ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 18, 2011, 08:31:48 am »


นอกจาก ’ผึ้ง” จะเป็นแมลงผสมเกสรที่มีส่วนช่วยขยายพันธุ์พืชแล้ว ปัจจุบันผึ้งกลายเป็นแมลงเศรษฐกิจที่สามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้เกษตรกรในหลายพื้นที่ ซึ่งมีการเลี้ยงผึ้งเพื่อผลิต น้ำผึ้ง นมผึ้ง เกสรผึ้ง ไขผึ้งและพรอพอลิส (Propolis) สู่ตลาดและผู้บริโภค ขณะเดียวกันยังมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้ง อาทิ สบู่สูตรผสมน้ำผึ้ง แชมพูสูตรผสมน้ำผึ้ง ครีมนวดสูตรผสมน้ำผึ้ง และยาหม่องไขผึ้งผสมสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วย ...ที่น่าทึ่งไปกว่านั้น  คือ มีการใช้ “ผึ้งบำบัด” โดยใช้พิษผึ้งเพื่อรักษาหรือบรรเทาอาการโรค (บางโรค) ได้ผลดี ถือเป็นทางเลือกที่ผู้ป่วยเริ่มให้การยอมรับแพร่หลาย
   
นายประเสริฐ นพคุณขจร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จ.ชุมพร (ผึ้ง) กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์ฯ ได้รับมอบภารกิจให้ดำเนินการศึกษาวิจัย  คัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ผึ้ง พร้อมส่งเสริมการฝึกอบรมอาชีพและพัฒนาการเลี้ยงผึ้งทั้งสายพันธุ์ต่างประเทศ คือ พันธุ์อิตาเลียน (Apis mellifera) และผึ้งโพรงไทย  (Apis  cerana) รวมถึงแมลงเศรษฐกิจหลายชนิด อาทิ ชันโรง และด้วงสาคู เพื่อสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้  ขณะเดียวกันยังส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผึ้งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับผึ้งพันธุ์และแมลงเศรษฐกิจสำคัญ ให้เกษตรกรที่สนใจมาเข้าศึกษาเรียนรู้และฝึกอาชีพเฉพาะด้าน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคงยิ่งขึ้น
   
ในส่วนของการใช้ ผึ้งบำบัด (Apitherapy) นั้น เป็นการรักษาโดยใช้ พิษต้านพิษ ซึ่งเป็นศาสตร์การรักษาโรคโดยใช้ผึ้งซึ่งแพทย์แผนจีนมีการใช้มานานกว่า 3,000 ปี  และขณะนี้ได้รับการยอมรับในระดับสากล หลายประเทศได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องให้ใช้รักษาคนไข้ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป  ญี่ปุ่น จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น โดยใช้หลักการเดียวกับการฝังเข็ม
   
เบื้องต้นกรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ทุกศูนย์ เข้าสัมมนาประชุมผึ้งบำบัดนานาชาติ ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2552 หลังจากนั้นได้รับการติดต่อจาก ศาสตราจารย์นายแพทย์ฟางจู (Fang  Zhu) นายกสมาคมผึ้งบำบัดนานาชาติ (IAHPS & IABPS) ที่เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เข้ารับการฝึกอบรมการใช้ผึ้งบำบัด  ทำให้มีโอกาสเรียนรู้เทคนิคการใช้ผึ้งบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบำบัดด้วยพิษผึ้ง คือ อาจารย์อู๋ จง ญิ๋ง  โดยตรง ซึ่งเลือกเน้นเทคนิคการใช้ผึ้งบำบัดหรือรักษาโรค โรคที่พบมากในคนไทย ได้แก่ อัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดคอ ปวดเอว ปวดหลัง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามแขนและขา ปวดหัว ไมเกรน โรคเกาต์ ภูมิแพ้ ตะคริวที่น่อง ปวดประจำเดือน  ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน นิ้วล็อก ริดสีดวงทวาร นิ้วชา เท้าชา และ ข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น 
   
ช่วงแรกได้ทดลองใช้ผึ้งบำบัดหรือรักษาโรคให้กับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ที่สมัครใจทั้งผู้มีอาการนิ้วล็อกปวดเข่า และริดสีดวงทวารซึ่งปรากฏว่าหายจากอาการป่วยทุกราย โดย ก่อนทำการรักษาผู้ป่วยต้องทดสอบการแพ้พิษผึ้งก่อนเพื่อลดอัตราเสี่ยงของผลกระทบจากการแพ้พิษผึ้ง ถ้าร่างกายไม่มีปฏิกิริยาต่อต้าน ก็สามารถฝังเข็มเหล็กในผึ้งต่อไปได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ มีการบอกเล่าปากต่อปากว่า บำบัดด้วยพิษผึ้งได้ผลดี จึงมีการนำญาติและมีผู้สนใจเข้ามารักษาเพิ่มมากขึ้น
   
ปัจจุบันศูนย์ฯ ได้เปิดให้บริการประ  ชาชน เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นด้วยการใช้เหล็กในผึ้งช่วยบำบัดโรค  มีคนไข้สมัครใจเข้ามารักษาเฉลี่ยวันละ 4-5 ราย รวมเดือนละไม่น้อยกว่า 100 ราย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น  ก่อนทำการรักษาจะมีการซักประวัติและวินิจฉัยโรคพร้อมบันทึกข้อมูลในสมุดประวัติผู้ป่วยทุกราย หลังจากรักษาแล้วคนไข้มีอาการดีขึ้นถึงกว่า 80%
   
อย่างไรก็ตาม การใช้ผึ้งบำบัดก็มีข้อจำกัด โดยจะไม่ทำการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและไต กระดูกหัก หญิงตั้งครรภ์  สตรีระหว่างมีประจำเดือน  ผู้ที่มีบาดแผลเลือดออกมาก เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ขวบ ท้องเสียเฉียบพลัน  โรคติดเชื้อเฉียบพลัน  และผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง นอกจากนั้นยังไม่รักษาผู้ป่วยที่ดื่มสุราหรือมีแอลกอฮอล์ในร่างกายอย่างเด็ดขาด เพราะจะเกิดอาการแพ้พิษผึ้งและอาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้
   
....การใช้ผึ้งบำบัด..เป็นเทคนิคและความสามารถส่วนบุคคล (ไม่ควรลอกเลียนแบบ) หากสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) โทร. 0-7757-4519-20,  08-6946-6207 หรือกลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 0-2940-6102.




http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=663&contentID=126919