ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 08:55:10 pm »

 :yoyo106: :yoyo099: :yoyo072:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 07:34:09 pm »



หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย


บ่ ต้องดีใจ
บ่ ต้องเสียใจ
ดีก็ช่าง
ร้ายก็ช่าง

เทศน์ที่สั้นที่สุด วาง




หลวงปู่หลุยและหลวงปู่ชอบ"เพชรคู่แฝด"
บนยอดมงกุฎแห่งจังหวัดเลย

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 07:32:11 pm »



หลวงปู่หลุย จันทะสาโร
วัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย



ธรรมเป็นตัวธรรมชาติภายในจิต และมีเพียรให้รู้ตามธรรมชาติ
จึงชื่อว่ารู้อริยสัจ ราคะ โมหะ โทสะ
ต้นไม้ ภูเขา สัตว์ ก็เป็นธรรมชาติของเขา เป็นเช่นนั้น แต่ไหนแต่ไรมา

เราไม่ควรไปยึดไปแต่งให้เป็นตัณหา ก่อเรื่องทุกข์ให้สัตว์เหล่านั้น กลายเป็นทุคติ นรกไป




พิพิฒภัณฑ์หลวงปู่หลุย วัดป่าสุทธาวาส


เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง ตำบลผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 07:29:01 pm »






หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู



หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร มาทำวัตรหลวงปู่ขาว อนาลโย
ซึ่งเป็นธรรมเนียมของพระทางฝ่ายกรรมฐาน



หลวงปู่ขาวและหลวงปู่ดูลย์




ทำดี ทำบ่ดี ก็แม่นเรา พระพุทธเจ้าเป็นผู้สอน
มันก็แม่นเรานั่นแหละ
ครั้งทำบ่ดีก็แม่นเรา เพราะเหตุนั้น ให้รักษาให้มันดี

มีไม่ดีอย่าไปทำ  พวกเรานี่มันสับสนปนกันนี่
ทั้งดี ทั้งชั่ว
มันจึงสุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้

เอาอยู่อย่างนั้นแหละ
ได้รับทั้งสุข ได้รับทั้งโทษ เพราะสับสนปนกัน


สิ่งใดเกิด..................สิ่งนั้นตาย
สิ่งใดไม่เที่ยง...สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์...สิ่งนั้นเป็นอนัตตา
ผู้ใดเห็นอนัตตา..ผู้นั้นเห็นพระนิพพานแล

ใครรัก ใครชัง ช่างเถิด    ใครเชิด ใครแช่ ช่างเขา
ใครเบื่อ ใครบ่น ทนเอา    ใจเรา สบายแล้ว เป็นพอ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 07:08:55 pm »



จิตคือพุทธะ


ในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมสายพระกัมมัฏฐาน ทั้งพระภิกษุและฆราวาส ให้การยอมรับว่า “หลวงปู่ดูลย์ อตุโล นับเป็นพระองค์ที่มีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องของจิตมาก จนกระทั่งได้รับสมญาว่าเป็นบิดาแห่งการภาวนาจิต”

ประจักษ์พยานแห่งสมญานามดังกล่าวจะเห็นได้จาก คำเทศน์ คำสอน และความสนใจของหลวงปู่ อยู่ในเรื่อง “จิต” เพียงอย่างเดียว เรื่องอื่นนอกจากนั้นหาได้อยู่ในความสนใจของหลวงปู่ไม่
ด้วยความลึกซึ้งในเรื่องจิต จึงทำให้หลวงปู่ประกาศหลักธรรม โดยใช้คำว่า “จิต คือ พุทธะ” โดยเน้นสาระเหล่านี้ เช่น

“พระพุทธเจ้าทั้งปวง และสัตว์โลกทั้งนั้น ไม่ได้เป็นอะไรเลย นอกจากเป็นเพียงจิตหนึ่ง นอกจากจิตหนึ่งนี้แล้ว ไม่มีอะไรตั้งอยู่เลย”
“จิตหนึ่ง ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่มิได้เกิดขึ้น และไม่อาจถูกทำลายได้เลย”

จิตหนึ่งเท่านั้นที่เป็นพระพุทธะ ดังคำตรัสที่ว่า

“ผู้ใดเห็นจิต ผู้นั้นเห็นเรา
ผู้ใดเห็นปฏิจฺจสมุปฺบาท ผู้นั้นเห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต


ในการสอนของหลวงปู่ ท่านจะเตือนสติสานุศิษย์เสมอๆ ว่า

อย่าส่งจิตออกนอก

หลวงปู่ยังสอนแนวทางปฏิบัติ อีกว่า “จงทำญาณให้เห็นจิต เมื่อเห็นจิตได้ ก็จะสามารถแยกรูป ถอดด้วยวิชชามรรคจิต เพื่อที่จะแยกรูปกับกายให้อยู่คนละส่วน และจะเข้าใจพฤติของจิตได้ในลำดับต่อไป”



คำสอนเกี่ยวกับเรื่องจิตของหลวงปู่ ที่มีการบันทึกไว้ในที่อื่นๆ อีก ก็มีเช่น :-

“หลักธรรมที่แท้จริง คือ จิต จิตของเราทุกคนนั่นแหละ คือหลักธรรมสูงสุดในจิตใจเรา นอกจากนั้นแล้ว ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย
จิตนี้แหละ คือ หลักธรรม ซึ่งนอกไปจากนั้นแล้วก็ ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต
ขอให้เลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดได้ถูกตัดทอนไปแล้ว พิษของจิตก็ได้ถูกถอนขึ้นจนหมดสิ้น

จิตในจิตก็จะเหลือแต่ความบริสุทธิ์ซึ่งมีอยู่ประจำแล้วทุกคน”

ด้วยเหตุนี้ การสอนของหลวงปู่จึงไม่เน้นที่การพูด การคิดหรือการเทศนาสั่งสอน แต่ท่านจะเน้นที่การภาวนา และให้ดูลงที่จิตใจของตนเอง อย่าไปดูสิ่งอื่น เช่น อย่าไปสนใจดูสวรรค์ ดูนรก หรือสิ่งอื่นใด แต่ให้ดูที่จิตของตนเอง ให้ดูไปภายในตนเอง

       “อย่าส่งจิตออกนอก” จึงเป็นคำที่หลวงปู่เตือนลูกศิษย์อยู่เสมอ


ที่มาของข้อมูลส่วนนี้ จากลานธรรมจักร 
: http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=225



จิตที่ส่งออกนอก เพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้นเป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหวเป็นทุกข์

จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ



Credit by : http://www.kmitl.ac.th/~dbuddish/tumma/sad6.html



พระราชวุฒาจารย์(หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 06:46:06 pm »



รู้ตัวอยู่เสมอ

พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวว่า สติมีประโยชน์ในที่ทั้งปวง”
ในมุฏฐัสสติสูตร กล่าวถึงประโยชน์ของสติไว้ว่า ทำให้คนหลับอย่างเป็นสุข ตื่นอยู่ก็เป็นสุข ไม่ฝันลามก เทวดารักษา น้ำอสุจิไม่เคลื่อน

อีกแห่งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ภิกษุผู้มีสติคุ้มครองตนแล้วย่อมอยู่เย็นเป็นสุข”
         พูดง่ายๆ ว่า มีสติเพียงอย่างเดียว สบายไปแปดอย่างว่างั้นเถอะ

พระสงฆ์องค์เจ้าโดยทั่วไปต่างเจริญสติกันทั้งนั้น อย่างหลวงปู่ดูลย์ อตุโลท่านก็เป็นพระมหาเถระอีกรูปหนึ่ง ที่ฝึกตนด้วยสติและสอนให้ผู้อื่นใช้สติ

ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรา หลวงปู่ดูลย์บอกให้เอาสติกำกับ ให้เป็นอยู่ด้วยสติ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ให้รู้ตัวอยู่เสมอ รู้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะว่าอะไรเป็นอะไร นั่นเป็นนั่น นี่เป็นนี่ การฝึกครั้งแรกค่อนข้างยากหน่อย ท่านบอกว่าเมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน ซึ่งเป็นธรรมดาของผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไปคิดในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง

เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปเคร่งเครียดอะไรมาก ขอให้รู้ตัวเอาไว้

ภายหลังจิตท่องเที่ยวไปในอารมณ์ต่างๆ แล้ว เมื่อรู้สึกตัวทั่วพร้อม ให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตน ในระหว่างที่จิตเที่ยวไปกับในระหว่างที่จิตมีความรู้ตัว ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร

รู้ไว้ทำไม ?

ก็เพื่อเป็นอุบายสอนใจตนให้รู้จักจดจำ

ขณะที่จิตเที่ยวไปจุ้นจ้านอยู่ที่นั่นที่นี่ จิตจะไร้พลังประสบกับความกระวนกระวาย เหน็ดเหนื่อย เป็นทุกข์พอสมควร ขณะนั้นเราไม่รู้ตัว แต่ขณะที่จิตหยุดอยู่ เพราะมีสติวิ่งมานั้น จิตจะสงบ รู้ตัว เยือกเย็น สุขสบาย
ลองเปรียบเทียบขณะจิตทั้งสองเวลานั้น ก็จะรู้โทษของการแส่ไปตามอารมณ์กับคุณของการรู้ตัว แล้วจะเกิดความรู้สึกว่าอยากจะอยู่กับจิตชนิดไหน
แน่นอนที่สุด ใครๆ ก็อยากจะอยู่กับจิตที่มีสติ

ทุกครั้งที่จิตวิ่งไปข้างนอก ให้พยายามรู้ตัว แล้วค่อยๆ ดึงกลับมา ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป เผลอออกไปดึงกลับมา อย่างนี้เรื่อยไป เมื่อถึงจุดอิ่มตัว ก็จะกลับรู้ตัวทั่วพร้อมอย่างเดิมอีก

หลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า

เมื่อรู้ตัวแล้ว ก็พิจารณาและรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ไม่นานนักก็จะสามารถคุมจิตได้ และบรรลุธรรมในที่สุด โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร
ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป

ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ให้ลองนึกคำว่า “พุทโธ” หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตว่า คำที่นึกนั้นชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานของจิต
หลวงปู่ดูลย์ได้ให้ทางแก้ไว้ด้วยโดยใช้ “พุทโธ” จะเป็นคำอื่นก็ได้ แต่คำ “พุทโธ” ดีที่สุด
ฐานแห่งจิตจะอยู่ไม่คงที่ เปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย แต่ว่าอยู่ในกายแน่นอน ไม่ต้องไปหานอกกาย

ท่านบอกว่าฐานแห่งจิตที่นึก “พุทโธ” ปรากฏชัดที่สุด ย่อมไม่มีอยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่

แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้นจะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว
เมื่อกำหนดถูก และ “พุทโธ” ปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อยๆ อย่าให้ขาดสายได้ ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นไปสู่อารมณ์ทันที

เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเอง ก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง
เมื่อคุมจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ให้ใช้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมนั่นแหละ
ต่อไปก็ดูว่า มีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง อะไรเกิดขึ้นก็ช่าง ให้ละทิ้งให้หมด โดยละทิ้งทีละอย่าง อะไรเกิดก่อน ให้ละก่อน อะไรเกิดหลัง ให้ละทีหลัง แล้วเอาสติมาดูจิตต่อไป

กำหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น และละอารมณ์นั้นๆ ให้หมด
กำหนดรู้และละไปเท่านั้น
นี่เป็นวิถีแห่งสมาธิของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 04:05:31 pm »




พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา


พระพุทธศาสนา เป็นของดี วิเศษยิ่งนัก ในโลกนี้
ไม่มีเครื่องเปรียบ เพราะ เป็นหนทาง แก้ทุกข์
นับว่า เป็นแก้วรัตนะมงคล ของโลก ทีเดียว



ขอบพระคุณที่มาภาพจาก 
http://www.samathi.com/meditation/showthread.php?t=2206&page=2


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 03:55:04 pm »



หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร

 

ผู้มีปัญญา ไม่ควรให้สิ่งที่ล่วงมาแล้วตามมา
ไม่ควรหวังในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง

ผู้มีปัญญา ได้เห็นในธรรมซึ่งเป็นปัจจุบัน ควรเจริญความเห็นนั้นไว้เนือง ๆ
ควรรีบทำเสีย

ผู้มีปัญญา ซึ่งมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ มีความเพียรแยกกิเลสให้หมดไป
จะไม่เกียจคร้าน ขยันหมั่นเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน

ความยิ่งใหญ่ คือ ความไม่ยั่งยืน
ความไม่ยั่งยืน เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่และแน่นอน

ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ คือ ชีวิตที่อยู่ด้วย ทาน - ศีล - เมตตา และกตัญญู
ชีวิตที่มีความดี อาจมิใช่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่
แต่ชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ต้องอาศัยคุณความดีเท่านั้น

การดูกิเลสและแสวงธรรม  ท่านทั้งหลายอย่ามองข้าม ใจ
ซึ่งเป็นที่อยู่ของกิเลส

และเป็นที่สถิตอยู่แห่งธรรมทั้งหลาย
กิเลสก็ดี ธรรมก็ดี
ไม่ได้อยู่กับกาลสถานที่ใด ๆ ทั้งสิ้น

แต่อยู่ที่ใจ คือเกิดขึ้นที่ใจ เจริญขึ้นที่ใจ และดับลง
ที่ใจดวงรู้ ๆ นี้เท่านั้น

 
โอวาทธรรม ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

ทุกข์ ต้องกำหนด รู้    สมุทัย  ต้องละ
นิโรธ  ต้องทำให้แจ้ง     มรรค  ต้องเจริญให้มาก

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 03:23:49 pm »



หลวงปู่เสาร์ กันฺตสีโล
วัดเลียบ จ.อุบลราชธานี


รวมเกร็ดคำครู : ทุกข์

...ยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์
คือ ศีล5 และกุศลกรรมบท10 จึงจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์

ชีวิตที่เป็นมานี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก เพราะอันตรายชีวิตทั้งภายในภายนอกมีมากต่างๆ
การที่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้
ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก เพราะกาลที่เปล่าว่างอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกยืดยาวนานนัก

บางคาบบางสมัยจึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง
เหตุนั้นเราทั้งหลาย
พึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด
 อย่าให้เสียที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย