ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 04:59:13 pm »


พระธาตุหลวงเวียงจันทน์



พระธาตุหลวงเวียงจันทน์



พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช



พระลาว



รูปพระแก้ว



หอพระแก้ว


คมชัดลึก :พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของลาว เป็นพระธาตุที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนหัวเหน่า ๒๗ องค์ ตั้งอยู่กลางกรุงเวียงจันทน์ รูปแบบสถาปัตยกรรมเหมือนกับพระธาตุพนม และสร้างขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

  ตามตำนานอุรังคธาตุเล่าไว้ว่า ได้มาด้วยพระภิกษุ ๕ รูปซึ่งได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมยังเมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย ได้อัญเชิญพระธาตุดังกล่าวมายังพระนครเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๘

 ในครั้งนั้นพระเจ้าจันทน์บุรีประสิทธิ์ศักดิ์ หรือบุรีจันอ้วยล้วย ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกที่ขึ้นครองราชย์ ณ นครเวียงจันทน์เป็นราชธานี ได้โปรดให้สร้างอุโมงค์หินกว้าง ๕ วา แผ่นหินหนา ๒ วา ความสูงของอุโมงค์ ๔ วา ๓ ศอก พร้อมกันนั้นพระองค์ยังได้โปรดให้สร้างวัดให้พระสงฆ์ ๕ รูปจำพรรษา ๕ วัด แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียง ๒ วัด คือ วัดพระธาตุหลวงเหนือและวัดพระธาตุหลวงใต้

 ระหว่าง พ.ศ. ๒๙๔-๓๒๒  หลังการสร้างพระธาตุหลวงเวียงจันทน์อยู่หลายสิบปี ครั้นเวลาลุล่วงมาถึง พ.ศ.๒๑๐๙ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านช้างได้ทรงย้ายราชธานีจากเมืองเชียงทอง หรือหลวงพระบาง มายังนครเวียงจันทน์ พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองของสมเด็จพระราชมารดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช มาประดิษฐานยังนครเวียงจันทน์ด้วย (วัดพระหอแก้ว ซึ่งมีป้ายสื่อความหมายว่า พระแก้วมรกตได้เสด็จยังต่างประเทศ)

 เมื่อพระองค์ย้ายราชธานีมาได้ ๖ ปี ได้เห็นว่าพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ทรุดโทรมมาก จึงโปรดให้สร้างองค์เจดีย์สถาปัตยกรรมล้านช้าง รูปดอกบัวตูม ครอบพระธาตุองค์เดิมสูง ๔๕ เมตร รายรอบด้วยพระธาตุองค์เล็กอีก ๓๐ องค์ แบ่งออกเป็นฐานแรก ระเบียงชั้นสอง และองค์พระธาตุประดิษฐานอยู่ตรงกลาง ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีบันไดพร้อมศาลาครอบ และกลีบดอกบัวล้อมชั้นฐานองค์พระเจดีย์ สวยด้วยสีทองอร่ามทั้งองค์ ด้านหน้าประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช สุดอลังการ พร้อมด้วยประชาชน ๓๕ ครอบครัวและที่ดินทำกินเพื่อให้เป็นข้าวัด คอยบำรุงพระศาสนา

 รอบพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ มีวิหาร ๒ หลัง อยู่ทางทิศเหนือหลังหนึ่งกับอยู่ทางทิศใต้อีกหลังหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ของทุกๆ ปี จะมีงานนมัสการพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ซึ่งกระทำกันทุกปี ยามประชาชนชาวลาวจากทั่วสารทิศจะเดินทางมาเฉลิมฉลองพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ พร้อมกับชมมหรสพมากมายหลายรายการ

หอพระแก้ว
 "หอพระแก้ว" เป็นโบราณสถานคู่ประเทศลาว ซึ่งสถานที่นี้เคยประดิษฐานพระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ปัจจุบันเหลือเพียงพระแท่นที่ประดิษฐาน เพราะพระแก้วมรกตองค์ปัจจุบันได้รับการอัญเชิญลงมาประทับที่กรุงเทพมหานคร ในสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นผู้อัญเชิญ โดยมีแผ่นป้ายไม้หน้าหอพระแก้วจารึกว่า พระแก้วมรกตเสด็จยังต่างประเทศ จึงรู้สึกกินใจกันทั้งชาวไทยและชาวลาว

 การก่อสร้างหอพระแก้ว เริ่มต้นเมื่อพระไชยเชษฐาธิราชที่ ๑ ครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๔  โดยมีกรุงศรีสัตนาคนหุตเป็นราชธานี (ซึ่งก็คือเวียงจันทน์) พ.ศ.๒๑๐๘ พระองค์โปรดให้สร้างวัดหอพระแก้วเพื่อประดิษฐาน “องค์พระแก้วมรกต” ที่พระองค์ได้อ้างสิทธิทางพระราชมารดา (อาณาจักรล้านนา เชียงใหม่) นิมนต์พระแก้วมรกตซึ่งประดิษฐานอยู่ที่อาณาจักรล้านนา เชียงใหม่ มาประดิษฐานยังวัดหอพระแก้ว กรุงศรีสัตนาคนหุต ณ เวียงจันทน์

 ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๒ พระไชยเชษฐาธิราชที่ ๓ (พระเจ้าศิริบุญสาร) ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ระหว่าง พ.ศ.๒๒๙๔-๒๓๒๒ ได้ถูกพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ในภายหลัง) ยกทัพมาปราบปรามจนแตกพ่าย ถือว่าเสียกรุงให้กรุงธนบุรี และในครั้งนั้น พระแก้วมรกต ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดหลวงหอพระแก้ว ได้ถูกนิมนต์ไปประดิษฐานยังกรุงธนบุรีนับแต่นั้นมา

 สำหรับหอพระแก้วที่นักท่องเที่ยวเห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นของที่ถูกบูรณะขึ้นใหม่เกือบทั้งหมด ระหว่าง พ.ศ.๒๔๘๐-๒๔๘๓ ภายใต้การควบคุมดูแลการก่อสร้างของเจ้าสุวรรณภูมา ผู้ที่จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และต่อมายังได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากได้รับเอกราชอีกด้วย แม้หอพระแก้วปัจจุบันจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวยังนครเวียงจันทน์ก็ยังเดินทางมาสักการบูชากันเป็นจำนวนมาก

 ส่วนในของพิพิธภัณฑ์นั้น จัดแสดงพระแท่นบัลลังก์ปิดทองจารึกพระไตรปิฎก ภาษาขอมและกลองสัมฤทธิ์ประจำราชวงศ์ลาว สำหรับประตูใหญ่ทั้งสองเป็นของเก่าที่หลงเหลือมาแต่เดิม บานประตูจำหลักเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บริเวณโดยรอบของหอพระแก้วเงียบสงบ ร่มเย็นมีไหขนาดกลางจากทุ่งไหหิน ในแขวงเชียงขวางวางตั้งอยู่ ๑ ใบ อาณาบริเวณรอบๆ วัดสีสะเกดและหอพระแก้วเคยถูกใช้เป็นศูนย์กลางของหน่วยงานปกครองของฝรั่งเศสสมัยอาณานิคมมาก่อน

เรื่อง - ภาพ... "ธงชัย เปาอินทร์"


http://www.komchadluek.net/detail/20110311/91152/พระธาตุหลวงเวียงจันทน์สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง...ส.ป.ป.ลาว.html