ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 04, 2011, 09:48:09 pm »




มาร์ติน วีลเลอร์ ฝรั่งหัวใจอีสาน

หากพูดถึงฝรั่งที่ชื่อ "มาร์ติน วีลเลอร์" นับเป็นบุคคลที่คนไทยจำนวนไม่น้อยรู้จักเขาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะคนไทยในหมู่บ้านเล็กๆ ในดินแดนที่ราบสูงของไทย เพราะเขาคือ "ผู้ใหญ่มา" ปราญชาวบ้านสัญชาติอังกฤษที่ตัดสินใจทิ้งความสุขสบายจากบ้านเกิดเมืองผู้ดีมาเรียนรู้ความเป็นไทย สร้างครอบครัวเล็ก ๆ ที่มีความสุข และใช้ชีวิตอย่างพอเพียงกับภรรยา และลูกอีก 3 คน
       
       มาร์ติน วัย 49 ปีผู้นี้ เว้าอีสานถึงชีวิตก่อนหน้านี้ให้ ทีมงาน Life & Family ฟังว่า เขาเกิดที่ประเทศอังกฤษ เติบโตในครอบครัวชนชั้นกลาง ศึกษาเล่าเรียนจนจบปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะอักษรศาสตร์ เอกภาษาละติน จากมหาวิทยาลัยลอนดอน สร้างความภาคภูมิใจให้กับครอบครัวไม่น้อย แต่นั่นอาจจะเป็นความภูมิใจของพ่อแม่ แต่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาอยากเป็น
       
       "ผมชอบการออกเดินทางท่องเที่ยวและทำงานหนัก ๆ มากกว่า เช่น งานก่อสร้าง แบกหินแบกปูน หลังจากเรียนจบแล้ว ก็ทำงานเป็นคนงานก่อสร้างอยู่ประมาณ 10 กว่าปี จากนั้นอายุ 29 ปี ได้ตัดสินใจจะเดินทางไปอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย แต่มีเป้าหมายว่าจะต้องไปเที่ยวทวีปเอเซียให้ทั่วเสียก่อน โดยวางแผนมาเที่ยวประเทศไทยเป็นที่แรก" มาร์ตินเริ่มเว้า
       
       จากนั้นชีวิตก็เริ่มดิ่งลงจนถึงจุดต่ำสุด เมื่อเขาใช้เงินกับการเที่ยวจนหมดตัว และไม่สามารถไปเที่ยวประเทศต่างๆ ที่เขาวางแผนไว้ได้ ทำให้มาร์ตินต้องหารายได้เสริมประทังชีวิตในประเทศไทยด้วยการรับจ้างเป็นครูสอนภาษา แต่อาชีพเสริมนี้ไม่ได้เป็นตัววัดประสิทธิภาพของเขาอย่างแท้จริง และไม่ได้ตรงกับความชอบของเขาเลย กระทั่งได้มาพบกับหญิงสาวชาวขอนแก่น ด้วยความงามในจิตใจทำให้เขาตัดสินใจแต่งงาน และอยู่กินกับเธอในหมู่บ้านคำปลาหลาย ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โดยเขาเชื่อว่า ชีวิตใหม่ของเขาได้เริ่มต้นแล้วที่นี่
       
       "ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มองผู้หญิงที่มีสามีเป็นชาวต่างชาติ เพียงเพราะหวังความร่ำรวยและความสุขสบาย แต่สำหรับภรรยาของผมแล้ว เธอไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะเธอบอกผมเสมอว่า ความร่ำรวยบางครั้งมันก็ไม่ได้ทำให้คนเรามีความสุขและสมหวังไปทุกอย่าง มันอาจจะทำให้เราใช้ชีวิตที่สุขสบายโดยไม่ต้องทำงานลำบากตรากตรำ แต่ไม่มีความรักความจริงใจให้กัน แล้วคนเราจะมีความสุขได้อย่างไร"




ชีวิตวันนี้ที่พอดีบนความพอเพียง

       อีกอย่าง มาร์ตินบอกต่อว่า ภรรยาของเขาเป็นผู้หญิงที่ขยันทำงาน ไม่ว่าจะเหน็ดเหนื่อยมากแค่ไหน เธอก็ยังบอกกับเขาว่า "แม้เราจะไม่มีบ้านหลังใหญ่ ไม่มีรถคันหรู ๆ เหมือนคนอื่น แต่เรามีครอบครัวที่อบอุ่นมันก็เพียงพอแล้ว"
       
       เว้าบทบาทพ่อของ "มาร์ติน"
       
       เมื่อถามถึงบทบาทคุณพ่อ และการเลี้ยงดู มาร์ตินถึงกับหัวเราะร่าก่อนเล่าให้เราฟังว่า การเลี้ยงลูกทั้ง 3 คน ไม่ได้มีความพิเศษอะไร เพราะใช้หลักการอบรมสั่งสอนแบบชาวบ้านทั่วไป สอนให้ลูกเป็นคนดี แต่จะเน้นการให้อิสระและไม่บังคับลูก แต่มีสิ่งหนึ่งที่เขาจะคอยอบรมสั่งสอนลูกอยู่เสมอนั่นก็คือ การรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคอีสานที่งดงาม
       
       "ถึงจะเป็นลูกครึ่งไทย-อังกฤษ ก็ต้องพูดภาษาถิ่นได้ ไม่ควรลืมวัฒนธรรมประเพณีของถิ่นฐานบ้านเกิดตัวเอง ส่วนเรื่องความชอบจะให้สิทธิกับลูกเป็นคนเลือกเอง เพราะคิดว่าการที่ลูกจะเป็นคนดีได้ พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน ซึ่งผมและภรรยาจะทำให้ลูกเห็นตรงนั้น ไม่ว่าจะเรื่องความพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย ถึงตอนนั้นลูกจะเข้าใจว่าสิ่งไหนควรเลือกปฏิบัติหรือสิ่งไหนที่ควรหลีกเลี่ยง"
       
       
ดังนั้น มาร์ตินย้ำว่า ถ้าอยากให้ลูกเป็นคนดี พ่อแม่ต้องย้อนถามตัวเองก่อนว่า คุณทำหน้าที่ของการเป็นพ่อแม่ที่ดีให้กับลูกแล้วหรือยัง เพราะคนเป็นพ่อแม่สามารถเลี้ยงลูกได้แต่ตัว ส่วนการหล่อเลี้ยงจิตใจเป็นสิ่งที่ลูกเรียนรู้ด้วยตัวเองจากสิ่งที่เขาพบเห็น และจดจำ
       
       อย่างไรก็ดี เขาไม่ได้สนใจว่าลูกจะต้องเรียนเก่ง หรือได้คะแนนสูง ๆ แต่สิ่งที่สุดยอดสำหรับเขาก็คือ การที่ลูกเป็นเด็กมีน้ำใจ ช่วยเหลือผู้อื่น ถ้าลูกสามารถรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ติดตัวตลอดชีวิต เขาเชื่อว่า ลูกจะพบกับความสุขในวันนี้ และอนาคตต่อจากนี้ได้ไม่ยาก
       
       ตลอด 12 ปีกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงบนผืนแผ่นดินไทยกับภรรยา และลูกอีก 3 คน ทำให้เขาเรียนรู้ และได้ประสบการณ์ที่สอนอะไรหลาย ๆ อย่าง เหมือนเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ถึงแม้จะเติบโตมาจากระบบทุนนิยม แต่มุมมองความเป็นไทยของ "มาร์ติน วีลเวอร์" นั้นมีอยู่เต็มเปี่ยม โดยเฉพาะการใช้ชีวิตแบบพอเพียงที่เขาประยุกต์ใช้ทั้งการทำงาน และการสอนลูก ๆ ให้อยู่อย่างพอดีบนความไม่เกินตัว


http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000028408