ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 08, 2011, 08:44:58 am »



เพื่อศาสนาพุทธทิเบต

จากแรงศรัทธาที่มีต่อศาสนาพุทธในทิเบต กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ “รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงส์ลดารมภ์” อุทิศตัวในการศึกษาวัฒนธรรม ศาสนาและภาษาทิเบตอย่างลึกซึ้ง

หลังจากมีประสบการณ์ที่ได้เดินทางไปปฏิบัติธรรม และสถานที่ในทิเบตตลอดเวลา 17 ปีที่ผ่านมา ได้สนทนาและปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์หลายท่าน พบปะผู้จาริกแสวงบุญชาวทิเบตมากมาย ทำให้ อ.กฤษดาวรรณเลื่อมใสศาสนาพุทธในทิเบตเป็นอย่างมาก

ศาสนาพุทธในทิเบต เป็นพุทธนิกายมหายาน  เน้นการบ่มเพาะปัญญาและความรักความกรุณา และการดำรงชีวิตอยู่เพื่อประโยชน์ของสัตว์โลก  ซึ่งจุดเด่นของศาสนาพุทธในทิเบต เน้นการประสานการปฏิบัติธรรมกับการดำรงชีวิต มีคำสอนชัดเจนเกี่ยวกับการเตรียมตัวตายและชีวิตหลังตาย และมีการสอนเรื่องการฝึกจิตอย่างเป็นลำดับตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสูง โดยที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะอยู่จำศีลปลีกวิเวกเป็นเวลา  3 ปี 3 เดือน 3 วันหรือมากกว่านั้น

ส่วนศาสนาพุทธในไทย เป็นพุทธนิกายเถรวาทหรือหินยาน เน้นการปฏิบัติธรรม ฝึกฝนตนจนเข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ

“ทั้งสองนิกายนี้มีความเหมือนกันตรงที่มีแนวคิดพื้นฐานเดียวกัน เพียงแต่วิธีการแตกต่างกัน หรือ  เปรียบเหมือนประตูที่เข้าไปสู่ภายในอาคาร อาจมีหลายบาน แต่ทั้งหมดก็นำไปสู่ภายในเหมือนกัน”

อ.กฤษดาวรรณเป็นผู้หญิงไทยคนแรกที่ร่วมสืบสานวัฒนธรรมโบราณของชาวทิเบตด้วยการ กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ คือ การเดิน 3 ก้าว แล้วก้มกราบพื้นดินตลอดระยะทางกว่า 80 กิโลเมตร ทำให้เข้าใจถึงแก่นของความเป็นพุทธทิเบตและเห็นความสำคัญของการนำแก่นของความเป็นพุทธ ที่เน้นการประสานระหว่างปัญญากับกรุณา มาใช้ในโลกสมัยใหม่

การปฏิบัติตนของ อ.กฤษดาวรรณในครั้งนั้น ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อ ทำให้หลายคนต่างประจักษ์ใน    ความเลื่อมใสและศรัทธา ที่มีต่อพุทธศาสนาทิเบตอย่างแท้จริง

อ.กฤษดาวรรณ ยังได้ก่อตั้ง มูลนิธิพันดารา เมื่อปี 2548 เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานศึกษาวิจัยและเผยแพร่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทิเบตหิมาลัย ส่งเสริมศิลปะภูมิปัญญา สถาปัตยกรรม การปฏิบัติธรรม และการดูแลสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลน ดำเนินโครงการการกุศลในประเทศไทยและในเขตวัฒนธรรมทิเบตในประเทศจีน

โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ การส่งเสริมให้เกิดสันติภาพในโลกบนพื้นฐานของความเมตตากรุณา และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่ศักดิ์สิทธิ์ของเอเชีย และทำกิจกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ในปี พ.ศ. 2549 มูลนิธิพันดารา ได้รับมอบที่ดินที่หมู่ 5  ต.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์   เพื่อให้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมของมูลนิธิ หรือ ศูนย์ขทิรวัน ควบคู่ไปกับการฟื้นฟู อนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และการทำงานกับชุมชนท้องถิ่น

เรื่องราวการเดินทางเข้าสู่พระพุทธศาสนาทิเบต และการปฏิบัติธรรมตลอด 17 ปีของ อ.กฤษดาวรรณได้ถูกถ่ายทอดผ่านหนังสือ “ชีวิต และ ศรัทธา” ซึ่งเธอมุ่งหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแรงศรัทธา และแรงบันดาลใจให้ทุกท่านร่วมกันแสดงความรับผิดชอบสังคมด้วยความรักและความกรุณา ช่วยเหลือผู้อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา   

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อรับหนังสือ “ชีวิตและศรัทธา” ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ มูลนิธิพันดารา  โทรศัพท์ 0-2528-5308/0-2511-4545.

นภาพร พานิชชาติ
 



http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=281&contentId=125062