ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 14, 2011, 10:33:07 am »




ชุดความรู้เรื่อง พระกริ่งปวเรศฯ หรือพระกริ่งที่สร้างโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศฯที่ใช้ประกอบในการพิจารณาพระเก๊แท้ ถึงวันนี้ ยังมีน้อยเกินไป

แต่กระนั้น ก็ใช่ว่าจะไม่มีหลักเกณฑ์อะไรไปเสียเลย อย่างน้อยก็ยังมีองค์พระกริ่งปวเรศฯ ของวัดบวรฯ ใช้เป็นหลักเทียบเคียงได้...ในระดับหนึ่ง

ตำนานความเป็นมาของพระกริ่งพระชัยวัฒน์ ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสเทว) วัดสุทัศน์ (ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2517) นายนิรันดร์ แดงวิจิตร หรืออาจารย์หนู เขียนไว้ตอนหนึ่งว่า

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศฯ ทรงสร้างพระกริ่งในเบื้องปัจฉิมสมัย แห่งพระชนมายุ แต่สร้างคราวละเล็กละน้อย เชื่อกันว่า มีสองคราวเท่านั้น

ทรงแจกเฉพาะผู้ใกล้ชิด เจ้านาย ข้าราชการ ประชาชนที่มาสดับพระธรรมเทศนาในวัดบวรฯ ฉะนั้นพระกริ่งปวเรศฯจึงมีน้อย ไม่ แพร่หลาย

ข้อมูลเรื่องพระกริ่งปวเรศฯ ที่ดูจะละเอียดและให้แง่มุมมากกว่าที่เคยค้นคว้ามาเขียนกันมาก่อน อยู่ในนิตยสารสปีริต ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ.2552

เล่าขานกันว่า ทรงรับพระกริ่งโบราณองค์หนึ่ง มาจากเชื้อพระวงศ์เขมร สันนิษฐานว่าเป็นพระกริ่งใหญ่ของจีน แม้ไม่เคยพบหลักฐานบันทึกการสร้างพระกริ่งฯ แต่ก็คาดการณ์จากคำบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่นว่า

สมเด็จฯทรงเริ่มสร้างพระกริ่งฯ หลังจากได้รับพระราชทานพระอิสริยยศ เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2417 วาระหนึ่ง

และเมื่อคราวรับตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 8 เมื่อปี พ.ศ.2434 อีกวาระหนึ่ง

ข้อสันนิษฐานการสร้างพระกริ่งสองวาระนี้ มาจากความแตกต่างของเนื้อโลหะพระกริ่งปวเรศ ออกเป็นสีเหลือง 1 และออกเป็นสีดำ 1

การสร้างพระกริ่งในสองวาระ จึงมีผู้คาดการณ์ ว่า สมเด็จฯทรงสร้างพระกริ่งไว้ไม่เกิน 100 องค์

พระกริ่งปวเรศฯ สร้างด้วยวิธีการหล่อแบบโบราณ มีแม่พิมพ์ดินเผา แบบประกบหน้า-หลัง สำหรับขึ้นหุ่นเทียน แล้วนำไปเทหล่อเป็นโลหะ เมื่อได้องค์พระแล้ว จึงนำมาบรรจุเม็ดกริ่ง ปิดฐานด้วยแผ่น (ทองแดง-ทองเหลือง) ตกแต่งรายละเอียดให้สวยงามด้วยฝีมือช่างหลวง

เม็ดพระศก ตอกด้วยตัวตุ๊ดตู่ มีลักษณะเป็นวงกลม เนื้อในนูนขึ้นเล็กน้อย

ซอกพระเนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ พระหัตถ์ และกลีบบัว มีร่องรอยการแต่งเก่า ซึ่งเป็นการตกแต่งด้วยมือ ลักษณะรายละเอียด แต่ละองค์ที่เชื่อถือกันในวันนี้ จึงมีความแตกต่างกัน แต่เค้าโครงหลักของแม่พิมพ์พระต้องเหมือนกัน

อีกประการหนึ่ง ถึงวันนี้แวดวงนักสะสมฯ ยังถกกันหาข้อยุติไม่ได้ว่า พระเนื้อดำ (นวโลหะ) กับพระเนื้อเหลือง ซึ่งสันนิษฐานว่า มีเนื้อโลหะจากฐานพระพุทธชินสีห์ คราวบูรณะเมื่อปี 2409 เป็นส่วนผสม...เนื้อไหนสร้างก่อนกัน

แต่พระกริ่งปวเรศฯทั้งสองเนื้อ   ผู้เขียน(สปีริต)  เชื่อว่าสร้างโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศฯ  ซึ่งวันนี้มีค่านิยมในหมู่นักสะสมชั้นสูงถึงหลัก 10 ล้าน องค์ที่ตีพิมพ์ในหนังสือสปีริต ฉบับเดือน มี.ค.2553 ใช้คำว่า มูลค่าตามความเชื่อ...สูงถึง 30 ล้าน

ถึงวันนี้ มีพระกริ่งปวเรศฯ ที่เจ้าของล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีบุญบารมี ตีพิมพ์ในหนังสือแล้ว มากกว่า 20 องค์ ในจำนวนนี้ เกือบครึ่งมีเสียงทักว่า ไม่ใช่ อีกกว่าครึ่ง เปลี่ยนมือซื้อขายกันไปแล้ว เสียงยืนยันหนักแน่นว่า...ใช่

พระกริ่งปวเรศฯที่ตีพิมพ์ในสปีริต ฉบับตุลาคม 2552 รวมองค์หลักจากวัดบวรฯมี 12 องค์ ทุกองค์วงการยอมรับ แต่ก็เห็นข้อแตกต่างทั้งจากด้านพิมพ์ เนื้อและสนิม และเม็ดงา ตำหนิลับด้านหลัง

ความต่างของพิมพ์ เพราะช่างแต่งไม่ เหมือนกัน หลักการนี้ยอมรับ ความต่างของเนื้อและสนิม กลับดำ และไม่กลับดำ เหตุผลของการสร้างพระกริ่งสองวาระ ก็น่าจะต้องยอมรับ

แต่ความต่างของเม็ดงา ซึ่งมีทั้งลึกและตื้น องค์ที่ลึกสัมพันธ์กับปลายเม็ดงายาว องค์ที่ตื้นสัมพันธ์กับเม็ดงาสั้น จึงเป็นคำถามว่า หากมีการสร้างพระกริ่งสองครั้ง ตำหนิลับนี้ ใช้อันเดียวกันหรือไม่?

ผู้รู้เรื่องพระกริ่งปวเวศฯ คนหนึ่งใช้มาตร-ฐานจากการได้ดูตำหนิลับจากองค์วัดบวรฯ ฟันธงว่า ตำหนิลับพระกริ่งปวเรศฯแท้ รูปรอยเม็ดงาจะต้องลึกและเทลาดเข้าใน เหมือนเรือบดที่ใช้พายในคลอง

หากใช้หลักนี้ตัดสิน พระกริ่งปวเรศฯองค์หนึ่ง   ซึ่งวงการยอมรับ   และเปลี่ยนมือกันในราคาแพงแสนแพง แต่เม็ดงาตื้นและแอ่นเว้าเข้าใน   (ไม่ลาดเทลึก)...ไม่น่าจะใช่พระกริ่งปวเรศฯแท้   มาตรฐานแต่ ประการใด.
 
บาราย