ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 16, 2011, 08:41:52 am »

นิทานเซน : เคล็ดลับความสำเร็จ
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 มีนาคม 2554 08:15 น.
 
 


เหล่าศิษย์ถามอาจารย์เซนว่า "ท่านอาจารย์ ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ?"

อาจารย์เซนตอบว่า "วันนี้พวกเจ้าจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ธรรมดาที่สุด และง่ายดายที่สุด นั่นคือให้ทุกๆ คน แกว่งมือไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด จากนั้นแกว่งกลับไปด้านหลังให้ไกลที่สุด" กล่าวจบจึงปฏิบัติให้เหล่าศิษย์ดูเป็นตัวอย่าง 1 รอบ จากนั้นกล่าวต่อไปว่า "นับตั้งแต่วันนี้ พวกเจ้าจงทำเช่นนี้ติดต่อกันวันละ 300 ครั้ง ทุกๆ วัน ทุกคนสามารถทำได้หรือไม่?"

บรรดาศิษย์เซน พากันสงสัย เอ่ยถามว่า "พวกเราต้องทำเช่นนี้ไปเพื่ออะไร?"

อาจารย์เซนชี้แจงว่า "หากพวกเจ้าสามารถปฏิบัติได้สำเร็จ อีก 1 ปีให้หลังพวกเจ้าจะทราบถึงหนทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ"

เหล่าศิษย์ล้วนคิดตรงกันว่า "เรื่องง่ายๆ เช่นนี้ ใครๆ ก็ย่อมทำได้" จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติ

เวลาผ่านไป 1 เดือน อาจารย์เซนถามเหล่าศิษย์ว่า "การแกว่งแขนที่ข้าให้พวกเจ้าปฏิบัติ มีใครยังทำต่อเนื่องอยู่บ้าง?" ศิษย์เซนส่วนใหญ่ต่างตอบด้วยความภาคภูมิใจว่า ยังปฏิอยู่ อาจารย์เซนจึงผงกศีรษะด้วยความพอใจ พลางกล่าวว่า "ดีมาก"

เวลาผ่านไปอีกเดือนหนึ่ง อาจารย์เซนเอ่ยถามอีกครั้งว่า "ยังมีกี่คนที่แกว่งแขนอยู่?" ปรากฏว่ามีศิษย์เซนประมาณครึ่งหนึ่งที่ยังคงปฏิบัติอยู่ ส่วนที่เหลือกว่าครึ่ง ล้วนถอดใจล้มเลิกไปแล้ว

เมื่อครบเวลา 1 ปีที่กำหนด อาจารย์เซนจึงได้สอบถามเหล่าศิษย์อีกครั้งว่า "กิจกรรมแกว่งแขนอันแสนง่ายดายนี้ ใครยังคงทำอยู่บ้าง?" ในครั้งนี้ มีศิษย์เพียงผู้เดียวที่ชูมือขึ้นและกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า "อาจารย์ ข้ายังทำอยู่"

อาจารย์เซนจึงกล่าวกับศิษย์ทั้งหมดว่า "ข้าเคยบอกพวกเจ้าว่าเมื่อภารกิจนี้สิ้นสุด พวกเจ้าจะทราบถึงหนทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ ที่ข้าอยากจะบอกพวกเจ้าก็คือ ในโลกนี้สิ่งที่ทำได้ง่ายดายที่สุดก็มักจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเย็นที่สุด และสิ่งที่ยากเย็นที่สุดก็สามารถจะกระทำได้อย่างง่ายดายเช่นกัน ที่บอกว่ามันง่ายดาย เนื่องเพราะขอเพียงยอมลงมือทำ ใครๆ ก็สามารถทำได้ แต่ที่บอกว่ามันยากเย็นก็เพราะผู้ที่สามารถยืนหยัดกระทำอย่างต่อเนื่องยาวนานนั้นกลับมีไม่มาก

ปัญญาเซน : ความสำเร็จที่จริงแท้ มาจากการฝึกฝน ยืนหยัดปฏิบัติ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ



ที่มา : หนังสือ 《菩提树下听禅的故事》, 惟真 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 中国华侨出版社, 2004.08, ISBN 7-80120-851-X


China - Manager Online -

[url]http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000033342


.
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: มีนาคม 02, 2011, 09:17:26 pm »

 :46: ขอบคุณนะค่ะคุณหนุ่ม ได้ข้อคิดดีๆเยอะเลย :43:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 02, 2011, 06:20:03 am »


นิทานเซน : ทองคำอันน่ากลัว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
2 มีนาคม 2554 05:42 น.

《可怕的黄金》

       
       ยังมีนักพรตผู้หนึ่งวิ่งตาลีตาเหลือกออกมาจากป่า พอดีถูกคนสองคนซื่งเป็นสหายสนิทกันอย่างยิ่งพบเห็นเข้า คนทั้งสองจึงเอ่ยถามนักพรตรูปนั้นว่าเกิดอะไรขึ้น และเขาหลบหนีสิ่งใดมา
       
       นักพรตตอบว่า "ข้าพเจ้าบังเอิญขุดเจอทองคำฝังอยู่ที่โคนต้นไม้ในป่า เป็นที่น่าหวาดกลัวยิ่งนัก!"
       
       เมื่อคนทั้งสองได้ยินก็ตื่นเต้นสุดระงับ แอบกระซิบกระซาบต่อกันว่า "คนผู้นี้ช่างโง่เขลาปัญญาอ่อนเสียจริง ขุดเจอทองนับเป็นโชคแท้ๆ แต่กลับกลัวจนตัวสั่น" จากนั้นจึงตะล่อมถามนักพรตต่อไปว่า "ท่านขุดเจอทอง ณ ที่ใด สามารถบอกพวกเราได้หรือไม่?"
       
       นักพรตจึงตอบว่า "ของที่อันตรายเช่นนี้พวกท่านไม่กลัวหรืออย่างไร ไม่ทราบหรือว่าทองคำพวกนั้นมันสามารถกินคนได้!"
       
       คนทั้งสองจึงรีบเอ่ยว่า "พวกเราไม่กลัวหรอก ท่านรีบบอกมาเถิดว่าทองคำอยู่ที่ใด?" สุดท้ายนักพรตจึงบอกว่า "ทองคำอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นริมสุดทางทิศตะวันตกของป่า" เมื่อได้ยินดังนั้นคนทั้งสองก็รีบผละจากนักพรตมุ่งหน้าไปยังจุดที่พบทองคำ ทันที
       
       ระหว่างนั้น สหายผู้หนึ่งเอ่ยขึ้นว่า "นักพรตรูปนั้นทึ่มจริงๆ ทองคำที่ทุกผู้ทุกคนต่างเฝ้าใฝ่ฝันถึงมากองอยู่ตรงหน้า กลับวิ่งหนีไปเสียได้" ซึ่งสหายอีกผู้หนึ่งก็พยักเพยิดเห็นด้วย
       
       จากนั้นทั้งสองจึงปรึกษากันว่าจะนำทองคำกลับไปได้อย่างไร สหายผู้หนึ่งจึงเสนอว่า "หากขนทองคำกลับไปในตอนฟ้าสว่างเห็นจะไม่ค่อยปลอดภัยเท่าไหร่ เราควรขนไปตอนฟ้ามืดจะดีกว่า เดี๋ยวข้าจะเฝ้าทองคำอยู่ที่นี้ ส่วนท่านเดินทางเข้าเมืองไปเสาะหาอาหารและน้ำดื่มมารับประทานร่วมกัน เมื่อรับประทานเรียบร้อยรอให้ค่ำมืด ค่อยลงมือขนทองคำ"
       
       ดังนั้นสหายผู้หนึ่งจึงเดินทางกลับเข้าเมืองเพื่อไปหาข้าวปลาอาหาร ส่วนสหายอีกผู้หนึ่งที่อยู่เฝ้าทองคำก็ขบคิดวางแผนว่า "หากทองคำทั้งหมดตกเป็นของข้าเพียงผู้เดียวก็คงจะดีไม่น้อย เช่นนี้ดีกว่า หากเพื่อนของข้ากลับมาก็ใช้ท่อนไม้ทุบตีมันให้ตาย เท่านี้ก็ไม่ต้องแบ่งส่วนแบ่งทองคำให้กับผู้ใด"
       
       ส่วนสหายที่เดินทางเข้าเมืองก็ครุ่นคิดว่า "ข้าจะเข้าเมืองไปรับประทานอาหารให้อิ่มเสียก่อน จากนั้นนำยาพิษใส่ในอาหารกลับไปให้สหายข้า เท่านี้ทองคำก็จะเป็นของข้าแต่เพียงผู้เดียว"
       
       ชายที่เดินทางเข้าเมืองดำเนินการตามแผนเรียบร้อย จากนั้นนำอาหารกลับมายังชายป่าที่ซ่อนทองคำ แต่ยังไม่ทันระวังตัว เขากลับถูกสหายรักใช้ท่อนไม้ฟาดจากทางด้านหลัง จนเสียชีวิตทันที จากนั้นมือสังหารจึงแก้ห่อข้าวที่เพื่อนผู้ล่วงลับนำมาให้ รับประทานด้วยความหิวโหย แต่ไม่ทันไรก็ต้องล้มลงดิ้นทุรนทุรายเนื่องเพราะได้รับพิษที่อยู่ในอาหาร
       
       ในชั่ววินาทีก่อนที่ชายผู้ถูกพิษจะสิ้นใจ เขาพลันนึกถึงคำที่นักพรตได้เตือนเอาไว้ จึงได้แต่รำพึงว่า"จริงดั่งคำที่นักพรตว่าไว้ ทองคำนั้นน่ากลัวยิ่ง เพราะมันสามารถกลืนกินมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความโลภอย่างเรา" จากนั้นจึงลาโลกไปในลักษณะนั้น
       
       ปัญญาเซน : ความโลภเป็นบ่อเกิดแห่งหายนะ
       
       
       ที่มา : หนังสือ 《菩提树下听禅的故事》, 惟真 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 中国华侨出版社, 2004.08, ISBN 7-80120-851-X

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000026149

.



.
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2011, 03:55:36 am »

 :07:เอี๋ยนหุย ใฝ่ศึกษา มีคุณธรรมงดงาม เป็นศิษย์รักของขงจื้อ
มีอยู่วันหนึ่ง เอี๋ยนหุยออกไปทำธุระที่ตลาด เห็นผู้คนจำนวนมากห้อมล้อมอยู่ที่หน้าร้านขายผ้า
จึงเข้าไปสอบถามดู จึงรู้ว่าเกิดการพิพาทระหว่างคนขายผ้ากับลูกค้า
ได้ยินลุกค้าตะโกนเสียงดังโหวกเหวกว่า “3x8ได้ 23 ทำไมท่านถึงให้ข้าจ่าย24เหรียญล่ะ!”
เอี๋ยนหุยจึงเดินเข้าไปที่ร้าน หลังจากทำความเคารพแล้ว ก็กล่าวว่า
“พี่ชาย 3x8 ได้ 24 จะเป็น 23 ได้ยังไง? พี่ชายคิดผิดแล้ว ไม่ต้องทะเลาะกันหรอก”
คนซื้อผ้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ชี้หน้าเอี๋ยนหุยและกล่าวว่า
“ใครให้เจ้าเข้ามายุ่ง! เจ้าอายุเท่าไหร่กัน! จะตัดสินก็มีเพียงท่านขงจื้อเท่านั้น
ผิดหรือถูกมีท่านผู้เดียวที่ข้าจะยอมรับ  ไป ไปหาท่านขงจื้อกัน ”
เอี่ยนหุยกล่าวว่า “ก็ดี หากท่านขงจื้อบอกว่าท่านผิด ท่านจะทำอย่างไร?”
คนซื้อผ้ากล่าวว่า“หากท่านวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมให้หัวหลุดจากบ่า! แล้วหากเจ้าผิดล่ะ?”
เอี๋ยนหุยกล่าวว่า “หากท่านวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมถูกปลดหมวก(ตำแหน่ง)”
ทั้งสองจึงเกิดการเดิมพันขึ้น
เมื่อขงจื้อสอบถามจนเกิดความกระจ่าง ก็ยิ้มให้กับเอี๋ยนหุย
และกล่าวว่า “3x8ได้ 23 ถูกต้องแล้วเอี๋ยนหุย เธอแพ้แล้ว ถอดหมวกของเธอให้พี่ชายท่านนี้เสีย”
เอี๋ยนหุย ไม่โต้แย้ง ยอมรับในการวินิจฉัยของท่านอาจารย์ จึงถอดหมวกที่สวมให้แก่ชายคนนั้น
ชายผู้นั้นเมื่อได้รับหมวกก็ยิ้มสมหวังกลับไป
ต่อคำวินิจฉัยของขงจื้อ ต่อหน้าแม้เอี๋ยนหุยจะยอมรับ แต่ในใจกลับไม่ได้คิดเช่นนั้น
เอี๋ยนหุยคิดว่าท่านอาจารย์ชรามากแล้ว ความคิดคงเลอะเลือน จึงไม่อยากอยู่ศึกษากับขงจื้ออีกต่อไป
พอรุ่งขึ้น เอี๋ยนหุยจึงเข้าไปขอลาอาจารย์กลับบ้าน ด้วยเหตุผลที่ว่าที่บ้านเกิดเรื่องราว ต้องรีบกลับไปจัดการ
ขงจื้อรู้ว่าเอี๋ยนหุยคิดอะไรอยู่ ก็ไม่ได้สอบถามมากความ อนุญาตให้เอี๋ยนหุยกลับบ้านได้
ก่อนที่เอี๋ยนหุยจะออกเดินทาง ได้เข้าไปกราบลาขงจื้อ ขงจื้อกล่าวอวยพรและให้รีบกลับมาหากเสร็จกิจธุระแล้ว
พร้อมกันนั้นก็ได้กำชับว่า “อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง”
เอี๋ยนหุยคำนับพร้อมกล่าวว่า “ศิษย์จะจำใส่ใจ” แล้วลาอาจารย์ออกเดินทาง
เมื่อออกเดินทางไปได้ระยะหนึ่ง เกิดพายุลมแรงสายฟ้าแลบแปลบ เอี๋ยนหุยคิดว่าต้องเกิดพายุลมฝนเป็นแน่
จึงเร่งฝีเท้าเพื่อจะเข้าไปอาศัยอยู่ไต้ต้นไม้ใหญ่ แต่ก็ฉุกคิดถึงคำกำชับของท่านอาจารย์ที่ว่า
“อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง”
เราเองก็ติดตามท่านอาจารย์มาเป็นเวลานาน ลองเชื่ออาจารย์ดูอีกสักครั้ง
คิดได้ดังนั้น จึงเดินออกจากต้นไม้ใหญ่  ในขณะที่เอี๋ยนหุยเดินไปได้ไม่ไกลนัก
บัดดล สายฟ้าก็ผ่าต้นไม้ใหญ่นั้นล้มลงมาให้เห็นต่อหน้าต่อตา เอี๋ยนหุยตะลึงพรึงเพริด
คำกล่าวของพระอาจารย์ประโยคแรกเป็นจริงแล้ว หรือตัวเราจะฆ่าใครโดยไม่รู้สาเหตุ?

เอี๋ยนหุยจึงรีบเดินทางกลับ กว่าจะถึงบ้านก็ดึกแล้ว แต่ไม่กล้าปลุกคนในบ้าน
เลยใช้ดาบที่นำติดตัวมาค่อยๆเดาะดาลประตูห้องของภรรยา
เมื่อเอี๋ยนหุยคลำไปที่เตียงนอน ก็ต้องตกใจ ทำไมมีคนนอนอยู่บนเตียงสองคน!
เอี๋ยนหุยโมโหเป็นอย่างยิ่ง จึงหยิบดาบขึ้นมาหมายปลิดชีพผู้ที่นอนอยู่บนเตียง
เสียงกำชับของอาจารย์ก็ดังขึ้นมา “อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง”

เมื่อเขาจุดตะเกียง จึงได้เห็นว่า คนหนึ่งคือภรรยา อีกคนหนึ่งคือน้องสาวของเขาเอง
พอฟ้าส่าง เอี๋ยนหุยก็รีบกลับสำนัก
เมื่อพบหน้าขงจื้อจึงรีบคุกเข่ากราบอาจารย์และกล่าวว่า “ท่านอาจารย์
คำกำชับของท่านได้ช่วยชีวิตของศิษย์ ภรรยาและน้องสาวไว้
ทำไมท่านจึงรู้เหมือนตาเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับศิษย์บ้าง?”
ขงจื้อพยุงเอี๋ยนหุยให้ลุกขึ้น และกล่าวว่า “เมื่อวานอากาศไม่ค่อยสู้ดีนัก น่าจะมีฟ้าร้องฟ้าแลบเป็นแน่
จึงเตือนเธอว่า อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่
และเมื่อวาน เธอจากไปด้วยโทสะ แถมยังพกดาบติดตัวไปด้วย
อาจารย์จึ้งเตือนเธอว่า อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง ”
เอี๋ยนหุยโค้งคำนับ “ท่านอาจารย์คาดการดังเทวดา ศิษย์รู้สึกเคารพเลื่อมใสท่านเหลือเกิน”
ขงจื้อจึงตักเดือนเอี๋ยนหุยว่า “อาจารย์ว่าที่เธอขอลากลับบ้านนั้นเป็นการโกหก
ที่จริงแล้วเธอคิดว่าอาจารย์แก่แล้ว ความคิดเลอะเลือน
ไม่อยากศึกษากับอาจารย์อีกแล้ว เธอลองคิดดูสิ อาจารย์บอกว่า 3x8ได้ 23 เธอแพ้ ก็เพียงแค่ถอดหมวก
หากอาจารย์บอกว่า 3x8ได้ 24 เขาแพ้ นั่นหมายถึงชีวิตของคนๆหนึ่ง เธอคิดว่าหมวกหรือชีวิตสำคัญล่ะ? ”

เอี๋ยนหุยกระจ่างในฉับพลัน คุกเข่าต่อหน้าขงจื้อ แล้วกล่าวว่า
“ท่านอาจารย์เห็นคุณธรรมเป็นสำคัญ โดยไม่เห็นแก่เรื่องถูกผิดเล็กๆน้อยๆ
ศิษย์คิดว่าอาจารย์แก่ชราจึงเลอะเลือน ศิษย์เสียใจเป็นที่สุด”

จากนั้นเป็นต้นไป ไม่ว่าขงจื้อจะเดินทางไปยังแห่งหนตำบลใด เอี๋ยนหุยติดตามไม่เคยห่างกาย
จากตำนานเรื่องเล่านี้ ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงเพลงๆหนึ่งของอิวเค่อหลี่หลิน(นักร้องดูโอของไต้หวัน)
ที่ร้องว่า “หากสูญเสียเธอไป ต่อให้เอาชนะทั้งโลกได้แล้วจะยังไง? เช่นกัน
บางครั้งคุณอาจเอาชนะคนอื่นด้วยเหตุผลของคุณ แต่อาจจะสูญเสียสิ่งที่สำคัญที่สุดไป ”
เรื่องราวต่างๆ แบ่งเป็นหนักเบารีบช้า อย่าเป็นเพราะต้องการเอาชนะให้ได้ แล้วทำให้เสียใจไปตลอดชีวิต
เรื่องราวมากมายที่ไม่ควรทะเลาะกัน ถอยหนึ่งก้าวทะเลกว้างฟ้างาม
ทะเลาะกับลูกค้า ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่ คุณก็จะรู้สึก)
ทะเลาะกับเถ้าแก่ ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ตรวจผลงานปลายปีมาถึง คุณก็จะรู้สึก)
ทะเลาะกับภรรยา ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เธอไม่สนใจคุณ คุณก็หากับข้าวกินเองละกัน)
ทะเลาะกับเพื่อน ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เคลียร์ไม่ได้ คุณอาจจะเสียเพื่อนไปเลย)
ใบชา เกิดสีสวยและกลิ่นหอมน่าลิ้มลองได้ ก็เพราะโดนน้ำร้อนลวก
ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกัน เพราะเผชิญกับอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า
จึงเหลือไว้ซึ่งเรื่องราวเป็นตำนานให้ได้เล่าขานน่าตามติด
ผู้ที่รู้สำนึกคุณอยู่เสมอ จึงเป็นผู้มีวาสนามากที่สุด

ขอบพระคุณท่านกัลยาณมิตรที่แบ่งปันเรื่องราวดีๆให้มา
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2011, 08:50:49 pm »


นิทานเซน : พระเซนกับขอทาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
23 กุมภาพันธ์ 2554 08:32 น.

《方丈与乞丐》
       
       มีขอทานพิการเหลือแขนเพียงข้างเดียวผู้หนึ่ง เดินทางเข้าไปยังวัดเซนที่พระเซนนามฟังจั้งพำนักอยู่ เพื่อขอรับทาน ทว่าเมื่อเอ่ยปาก พระฟังจั้งกลับชี้มือไปยังกองอิฐและบอกกับขอทานแขนเดียวว่า "ท่านช่วยย้ายอิฐกองนั้นไปยังหลังวัดก่อนเถอะ"
       
       ขอทานแขนเดียวได้ยินครั้งแรกก็ไม่พอใจ กล่าวว่า "ข้าเหลือแขนเพียงข้างเดียวจะย้ายอิฐได้อย่างไร ข้ามาขอทาน หากท่านไม่อยากให้ทานก็ไม่เป็นไร ไฉนต้องล้อเลียนผู้อื่นถึงเพียงนี้"
       
       พระเซนไม่เอ่ยโต้ตอบ เพียงแต่เดินไปยกก้อนอิฐโดยใช้แขนเพียงข้างเดียว จากนั้นค่อยกล่าวเรียบๆ ว่า"งานประเภทนี้ แม้มีแขนข้างเดียวก็สามารถทำได้"
       
       เมื่อเห็นดังนั้น ขอทานจึงได้แต่ทำตาม โดยค่อยๆ ย้ายก้อนอิฐไปยังหลังวัด ทีละก้อน ทีละก้อน ใช้เวลาพักใหญ่จึงย้ายก้อนหินได้หมดกอง จากนั้นพระเซนจึงมอบเงินค่าตอบแทนให้กับขอทานจำนวนหนึ่ง ขอทานเห็นดังนั้นก็ดีใจมากพลางกล่าวคำ "ขอบคุณท่าน ขอบคุณท่าน" ไม่หยุด
       
       พระฟังจั้งจึงตอบว่า "ไม่ต้องขอบคุณเรา เพราะเงินนี้มาจากน้ำพักน้ำแรงของท่านเอง"
       
       ขอทานจึงเอ่ยด้วยความสำนึกว่า "ข้าจะจดจำวันนี้เอาไว้" จากนั้นจึงก้มตัวค้อมคำนับด้วยความตื้นตันก่อนเดินทางจากไป
       
       ผ่านไปหลายวัน มีขอทานอีกผู้หนึ่งเดินทางมาขอทานที่วัดนี้ พระฟังจั้งพาขอทานผู้นี้เดินมาที่หลังวัดจากนั้นชี้ไปยังกองอิฐและกล่าวว่า "ท่านช่วยย้ายอิฐกองนั้นไปยังหน้าวัดก่อนเถอะ" ทว่าขอทานผู้มีแขนขาครบผู้นี้กลับไม่สนใจคำกล่าวของพระเซน ได้แต่หันกายจากไปโดยพลัน
       
       บรรดาสานุศิษย์ในวัดเห็นดังนั้นจึงเอ่ยถามพระฟังจั้งว่า "คราวก่อนท่านอาจารย์ให้ขอทานย้ายอิฐมายังหลังวัด ไฉนวันนี้กลับประสงค์ให้ขอทานอีกผู้หนึ่งย้ายอิฐกลับไปหน้าวัด ที่แท้แล้วท่านอาจารย์อยากให้นำก้อนอิฐไปไว้ที่ใดกันแน่?"
       
       พระเซนฟังจั้งตอบศิษย์เพียงสั้นๆ ว่า "อิฐวางไว้หน้าวัดหรือหลังวัดล้วนไม่ต่างกัน ทว่าจะย้ายหรือไม่ย้ายต่างหากที่สำคัญสำหรับขอทานเหล่านั้น"
       
       วันเวลาผ่านไปหลายปี วันหนึ่งปรากฏคนผู้หนึ่งท่าทางภูมิฐานเดินทางมาที่วัด คนผู้นี้มีแขนเพียงข้างเดียว ที่แท้แล้วคือขอทานแขนเดียวเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งนับตั้งแต่วันที่เขาพบพระฟังจั้งในครั้งนั้น เขาจึงค่อยได้รู้ถึงคุณค่าในตัวเอง จากนั้นจึงหาทางประกอบสัมมาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย จนในที่สุดได้พบกับความสุข สำเร็จในชีวิต...ส่วนขอทานอีกผู้หนึ่งนั้น ยังคงเป็นขอทานอยู่เรื่อยมา
       
       ปัญญาเซน : เชื่อมั่นในตนเอง รู้คุณค่าในตนเอง และพึ่งพาตนเอง คือคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการเป็นมนุษย์
       
       ที่มา : หนังสือ 《菩提树下听禅的故事》, 惟真 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 中国华侨出版社, 2004.08, ISBN 7-80120-851-X


.

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000022849

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2011, 10:20:32 pm »

นิทานเซน : มากมารยาท
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   9 กุมภาพันธ์ 2554 14:57 น.

《惭愧的高僧》

ยังมีอุบาสกวัยฉกรรจ์ผู้หนึ่ง ไปกราบนมัสการพระผู้มีสมณศักดิ์สูงยังวัดแห่งหนึ่ง ทั้งสองสนทนาธรรมกันอย่างออกรส ตั้งแต่เช้าจนกระทั่งถึงเวลาอาหารกลางวัน เณรจึงได้จัดอาหารมาให้ทั้งสอง เป็นบะหมี่ชามใหญ่ 1 ชามและชามเล็ก 1 ชาม

เมื่อพระผู้มีสมณศักดิ์สูงเห็นสำรับกับข้าวที่เณรยกมา จึงได้ยกบะหมี่ชามใหญ่ยื่นให้อุบาสกผู้นั้น ทั้งยังกล่าวว่า "ท่านรับประทานชามใหญ่เถอะ"

หากยึดตามธรรมเนียมปฏิบัติ อุบาสกผู้นั้นควรที่จะปฏิเสธและผลักไสบะหมี่ชามใหญ่กลับคืนไปยังพระสงฆ์ เพื่อแสดงความเคารพเกรงใจ ทว่าอุบาสกผู้นี้กลับรับชามบะหมี่มาโดยไม่อิดเอื้อน จากนั้นลงมือรับประทานทันที เมื่อพระผู้มีสมณศักดิ์สูงเห็นดังนั้นก็รู้สึกไม่พอใจจนหน้านิ่วคิ้วขมวด พลางคิดว่า "แรกทีเดียวคิดว่าคนผู้นี้มีสติปัญญาไม่น้อย ไฉนกลับกลายเป็นโง่เขลาไร้มารยาทเช่นนี้"

เมื่ออุบาสกรับประทานบะหมี่หมดชาม เงยหน้าขึ้นมาพบว่าพระรูปนั้นยังไม่ได้แตะต้องบะหมี่ชามเล็กแม้แต่น้อย ทั้งยังมีสีหน้าเย็นชา จึงยิ้มพลางเอ่ยถามว่า "พระคุณเจ้าไฉนไม่รับประทานบะหมี่?"

พระผู้มีสมณศักดิ์สูงเงียบงันไม่ตอบ อุบาสกจึงยิ้มและกล่าวต่อไปว่า "กระผมรู้สึกหิวยิ่งนัก จึงสนใจแต่ปากท้องของตนเองโดยลืมเลือนพระคุณเจ้าไป แต่หากจะให้กระผมผลักไสบะหมี่ชามใหญ่ที่พระคุณเจ้าหยิบยื่นมาให้กระผมกลับ คืนไปยังพระคุณเจ้าอีก นั่นไม่ใช่ความตั้งใจของกระผม และในเมื่อไม่ได้ตั้งใจ จะต้องเสแสร้งแกล้งทำไปเพื่ออันใดเล่า ขอถามพระคุณเจ้าว่าการเกี่ยงกันด้วยความเกรงใจไปมานั้นที่แท้แล้วจุดมุ่ง หมายคืออะไร?"

พระผู้มีสมณศักดิ์สูงตอบว่า "เพื่อรับประทาน"

อุบาสกจึงกล่าวอย่างจริงจังว่า "ในเมื่อจุดประสงค์คือเพื่อรับประทาน ท่านรับประทานหรือกระผมรับประทานก็ล้วนไม่ต่างกัน หรือว่าที่พระคุณเจ้าชิงมอบบะหมี่ชามใหญ่ให้กระผมนั้นเป็นเพียงการเสแสร้ง มิใช่น้ำใสใจจริง?"

เมื่ออุบาสกกล่าวจบ พระผู้มีสมณศักดิ์สูงจึงได้รู้แจ้งกระจ่างใจ กระทั่งหลั่งน้ำตาออกมา

ปัญญาเซน : การแสดงความเกรงใจที่มากเกินไปกลับกลายเป็นความเสแสร้ง การเคร่งครัดมารยาท มากพิธีจนเกินงามกลับกลายเป็นสิ่งไร้สาระ ทั้งนี้เพราะความซื่อสัตย์เปิดเผยจริงใจต่างหากจึงเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของ การเป็นมนุษย์

ที่มา : หนังสือ 《菩提树下听禅的故事》, 惟真 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 中国华侨出版社, 2004.08, ISBN 7-80120-851-X





.

http://www.manager.co.th/China/ViewN...=9540000017021

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 04:51:18 pm »

3 x 8 = ?????

เอี๋ยนหุยใฝ่ศึกษา มีคุณธรรมงดงาม เป็นศิษย์รักของขงจื้อ
มีอยู่วันหนึ่ง เอี๋ยนหุยออกไปทำธุระที่ตลาด เห็นผู้คนจำนวนมากห้อมล้อมอยู่ที่หน้าร้านขายผ้า จึงเข้าไปสอบถามดู จึงรู้ว่าเกิดการพิพาทระหว่างคนขายผ้ากับลูกค้า ได้ยินลุกค้าตะโกนเสียงดังโหวกเหวกว่า “3x8ได้ 23 ทำไมท่านถึงให้ข้าจ่าย24 เหรียญล่ะ!”

เอี๋ยนหุยจึงเดินเข้าไปที่ร้าน หลังจากทำความเคารพแล้ว ก็กล่าวว่า “พี่ชาย 3x8 ได้ 24 จะเป็น 23 ได้ยังไง? พี่ชายคิดผิดแล้ว ไม่ต้องทะเลาะกันหรอก”
คนซื้อผ้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง ชี้หน้าเอี๋ยนหุยและกล่าวว่า“ใครให้เจ้าเข้ามายุ่ง! เจ้าอายุเท่าไหร่กัน! จะตัดสินก็มีเพียงท่านขงจื้อเท่านั้น ผิดหรือถูกมีท่านผู้เดียวที่ข้าจะยอมรับไป ไปหาท่านขงจื้อกัน ”
เอี่ยนหุยกล่าวว่า “ก็ดี หากท่านขงจื้อบอกว่าท่านผิด ท่านจะทำอย่างไร?”
คนซื้อผ้ากล่าวว่า“หากท่านวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมให้หัวหลุดจากบ่า!
แล้วหากเจ้าผิดล่ะ?”
เอี๋ยนหุยกล่าวว่า “หากท่านวินิจฉัยว่าข้าผิด ข้ายอมถูกปลดหมวก(ตำแหน่ง)”
ทั้งสองจึงเกิดการเดิมพันขึ้น

เมื่อขงจื้อสอบถามจนเกิดความกระจ่าง ก็ยิ้มให้กับเอี๋ยนหุยและกล่าวว่า
“3x8ได้ 23 ถูกต้องแล้วเอี๋ยนหุย เธอแพ้แล้ว
ถอดหมวกของเธอให้พี่ชายท่านนี้เสีย”
เอี๋ยนหุย ไม่โต้แย้ง ยอมรับในการวินิจฉัยของท่านอาจารย์ จึงถอดหมวกที่สวมให้แก่ชายคนนั้น
ชายผู้นั้นเมื่อได้รับหมวกก็ยิ้มสมหวังกลับไปต่อคำวินิจฉัยของขงจื้อ ต่อหน้าแม้เอี๋ยนหุยจะยอมรับแต่ในใจกลับไม่ได้คิดเช่นนั้น
เอี๋ยนหุยคิดว่าท่านอาจารย์ชรามากแล้ว ความคิดคงเลอะเลือน จึงไม่อยากอยู่ศึกษากับขงจื้ออีกต่อไป

พอรุ่งขึ้น เอี๋ยนหุยจึงเข้าไปขอลาอาจารย์กลับบ้าน ด้วยเหตุผลที่ว่าที่บ้านเกิดเรื่องราว ต้องรีบกลับไปจัดการ
ขงจื้อรู้ว่าเอี๋ยนหุยคิดอะไรอยู่ ก็ไม่ได้สอบถามมากความ อนุญาตให้เอี๋ยนหุยกลับบ้านได้
ก่อนที่เอี๋ยนหุยจะออกเดินทาง ได้เข้าไปกราบลาขงจื้อ
ขงจื้อกล่าวอวยพรและให้รีบกลับมาหากเสร็จกิจธุระแล้ว
พร้อมกันนั้นก็ได้กำชับว่า “อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง”
เอี๋ยนหุยคำนับพร้อมกล่าวว่า “ศิษย์จะจำใส่ใจ” แล้วลาอาจารย์ออกเดินทาง

เมื่อออกเดินทางไปได้ระยะหนึ่ง เกิดพายุลมแรงสายฟ้าแลบแปลบ
เอี๋ยนหุยคิดว่าต้องเกิดพายุลมฝนเป็นแน่ จึงเร่งฝีเท้าเพื่อจะเข้าไปอาศัยอยู่ไต้ต้นไม้ใหญ่ แต่ก็ฉุกคิดถึงคำกำชับของท่านอาจารย์ที่ว่า “อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่ อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง” เราเองก็ติดตามท่านอาจารย์มาเป็นเวลานาน ลองเชื่ออาจารย์ดูอีกสักครั้ง คิดได้ดังนั้น จึงเดินออกจากต้นไม้ใหญ่

ในขณะที่เอี๋ยนหุยเดินไปได้ไม่ไกลนัก บัดดล สายฟ้าก็ผ่าต้นไม้ใหญ่นั้นล้มลงมาให้เห็นต่อหน้าต่อตา เอี๋ยนหุยตะลึงพรึงเพริด คำกล่าวของพระอาจารย์ประโยคแรกเป็นจริงแล้ว หรือตัวเราจะฆ่าใครโดยไม่รู้สาเหตุ?

เอี๋ยนหุยจึงรีบเดินทางกลับ กว่าจะถึงบ้านก็ดึกแล้ว แต่ไม่กล้าปลุกคนในบ้าน
เลยใช้ดาบที่นำติดตัวมาค่อยๆเดาะดาลประตูห้องของภรรยา เมื่อเอี๋ยนหุยคลำไปที่เตียงนอน ก็ต้องตกใจ ทำไมมีคนนอนอยู่บนเตียงสองคน!
เอี๋ยนหุยโมโหเป็นอย่างยิ่ง จึงหยิบดาบขึ้นมาหมายปลิดชีพผู้ที่นอนอยู่บนเตียง
เสียงกำชับของอาจารย์ก็ดังขึ้นมา “อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง” เมื่อเขาจุดตะเกียง จึงได้เห็นว่า คนหนึ่งคือภรรยา อีกคนหนึ่งคือน้องสาวของเขาเอง

พอฟ้าส่าง เอี๋ยนหุยก็รีบกลับสำนัก
เมื่อพบหน้าขงจื้อจึงรีบคุกเข่ากราบอาจารย์และกล่าวว่า
“ท่านอาจารย์ คำกำชับของท่านได้ช่วยชีวิตของศิษย์ ภรรยาและน้องสาวไว้
ทำไมท่านจึงรู้เหมือนตาเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับศิษย์บ้าง?”
ขงจื้อพยุงเอี๋ยนหุยให้ลุกขึ้น และกล่าวว่า “เมื่อวานอากาศไม่ค่อยสู้ดีนัก
น่าจะมีฟ้าร้องฟ้าแลบเป็นแน่ จึงเตือนเธอว่า อย่าแฝงเร้นกายใต้ต้นไม้ใหญ่
และเมื่อวาน เธอจากไปด้วยโทสะ แถมยังพกดาบติดตัวไปด้วย อาจารย์จึ้งเตือนเธอว่า อย่าฆ่าผู้ใดหากไม่ชัดแจ้ง ”

เอี๋ยนหุยโค้งคำนับ “ท่านอาจารย์คาดการดังเทวดา
ศิษย์รู้สึกเคารพเลื่อมใสท่านเหลือเกิน”
ขงจื้อจึงตักเดือนเอี๋ยนหุยว่า “อาจารย์ว่าที่เธอขอลากลับบ้านนั้นเป็นการโกหก
ที่จริงแล้วเธอคิดว่าอาจารย์แก่แล้ว ความคิดเลอะเลือน ไม่อยากศึกษากับอาจารย์อีกแล้ว เธอลองคิดดูสิ อาจารย์บอกว่า 3x8ได้ 23 เธอแพ้
ก็เพียงแค่ถอดหมวก
หากอาจารย์บอกว่า 3x8ได้ 24 เขาแพ้ นั่นหมายถึงชีวิตของคนๆหนึ่ง
เธอคิดว่าหมวกหรือชีวิตสำคัญล่ะ? ”

เอี๋ยนหุยกระจ่างในฉับพลัน คุกเข่าต่อหน้าขงจื้อ แล้วกล่าวว่า
“ท่านอาจารย์เห็นคุณธรรมเป็นสำคัญ โดยไม่เห็นแก่เรื่องถูกผิดเล็กๆน้อยๆ
ศิษย์คิดว่าอาจารย์แก่ชราจึงเลอะเลือน ศิษย์เสียใจเป็นที่สุด”
จากนั้นเป็นต้นไป ไม่ว่าขงจื้อจะเดินทางไปยังแห่งหนตำบลใด เอี๋ยนหุยติดตามไม่เคยห่างกายจากตำนานเรื่องเล่านี้

ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงเพลงๆหนึ่งของอิวเค่อหลี่หลิน(นักร้องดูโอของไต้หวัน)
ที่ร้องว่า “หากสูญเสียเธอไป ต่อให้เอาชนะทั้งโลกได้แล้วจะยังไง?

เช่นกัน

บางครั้งคุณอาจเอาชนะคนอื่นด้วยเหตุผลของคุณ แต่อาจจะสูญเสียสิ่งที่สำคัญที่สุดไป ”

เรื่องราวต่างๆ แบ่งเป็นหนักเบารีบช้า อย่าเป็นเพราะต้องการเอาชนะให้ได้
แล้วทำให้เสียใจไปตลอดชีวิต

เรื่องราวมากมายที่ไม่ควรทะเลาะกัน ถอยหนึ่งก้าวทะเลกว้างฟ้างาม
ทะเลาะกับลูกค้า ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ใหม่
คุณก็จะรู้สึก)

ทะเลาะกับเถ้าแก่ ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (วันที่ตรวจผลงานปลายปีมาถึง
คุณก็จะรู้สึก)

ทะเลาะกับภรรยา ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เธอไม่สนใจคุณ
คุณก็หากับข้าวกินเองละกัน)

ทะเลาะกับเพื่อน ต่อให้ชนะ ก็แพ้อยู่ดี (เคลียร์ไม่ได้
คุณอาจจะเสียเพื่อนไปเลย)

ใบชา เกิดสีสวยและกลิ่นหอมน่าลิ้มลองได้ ก็เพราะโดนน้ำร้อนลวก

ชีวิตของคนเราก็เช่นเดียวกัน เพราะเผชิญกับอุปสรรคครั้งแล้วครั้งเล่า
จึงเหลือไว้ซึ่งเรื่องราวเป็นตำนานให้ได้เล่าขานน่าตามติด
ผู้ที่รู้สำนึกคุณอยู่เสมอ จึงเป็นผู้มีวาสนามากที่สุด

ที่มา FWD Mail ครับ


.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2011, 04:48:41 pm »

นิทานเซน : ชาวนาซื้อที่ดิน
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 กุมภาพันธ์ 2554 12:40 น.
 
 
《农夫买地》
       
       คนผู้หนึ่ง เอ่ยถามอาจารย์เซนว่า "สิ่งใดน่ากลัวที่สุดในโลก?"
       
       อาจารย์เซนตอบว่า "ความอยาก"
       
       คนผู้นั้นยังคงไม่เข้าใจ อาจารย์เซนจึงเล่าเรื่องๆ หนึ่งให้เขาฟัง ใจความดังนี้
       
       "ยังมีชาวนาผู้หนึ่ง ต้องการหาซื้อที่ดินสักหนึ่งผืน เขาได้ยินมาว่ามีคนต้องการขาย จึงได้เดินทางไปพบเพื่อติดต่อขอซื้อ เมื่อไปถึง ชาวนาจึงได้เอ่ยถามคนผู้นั้นว่า "ที่ดินของท่านขายอย่างไร?"
       
       ผู้ที่ต้องการขายที่ดินตอบว่า "ขอเพียงท่านมอบเงินให้ข้า 1000 ตำลึงเท่านั้น จากนั้นให้เวลาท่านหนึ่งวันเต็มๆ นับจากพระอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งพระอาทิตย์ตก ให้ท่านออกเดินเท้าไปรอบๆ ที่ดิน หากท่านสามารถเดินวนไปได้ไกลเท่าไหร่ ที่ดินเหล่านั้นล้วนนับเป็นของท่าน แต่หากว่าท่านเดินทางกลับมายังจุดเริ่มต้นไม่ทันพระอาทิตย์ตกดิน ท่านจะไม่ได้ที่ดินแม้แต่ตารางนิ้วเดียว"
       
       ชาวนาได้ฟังดังนั้นในใจก็คิดว่า "เช่นนี้ก็ไม่เลว ข้ายอมลำบากหนึ่งวัน เดินให้เร็วที่สุด ไกลที่สุด เพื่อที่จะได้ที่ดินกว้างใหญ่ การซื้อขายนี้ช่างคุ้มค่ายิ่งนัก" ดังนั้นเขาจึงตกลงทำสัญญากับผู้ขายที่ดินรายนั้น
       
       วันรุ่งขึ้น เมื่อพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า ชายชาวนาก็เร่งฝีเท้าจ้ำเดินออกไปทันที เมื่อถึงยามเที่ยงวัน เขาหันหลังกลับมามองก็พบว่าเขามาไกลจนมองไม่เห็นจุดเริ่มต้นแล้ว จึงค่อยเลี้ยงโค้งเพื่อเดินวนไปอีกด้านหนึ่ง พร้อมทั้งก้าวเดินต่อไปโดยไม่ยอมหยุดพัก แม่ว่าจะหิวโหยและเหนื่อยอย่างยิ่งก็ตาม เขาก้าวเดินต่อไป ต่อไป จนกระทั่งพบว่าพระอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้าแล้ว ในใจเขาจึงร้อนรนขึ้นมาเพราะเกรงว่าหากกลับไปไม่ทันพระอาทิตย์ตกจะหมดสิทธิ์ครอบครองที่ดินทั้งหมด เขาจึงรีบหันหลังกลับเพื่อเดินไปยังจุดเริ่มต้น แต่พระอาทิตย์ก็ใกล้จะลาลับฟ้าเต็มที เขาที่ทั้งเหน็ดเหนื่อย ตื่นเต้น และหิวโหยพยายามเร่งฝีเท้าก้าวเดินไปข้างหน้า จนกระทั่งเหลือเพียงสองก้าวจะถึงจุดเริ่มต้น ทว่าเรี่ยวแรงทั้งหมดที่เขามีได้ถูกใช้หมดสิ้นไปแล้ว สุดท้ายได้แต่ล้มลง ณ ที่นั้น ขณะล้มลงมือทั้งสองพลันทาบทับไปที่จุดเริ่มต้นพอดีกับที่พระอาทิตย์ลาลับฟ้า พร้อมกับชายชาวนาที่ล้มหายใจขาดห้วง สิ้นใจไปในลักษณะนั้น
       
       ที่ดินผืนกว้างใหญ่มหาศาลตกเป็นของชาวนาตามที่ได้ตกลงกันไว้ แต่จะมีความหมายอันใด ในเมื่อเขาไม่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้ว"
       
       เมื่อจบเรื่องราวที่อาจารย์เซนเล่า เหล่าศิษย์ก็กระจ่างในใจ เข้าใจว่าเหตุใด "ความอยาก" จึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในโลก
       
       ปัญญาเซน : กิเลส ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น คือจุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดของมวลมนุษย์
       
       ที่มา : หนังสือ 《菩提树下听禅的故事》, 惟真 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 中国华侨出版社, 2004.08, ISBN 7-80120-851-X

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000013225
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 26, 2011, 08:16:54 am »

นิทานเซน : ค่าของคน
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 มกราคม 2554 07:13 น.
 
 



《圆满报身》

ยังมีศิษย์เซนผู้หนึ่ง เฝ้าพร่ำถามอาจารย์เซนทุกวันว่า “สิ่งใดคือคุณค่าที่แท้จริงของคนเรา?”

วันหนึ่ง อาจารย์เซนเดินออกมาจากห้องพร้อมกับก้อนหินหนึ่งก้อน จากนั้นเอ่ยกับศิษย์เจ้าปัญหาว่า “เจ้าจงเอาก้อนหินก้อนนี้ไปเร่ขายยังท้องตลาด แต่ไม่จำเป็นต้องขายออกไปจริงๆ เพียงแค่ทำให้มีผู้มาเสนอราคาขอซื้อก็เพียงพอแล้ว ลองดูสิว่าตลาดจะให้ราคาของก้อนหินก้อนนี้เท่าไหร่”

ศิษย์เซนนำก้อนหินไปเร่ขายยังท้องตลาด มีคนเห็นว่าหินก้อนนี้ทั้งใหญ่และเรียบสวย จึงให้ราคา 2 ตำลึง อีกผู้หนึ่งเห็นว่าหินก้อนนี้น่าจะนำไปทำเป็นลูกกลิ้งหรือลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักได้อย่างดี จึงให้ราคาถึง 10 ตำลึง หลังจากนั้น แม้ว่าจะมีผู้แวะเวียนเข้ามาชมดูก้อนหินมากมาย แต่ราคาที่สูงสุดที่ได้จากท้องตลาดคือ 10 ตำลึง

เมื่อศิษย์เซนนำก้อนหินกลับมายังวัด ก็ถ่ายทอดเรื่องราวที่ตนเร่ขายก้อนหินธรรมดาๆ จนได้ราคาถึง 10 ตำลึงให้อาจารย์ฟังด้วยความยินดียิ่ง

เมื่อฟังจบ อาจารย์เซนเพียงแต่กล่าวว่า “เจ้าจงนำหินก้อนนี้ไปเร่ขายอีกครั้ง ยังตลาดค้าทอง”

ศิษย์เซนจึงเดินทางไปยังตลาดค้าทอง จากนั้นนำก้อนหินออกมาเร่ขาย คราวนี้เพียงแค่เริ่มต้นก็มีผู้เสนอราคาก้อนหินถึง 1 พันตำลึง จากนั้นราคาก็ขึ้นมาเป็น 1 หมื่นตำลึง และสุดท้ายจบลงที่ราคา สิบหมื่นตำลึง

เมื่อศิษย์เซนเห็นผลลัพท์เกินความคาดหมายถึงเพียงนั้น จึงรีบกลับมารายงานอาจารย์เซน ทว่าอาจารย์เซนเพียงกล่าวว่า “พรุ่งนี้เจ้าจงนำก้อนหินก้อนนี้ไปเร่ขายยังตลาดค้าเพชรพลอย ซึ่งเป็นตลาดระดับสูงที่สุดดู”

เมื่อศิษย์เซนนำก้อนหินไปเร่ขายตามคำสั่งของอาจารย์ พบว่าราคาของก้อนหินขึ้นพรวดพราดไปเรื่อยๆ จากสิบ หมื่นตำลึง ยี่สิบหมื่นตำลึง สามสิบหมื่นตำลึง จนกระทั่งมีผู้เข้าใจว่าที่ศิษย์เซนยังไม่ยอมตกลงใจขายก้อนหินเป็นเพราะยังไม่ได้ราคาเหมาะสม จึงเสนอให้ตั้งราคาขึ้นมาเองตามใจชอบอย่างไม่อั้นได้เลยว่าจะขายที่ราคาเท่าไหร่ ศิษย์เซนได้แต่อธิบายต่อผู้คนที่สนใจซื้อก้อนหินว่าตนทำตามคำสั่งอาจารย์ มิอาจขายก้อนหินออกไปจริงๆ ได้ จากนั้นจึงเดินทางกลับวัด พร้อมทั้งบอกอาจารย์เซนว่าตอนนี้ราคาของก้อนหินพุ่งขึ้นไปถึงหลักสิบหมื่นตำลึงแล้ว”

เมื่ออาจารย์เซนฟังจบ จึงกล่าวว่า “นั่นก็ใช่แล้ว ที่ข้าไม่อาจสั่งสอนเจ้าได้ว่าชีวิตมีคุณค่าเพียงใด ก็เพราะนั่นจะเป็นการตีราคาชีวิตของเจ้าโดยผ่านมุมมองภายนอกไม่ต่างจากการตีราคาก้อนหิน ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วคุณค่าของมนุษย์ทุกคนล้วนต้องกระจ่างอยู่ภายในจิตใจของคนผู้นั้นเอง จงมีสายตาแหลมคมดั่งนักค่าเพชรพลอยเสียก่อน จึงจะสามารถเห็นซึ้งถึงคุณค่าที่แท้จริงของคนเรา”

ปัญญาเซน : มนุษย์ทุกคนล้วนมีคุณค่าอยู่ในตัวเอง จงตระหนักในคุณค่าแห่งตน ยอมรับตนเอง ฝึกฝนตนเอง ให้ช่องว่างกับตัวเองได้เติบโต ทุกคนล้วนสามารถกลายเป็นสิ่งมีค่าอันประเมินมิได้ ทุกขวากหนาม ทุกความเจ็บปวด ทุกความพ่ายแพ้ล้วนแล้วแต่มีความหมายอย่างยิ่งต่อชีวิตของคนเรา

ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4


.

China - Manager Online -

[url]http://www.manager.co.th/China/ViewN...=9540000010560

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 19, 2011, 01:04:13 pm »


นิทานเซน : มิใช่คณโฑ
 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 มกราคม 2554 06:57 น.
 
 《灵佑踢瓶》
       อาจารย์เซนนามซือหม่า ต้องการคัดเลือกพระลูกวัดไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสยังวัดแห่งหนึ่งบนภูเขาต้าเหวย และเพื่อคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดจึงได้ลั่นระฆังเรียกพระมารวมตัวกันยังลานวัด จากนั้นถามคำถามข้อหนึ่งให้ทุกคนตอบ
       
       อาจารย์เซนชูคณโฑน้ำขึ้นมาใบหนึ่ง จากนั้นกล่าวว่า “สิ่งนี้ไม่ใช่คณโฑน้ำ แต่เป็นอะไร?”
       
       บรรดาพระลูกวัดต่างจ้องมองด้วยความงงงวย ไร้ซึ่งคำตอบ เนื่องเพราะสิ่งที่อาจารย์เซนถืออยู่นั้นชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นคณโฑน้ำ หากไม่ให้ตอบว่าคณโฑน้ำ ก็มิทราบจะตอบอย่างไรดี
       
       ขณะนั้นเอง มีพระรูปหนึ่งนามว่า หลิงโย่ว ซึ่งทำหน้าที่ผ่าฟืน จุดไฟ หุงอาหารภายในวัดกล่าวโพล่งขึ้นมาว่า “ขอให้ศิษย์ลองตอบดูสักครั้ง” บรรดาพระรูปอื่นๆ เห็นพระรูปนี้ท่าทางทึ่มทื่อ จึงพากันหัวเราะขบขัน
       
       พระหลิงโย่วก้าวออกมาข้างหน้า รับเอาคณโฑน้ำมาจากอาจารย์เซน แล้ววางลงบนพื้น จากนั้นพลันเตะคณโฑน้ำจนกระเด็นกระดอนหายลับจากกำแพงวัดไป อาจารย์เซนเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า “เจ้าสมควรรับตำแหน่งเจ้าอาวาสแห่งวัดต้าเหวย”
       
       บรรดาพระลูกวัดยังคงขบคิดไม่เข้าใจ อาจารย์เซนจึงกล่าวว่า “ในเมื่อมิใช่คณโฑน้ำ ก็จงเตะทิ้งไปเสีย ที่แท้เป็นสิ่งใดล้วนไม่จำเป็นต้องไถ่ถามให้มากความ”
       
       ปัญญาเซน : ในชีวิตคนเราล้วนเผชิญกับปัญหา หรือทางเลือกที่ยากจะตัดสินใจมากมาย ทั้งที่แท้จริงแล้ว “การเลือก” นั้นง่ายดาย เพียงเตะสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับชีวิตของตนเองออกไปให้พ้นทาง ย่อมพบคำตอบที่ถูกต้องในที่สุด
       
       ที่มา : หนังสือ 《禅的故事精华版》, 慕云居 เรียบเรียง, สำนักพิมพ์ 地震出版社, 2006.12, ISBN 7-5028-2995-4

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000007098
.


.