ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 04:33:54 pm »

 

บรรยากาศระหว่างการเล่นดนตรีของคณะผู้สูงอายุเชียงใหม่



บรรยากาศระหว่างการเล่นดนตรีของคณะผู้สูงอายุเชียงใหม่



ยายบัวผา จันทิมา



ตา "มอน อูบคำ"
 
คมชัดลึก :เสียงเพลงพื้นเมืองที่หญิงชราขับขานผสานกับเสียงสะล้อ ซอ ซึง บอกเล่าเรื่องราวศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตของชาวล้านนาผ่านบทเพลง กลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของถนนคนเดินวันเสาร์ บนถนนวัวลาย และถนนคนเดินวันอาทิตย์ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ บนถนนราชดำเนิน กลางเมืองเชียงใหม่ ผู้คนและนักท่องเที่ยวที่เดินผ่านไปมาต่างให้ความสนใจหยุดฟังบทเพลงพื้นเมืองที่อยู่นอกกระแสความสนใจของสังคม
 
ความพยายามของกลุ่มผู้สูงอายุ ในนาม "คณะผู้สูงอายุเชียงใหม่" ซึ่งสมาชิกในวงส่วนใหญ่อยู่ในวัยที่ควรพักผ่อนอยู่กับบ้าน แต่กลับรวมกลุ่มกันออกมาเล่นดนตรีพื้นเมืองด้วยใจรัก และต้องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมทั้งบทเพลงพื้นเมือง และการเล่นสะล้อ ซอ ซึง เครื่องดนตรีของชาวล้านนา รวมทั้งต้องการเผยแพร่ให้คนรุ่นใหม่รู้จักดนตรีและเพลงพื้นเมืองมากขึ้น
 
จากเป้าหมายแรกที่เป็นนักดนตรีสมัครเล่น อาศัยถนนคนเดินเป็นเวทีขับขานบทเพลงขับกล่อมนักท่องเที่ยว นำมาสู่การระดมทุนจากเงินที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวหยิบยื่นให้เป็นสินน้ำใจช่วยเหลือสังคม ด้วยการบริจาคเป็นค่าอาหารกลางวันให้นักเรียน มอบให้บ้านสงเคราะห์คนชรา และทำบุญซื้ออุปกรณ์ถวายวัด สมทบทุนสร้างโบสถ์ วิหารให้แก่วัดใน จ.เชียงใหม่ มาแล้วไม่ต่ำกว่า ๒๐แห่ง
 
ยายบัวผา จันทิมา อายุ ๗๘ ปี ในฐานะนักร้องนำ เล่าว่า หลังหมดภาระหน้าที่ในครอบครัวจึงออกมาร่วมกลุ่มกับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน ที่เจอกันระหว่างเรียนดนตรีพื้นเมือง เมื่อเรียนรู้และฝึกเล่นดนตรีพื้นเมืองจนชำนาญ จึงรวมกลุ่มกันตั้งเป็นวง โดยใช้ชื่อว่า "คณะดนตรีผู้สูงอายุเชียงใหม่" และยึดพื้นที่ถนนคนเดินซึ่งเทศบาลนครเชียงใหม่ อนุเคราะห์ให้กลุ่มของป้าใช้สำหรับแสดงดนตรีพื้นเมือง โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า ต่อมาจึงมีคนมาติดต่อให้ไปแสดงตามงานต่างๆ
 
กระทั่งครั้งหนึ่ง ระหว่างที่เล่นดนตรีกันอยู่ที่ถนนคนเดินวันเสาร์ คุณตาในวงถอดหมวกวางไว้ ปรากฏว่ามีนักท่องเที่ยวนำเงินมาใส่จนได้เงินหลายร้อยบาท ช่วงแรกนำเงินดังกล่าวเก็บไว้เป็นกองกลาง เพื่อใช้จ่ายเป็นค่าเดินทางสำหรับไปแสดงตามงานต่างๆ ที่เจ้าภาพจ้าง หรือเอาไว้ซ่อมเครื่องดนตรีที่ชำรุด ต่อมาหลายคนในวงช่วยคิดว่า ควรนำเงินที่ได้ไปช่วยเหลือสังคม หรือทำบุญ
 
นับตั้งแต่เล่นดนตรีที่ถนนคนเดินเป็นเวลานานถึง ๕ ปี ได้บริจาคเงินให้เป็นทุนอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ ในเขตเทศบาล และทำบุญช่วยสร้างโบสถ์ วิหารให้วัดวาอารามต่างๆ มาแล้วกว่า ๒๐ แห่ง เช่น วัดอารามเทพนิมิตร อ.แม่แตง และวัดศรีปิงเมือง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ล่าสุดได้รวบรวมเงินที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวบริจาคให้ นำไปทำบุญสร้างวิหาร วัดท่านาค ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา
 
"กว่าจะรวบรวมเงินเป็นก้อนได้ประมาณ ๘,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ บาท ต้องใช้เวลานานเกือบปี แต่สมาชิกทุกคนในวงก็ไม่เหน็ดเหนื่อย ยังนัดหมายออกมาเล่นดนตรีเป็นประจำทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ในงานถนนคนเดิน ซึ่งทำมานานกว่า ๕ ปีแล้ว" ยายบัวผา กล่าว
 
ในขณะที่ คุณตา "มอน อูบคำ" วัย ๗๗ ปี หนึ่งในสมาชิกของวง ซึ่งป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน กล่าวว่า เพิ่งมาฝึกเล่นดนตรีพื้นเมืองกับเพื่อนๆ ที่วัดละแวกชุมชนหายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ก่อนตั้งกลุ่มออกมาเล่นดนตรีในงานถนนคนเดินวันเสาร์และวันอาทิตย์ แรกๆ ลูกหลานก็ไม่เห็นด้วย เพราะตนเองป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ลูกๆ จึงห่วงกลัวจะเหนื่อย เพราะร่างกายโดยเฉพาะมือและเท้าจะสั่นตลอดเวลา แต่เพราะชอบฟังดนตรีพื้นเมืองมาตั้งแต่เด็ก และที่สำคัญการเล่นดนตรีช่วยสืบสานศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้คนรุ่นใหม่รับรู้ เมื่อเห็นว่าเราออกมาเล่นดนตรีพื้นเมืองกับกลุ่มเพื่อนในวัยเดียวกันแล้วมีความสุข จึงยอมให้มา
 
นอกจากนี้ ความสุขที่ได้รับจากการเล่นดนตรี เงินที่นักท่องเที่ยวหยิบยื่นเป็นสินน้ำใจตอบแทน ตนและเพื่อนๆ ในคณะยังได้รวบรวมไปบริจาคช่วยเหลือสังคม และสมทบทำบุญสร้างโบสถ์ วิหาร ให้แก่วัดต่างๆ ใน จ.เชียงใหม่ ที่ยังขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นความสุขเล็กๆ ของคนชรา ที่ใช้ดนตรีพื้นเมืองสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ ไม่ให้หลงลืมรากเหง้าของตนเอง และยังได้ช่วยเหลือสังคมอีกทางหนึ่งด้วย
 



พระครูปลัดราชันย์




 
เทศน์แหล่หาเงินสร้างโบสถ์
 
"ปีนี้มีคนนิมนต์อาตมาไปเทศน์แหล่ประมาณ ๒๐๐ งาน โดยอาตมาตั้งใจว่า จะนำปัจจัยที่ได้ทั้งหมดสมทบทุนสร้างโบสถ์วัดกวางทอง ต.บ่อทอง อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก"
 
นี่คือความตั้งใจของ พระครูวาทีพัชรโสภณ หรือ พระครูปลัดราชันย์ อริโย เจ้าอาวาส วัดวังศาล และรักษาการเจ้าอาวาสวัดกวางทอง ที่โด่งดังจากการเทศน์ประกอบการแหล่ มหาเวสสันดรชาดก ที่สอดแทรกมุกตลก มีอารมณ์ขัน สร้างความเฮฮาตลอดการเทศน์ ยิ่งกว่านั้น เป็นการเทศน์ที่มีเนื้อหาทันสมัย คือ นำเรื่องใกล้ตัวมาเทศน์ให้คนฟัง แล้วมองภาพออกเลย ไม่ต้องยกนิทานมาอ้าง เพราะคนสมัยนี้เครียดอยู่แล้ว
 
พระครูปลัดราชันย์ บอกว่า โบสถ์ของวัดกวางทองเริ่มก่อสร้างเมื่อประมาณ ๑๐ ปีที่แล้ว โดยเจ้าอาวาสรูปที่ ๕ ได้วางศิลาฤกษ์ หลังจากนั้นท่านก็มรณภาพ รูปที่ ๖ เริ่มงานก่อสร้าง ได้แค่พื้นโบสถ์ ท่านก็มรณภาพ ต่อมารูปที่ ๗ ขึ้นโครงโบสถ์ ก็ด่วนมรณภาพไปเสียก่อน และเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ไปเป็นรักษาการเจ้าอาวาสก็ตั้งใจจะสร้างให้เสร็จ เพราะเป็นโบสถ์ของวัดบ้านเกิด ที่สำคัญคือ วัดนี้ตากับยายได้ยกที่ดินให้ ๑๒ ไร่ ขณะนี้งานก่อสร้างโบสถ์ได้คืบหน้าไปกว่า ๘๐% เมื่อรวมแล้วจะใช้ปัจจัยประมาณ ๒๒ ล้านบาท
 
อย่างไรก็ตาม ระหว่างวันที่ ๘-๑๐ เมษายน ๒๕๕๔ นี้ ที่วัดจะมีการจัดงานแสดงมุทิตาจิตวันคล้ายวันเกิดอายุ ๕๔ ปี โดยวันที่ ๘ เมษายน บวชนาคหมู่ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยผู้บวชไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ และจะมีการบวชเป็นเวลาอย่างน้อย ๙ วัน วันที่ ๙ เมษายน มีพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ ศาลา และบุญทักษิณาแก่ผู้ล่วงลับ ส่วนวันที่ ๑๐ เมษายน จะมีพิธีเททองหล่อพระประธาน เป็นพระพุทธชินราช เนื้อเงิน หน้าตัก ๕๙ นิ้ว พุทธศาสนิกชนร่วมบุญสร้างโบสถ์กับพระครูปลัดราชันย์ อริโย วัดกวางทอง ต.บ่อทอง อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก โทร.๐๘-๑๓๗๔-๕๘๔๒
 
"๕ ปี ได้บริจาคเงินให้เป็นทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ ในเขตเทศบาล และทำบุญช่วยสร้างโบสถ์ วิหารให้วัดวาอารามต่างๆ มาแล้วกว่า ๒๐ แห่ง"
 
เรื่อง - ภาพ... "จันจิรา จารุศุภวัฒน์ สำนักข่าวเนชั่น"
 
http://www.komchadluek.net/detail/20110310/91055/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88...%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88.html