ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 09:50:24 pm »


กรณี ’อุ้มบุญ“ หรือการที่หญิง ’ตั้งครรภ์-อุ้มท้องแทนหญิงอื่น“ เป็นข่าวใหญ่ครึกโครมในเมืองไทยอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้มิใช่กรณีของคนดังอย่างที่เคยเป็นข่าว หากแต่เป็นกรณีมีการจับกุม “ขบวนการรับจ้างอุ้มบุญ” ซึ่งแก๊งต่างชาติเข้ามาดำเนินการในเมืองไทย โดยมีการใช้หญิงชาวเวียดนามเข้ามารับจ้างทำเรื่องนี้โดยเฉพาะ
   
ล่าสุดคดีดังกล่าวนี้ก็ยังวุ่น ๆ อยู่ในเชิงหลักกฎหมาย
   
และก็ทำให้เรื่อง “อุ้มบุญ” มีมุมมองในมุมลบเกิดขึ้น...
   
ทั้งนี้ คดีขบวนการรับจ้างอุ้มบุญจะสรุปอย่างไร ? ก็เป็นเรื่องที่น่าติดตามไม่น้อย และขณะเดียวกันเรื่องการตั้งครรภ์-อุ้มท้องแทนผู้อื่น ที่มีการเรียกขานโดยนำคำว่า ’บุญ“ เข้ามาใช้ คือ “อุ้มบุญ” นั้น ก็ถือว่าน่าคิด-น่าพิจารณาเช่นกันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับบุญล่ะหรือ? แล้วกับขบวนการรับจ้างอุ้มบุญที่ผิดกฎหมายล่ะยังไง?
   
“บุญ” ซึ่งมีคำตรงข้ามอีกคำหนึ่งคือ ’บาป“ นั้น ก็อย่างที่ทราบ ๆ ว่าเป็นคำ-เป็นเรื่องในเชิงศาสนา ซึ่งว่ากันในทางพุทธศาสนา ข้อมูลใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ที่มีแหล่งอ้างอิงจากหลายอรรถกถา ก็พอจะฉายภาพให้เข้าใจได้ในระดับหนึ่ง กล่าวคือ...บุญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบ ทำให้เลือกคิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น คนทั่วไปแม้จะมองไม่เห็นบุญ แต่ก็สามารถรู้อาการของบุญ หรือผลของบุญได้ คือเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจชุ่มชื่นเป็นสุข เปรียบได้กับไฟฟ้าซึ่งเรามองไม่เห็นตัวไฟฟ้าโดยตรง แต่รับรู้อาการของไฟฟ้าได้ โดยบุญนั้นเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เหมือนจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ
   
ในส่วนของวิธีทำบุญ จากแหล่งข้อมูลเดิมมีการระบุไว้ 10 แบบ...1. การบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้ หรือให้ทาน 2. การสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น หรือรักษาศีล  3. การสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ หรือภาวนา  4. การมีความเคารพอ่อนน้อมต่อ ผู้มีคุณธรรม  5. การขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ  6. การอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น 7. การอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ 8. การฟังธรรม 9. การ แสดงธรรม 10. การปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง ทั้งนี้ อีกนัยหนึ่ง บุญ...หมายถึงสิ่งที่คนควรกระทำ ซึ่งจะนำความสุขมาสู่ตนและคนอื่น
   
สำหรับ “บาป” ใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ว่าไว้ว่า...บาป หมายถึงสิ่งที่ทำให้จิตใจเสีย คือมีคุณภาพต่ำลง ไม่ว่าจะเสียในแง่ไหนก็เรียกว่าบาปทั้งสิ้น สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาป คือ อกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่…1. ฆ่าสัตว์ 2. ลักทรัพย์ 3. ประพฤติผิดในกาม 4. พูดเท็จ 5. พูดส่อเสียด 6. พูดคำหยาบ 7. พูดเพ้อเจ้อ 8. คิดโลภมาก 9. คิดพยาบาท 10. มีความเห็นผิด โดยที่อีกนัยหนึ่ง บาป...หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ไม่ควรกระทำ ไม่ว่าจะด้วยทางกาย วาจา หรือใจ เพราะเป็นสิ่งที่พึงนำทุกข์มาสู่ตนและผู้อื่น
   
“บุญ” และ “บาป” มีเกณฑ์-มีหลักการที่ก่อเกิด
   
แล้วกับกรณี ’อุ้มบุญ“ ล่ะ...นี่ ’คือบุญหรือ??“
   
ทั้งนี้ กับประเด็นปุจฉานี้ พระราชธรรมนิเทศ หรือ พระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ให้ความกระจ่างว่า...เรื่องการ “อุ้มบุญ” นี้มีคนถามกันเยอะว่าเกี่ยวข้องกับศาสนาหรือบุญด้วยหรือ? ซึ่งเรื่องนี้ในทางพระพุทธศาสนาถือเป็นความเห็นผิดทั้งสองฝ่ายตั้งแต่แรกแล้ว เพราะในทางพุทธศาสนาเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม การอุ้มบุญเป็นการ ’ฝืนกฎแห่งกรรม“ มีแต่เสียกับเสีย เป็นการร่วมกันสร้างเวรกรรมให้เพิ่มมากขึ้น
   
’หลักศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าท่านสอนให้หยุดการเวียนว่ายตายเกิด เพื่อจะได้เกิดมรรคผลนิพพาน ดังนั้นการรับจ้างตั้งครรภ์ ที่นิยมเรียกกันว่าอุ้มบุญนั้นผิด น่าจะเรียกว่าอุ้มบาปจะถูกต้องกว่า“
   
พระพยอมระบุต่อไปว่า...การรับจ้างอุ้มท้อง คนที่ทำเช่นนี้เป็นบาป เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน การรับจ้างทำให้เกิด การเกิดแบบนี้ไม่ใช่สุข แต่เป็นทุกข์ ดังนั้นเมื่อใครทำให้เกิด จึงทำให้เป็นทุกข์ อย่างที่เป็นข่าวตอนนี้คนที่ท้องก็กำลังทุกข์หนัก คือเมื่อเด็กเกิดมาแล้วไม่รู้ว่าจะได้เงินค่าจ้างหรือเปล่า ถ้าเด็กเกิดมาพิกลพิการแล้วใครจะดูแล ซึ่งเด็กที่เกิดมาถือว่าเป็นลูกของคนที่ตั้งท้อง จิตวิญญาณของเด็กกับจิตวิญญาณของผู้ที่อุ้มท้องต้องสัมพันธ์กันมาแต่ในอดีตจึงจะมาเป็นแม่เป็นลูกกันได้ในชาตินี้ การจ้างผู้อื่นอุ้มท้องก็เท่ากับเป็นการพรากลูกพรากแม่ เมื่อเด็กโตขึ้นรู้ความจริง และวิบากกรรมให้ผล เด็กย่อมทำให้ผู้ว่าจ้างไม่สบายกายไม่สบายใจหลายรูปแบบ เช่น โกรธบ้าง ทำให้เสียใจบ้าง ดื้อบ้าง ต่อต้านบ้าง เป็นต้น
   
ทิ้งท้าย พระพยอมบอกว่า...“เรื่องนี้แม้จะบริสุทธิ์ใจก็เป็นบาป คนดีมีศีลธรรมเขาไม่รับอุ้มท้องกันหรอก แต่มีบางคนที่เห็นแก่เงินจึงยอมทำ เมื่อจิตใจผู้รับจ้างอุ้มท้องมีความโลภ เห็นผิดไปจากธรรม จิตวิญญาณที่เข้ามาอาศัยอยู่ในท้องย่อมไม่ใช่จิตวิญญาณที่ดี ผู้ที่ต้องการมีลูกก็อย่าได้ไปจ้างใครมาอุ้มท้องแทน ถ้าอยากมีลูกจริง ๆ ก็เอาเด็กกำพร้ามาดูแลเลี้ยงดู จะเป็นการเผื่อแผ่เมตตา…
   
จะได้บุญ...ไม่ต้องได้บาป!!!“.


http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=23&contentId=124455