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร”

“หนูหวาน–วโรณิกา  จูน  เรซ” เปิดฉากเล่าถึงที่มาที่ไป ที่เธอ พี่สาว และครอบครัว ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิมหาสมุทรแห่งปัญญา เพื่อช่วยสนับสนุนด้านการศึกษาให้กับเด็กที่ยากจนและขาดแคลน

หลังจากเรียนปริญญาตรีด้านภาษาศาสตร์และการสื่อสาร จาก ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ แมริแลนด์ คอลเลจ ปาร์ค  เธอได้เข้าทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในอเมริกา ที่นั่นทำให้มุมมองที่มีต่อองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในสายตาของหนูหวานกว้างขึ้น และเห็นสัจธรรมที่ว่า “องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีเงินทุนจากการบริจาค แต่ไม่ได้หมายความว่าเขาใช้เงินนั้นอย่างชาญฉลาดและมีคุณธรรม”

“หนูหวานเห็นว่าเงินบริจาคส่วนใหญ่จะหมดไปกับยอดเงินเดือนของพนักงาน เงินเดือนของฝ่ายการตลาด ฝ่ายเขียนขอทุน แทนที่จะเอาเงินบริจาคไปช่วยผู้ด้อยโอกาสตามที่โฆษณา หรือแม้กระทั่งละลายไปกับงานเลี้ยงแสดงมุฑิตาจิตสำหรับผู้บริหาร เพียงคืนเดียวใช้เงินบริจาคไปกว่า 6 แสนเหรียญโดยไม่มีใครเสียดาย”

หนูหวานกลับมาเมืองไทยเพราะต้องการใช้เวลาอยู่กับครอบครัว และพบข้อมูลขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรในเมืองไทย ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับในอเมริกา คือ เงินบริจาค 5 พันบาท แต่ถึงมือเด็กเพียง 700 บาท หนูหวานจึงตั้งใจว่าจะบริจาคเงินให้เด็กโดยตรง โดยไม่ผ่านองค์กรใด แต่ต้องการทำให้เป็นระบบ ที่เงินบริจาคหนึ่งปีจะถูกดูแลโดยครูและอาจารย์ใหญ่ วางโครงสร้างให้ต่างฝ่ายต่างควบคุมกันเอง ไม่ใช่ยื่นตรงให้พ่อแม่ของเด็ก แล้วเงินถูกใช้ไปอย่างไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค

สาวคนนี้มั่นใจว่าต้องมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากคิดแบบเดียวกับเธอ เธอจึงตัดสินใจที่จะตั้งมูลนิธิเพื่อเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เงินที่บริจาคถึงมือผู้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย   และถูกใช้อย่างคุ้มค่า จึงก่อตั้งมูลนิธิมหาสมุทรแห่งปัญญาขึ้น เมื่อปี 2550 โดยพนักงานที่ทำงาน และอาสาสมัครในมูลนิธินี้จะไม่มีเงินเดือน ต้องทำงานฟรี เป็นอาสาสมัครจริง ๆ

“มีมูลนิธิฯดูแลนักเรียนอยู่สองโรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ เด็กส่วนใหญ่เป็นเด็กชาวเขา แต่ก็มีเด็กกระจายอยู่ตามจังหวัดอื่น ๆ เวลาหนูหวานหรือพี่หนูดี (วนิษา เรซ) อ่านหนังสือพิมพ์เจอเรื่องของเด็กที่ด้อยโอกาส  เช่น เด็กติดเชื้อเอดส์จากแม่ และเด็ก ๆ ที่พ่อแม่โดนฆาตกรรม ทางมูลนิธิฯก็จะใช้เงินบริจาคกระจายไปให้ทั่วถึง”

นอกจากการสนับสนุนด้านการศึกษา หนังสือ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ แล้ว ยังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็ก ๆ โดยกิจกรรมที่เด็ก ๆ ชอบกันมากก็คือ ศิลปะ เด็กบางคนไม่เคยแม้แต่จะจับอุปกรณ์ระบายสี มูลนิธิฯจึงจัดหาอุปกรณ์ศิลปะ โดยมีคณะครูและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่ง

หนึ่งในเชียงใหม่มาช่วยสอน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ให้เด็กได้ลงมือทดลองทำจริง สร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบที่พวกเขาไม่เคยสัมผัสมาก่อน

หนูหวานบอกว่า ก่อนก่อตั้งมูลนิธิฯมีคนคัดค้านเธอมากมาย หลายคนบอกว่าจะเป็นภาระสำหรับเธอ บ้างก็ว่ารอให้เกษียณอายุก่อนแล้วค่อยทำ เธอก็ค้านว่า การช่วยเหลือเด็ก ๆ เป็นเรื่องที่รอไม่ได้ เธอรู้ดีว่าแค่เธอเพียงคนเดียวคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเด็กและชุมชนให้เติบโตแบบก้าวกระโดดได้ แต่หากทุกคนช่วยกัน เริ่มจากสังคมเล็ก ๆ รอบตัวเรา อาจเป็นวัด โรงเรียนใกล้บ้าน ไปช่วยดูแลเด็กกำพร้าในวันหยุด ไปสอนอาชีพให้ผู้หญิงที่โดนทำร้าย การทำความดีช่วยเหลือสังคมก็จะขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น

“สิ่งที่ยิ่งใหญ่หลาย ๆ อย่างในโลกนี้ ก็เริ่มจากจุดเล็ก ๆ เสมอ  หนูหวานคิดว่า เมื่อไหร่ที่เราเริ่มเป็นผู้ให้  โลกจะกลายที่ที่น่าอยู่ขึ้นมากมายค่ะ” หนูหวานทิ้งท้าย.   

นภาพร พานิชชาติ

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=281&contentId=123702