ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 18, 2011, 09:23:37 am »

แผ่นดินไหวถี่ หรือโลกกำลังป่วย



ความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหว ขนาดใหญ่หลายต่อหลายครั้งที่ต่อเนื่องมาถึงครั้งล่านี้ หลายคนสงสัย...โลกกำลังเข้าสู่หายนะครั้งใหญ่ หรือแค่กำลังป่วย?

ยิ่ง มีข้อมูลด้วยว่า...แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่ญี่ปุ่นขนาด 9 ริกเตอร์นี้ อาจทำให้แกนโลกเอียงประมาณ 10 เซนติเมตร...ทำให้เกาะญี่ปุ่นเคลื่อนที่ไปจากเดิม 8 ฟุต

พร้อมๆกับ มีรายงานด้วยว่า เกิดเหตุภูเขาไฟระเบิด บนเกาะคิวชู...ซึ่ง ภูเขาไฟชินโมเอดาเกะลูกนี้ได้พ่นเถ้าถ่าน...ก้อนหินออกมาอีกครั้ง หลังจากที่เคยปะทุมาแล้ว

ความเกี่ยวโยงนับจากระยะห่าง แม้ว่าภูเขาไฟจะห่างจากจุดศูนย์ กลางแผ่นดินไหว 1,500 กิโลเมตร แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่าเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวหรือไม่




"เหตุการณ์แผ่นดินไหวกับภูเขาไฟระเบิดไม่น่าจะเอามาโยงกัน ส่วนการเกิดแผ่นดินไหว โดยปกติเหตุผลหลักคือการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก"

รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ในฐานะหัวหน้าโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย สกว.บอก

"เวลา เกิดการเคลื่อนตัวแบบฉับพลัน...อีกแผ่นหนึ่งสไลด์มุดตัวเข้าไปในอีกแผ่น หนึ่ง จะทำให้เปลือกทั้งสองด้านมีการเคลื่อนตัวอยู่แล้ว...ครั้งนี้อยู่ที่ระดับ 2.4 เมตร ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ สำหรับแผ่นดินไหวใหญ่ขนาดนี้"

เมื่อ ครั้ง...แผ่นดินไหวที่ชิลี 27 ก.พ.2553 องค์การนาซาให้ข้อมูลว่าแรงจากแผ่นดินไหวส่งผลให้แกนโลกขยับจากเดิมถึง 8 เซนติเมตร ทำให้เวลาสั้นขึ้น

ว่ากันว่า...จะทำให้ระยะเวลาในหนึ่งวันสั้นหรือช้าไปประมาณ 1.26 ไมโครวินาที ซึ่ง 1 ไมโครวินาที เท่ากับ 1 ในล้านวินาที

แผ่น ดินไหวระดับความแรง 9 ริกเตอร์ครั้งนี้ ก็มีข่าวออกมาว่าจะทำให้แกนโลกเอียง ทัศนะส่วนตัว รศ.ดร.เป็นหนึ่ง ไม่คิดว่าแผ่นดินไหวจะทำให้แกนโลกเอียง

"แกนโลกมันเอียงอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับระนาบที่หมุนรอบดวงอาทิตย์ แผ่นดินไหวครั้งนี้ก็ไม่ได้ทำให้แกนโลกเอียงเพิ่มขึ้นหรือลดลง"

...เพราะ ว่ามีแผ่นดินไหวระดับใกล้เคียงนี้เกิดขึ้นประมาณปีละครั้ง เพียงแต่ครั้งนี้เกิดใกล้เมืองเซนได อยู่ในตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น ก็เลยก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ สร้างผลกระทบรุนแรง

เซนไดเป็น พื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น ถือเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดของญี่ปุ่นในรอบ 140 ปีก็จริง แต่ว่าในระดับโลก...แผ่นดินไหวขนาดนี้ก็เกิดขึ้นในหลายจุด ที่โน่น...ที่นี่ ในย่านเดียวกันนี้ได้

"ข่าวที่บอกว่าแกนโลกเอียง ต้องมาดูว่าเอียงเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าไหร่จากเดิม ซึ่งอาจจะน้อยมากเสียจนไม่มีใครรู้สึกได้"

ความถี่ กับอาฟเตอร์ช็อกที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง รศ.ดร.เป็นหนึ่ง บอกว่า ก็เป็นเรื่องปกติ แผ่นดินไหวโดยทั่วไปแล้ว...จะมีอาฟเตอร์ช็อกที่ขนาดเล็กกว่าตามมา

สถิติ โดยทั่วๆไปอาฟเตอร์ช็อกจะเล็กกว่าประมาณ 1.5 เท่า เช่น มีแผ่นดินไหวระดับ 8.9 ริกเตอร์ ก็จะมีอาฟเตอร์ช็อกสูงสุดได้ถึง 7.4 ริกเตอร์

"บาง ครั้งอาจจะมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ก็แล้วแต่ แล้วก็แผ่นดินไหวตัวใหญ่ๆขนาดนี้...อาจจะมีอาฟเตอร์ช็อกเป็นปี เหมือนกรณีของเราเมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ครั้งนั้นก็มีอาฟเตอร์ช็อกเป็นปีเหมือนกัน...

นั่นเป็นเพราะว่าระนาบ ที่เกิดการไถล...มุดตัว พอไถลแล้ว ไม่ได้ไถลครั้งเดียวแล้วหยุด ยังไม่เข้าสู่สมดุลที่แท้จริง ก็จะมีการไถลเล็กๆ ปรับตัวจนกว่าจะเข้าที่"




"อาฟ เตอร์ช็อก"...จะหนักในช่วงอาทิตย์แรกเดือนแรก แล้วก็จะค่อยๆน้อยลงไปเรื่อยๆ และที่กลัวกันว่าจะเกิดสึนามิซ้ำอีกระลอก ประเด็นนี้ ถ้าอาฟเตอร์ช็อกใหญ่พอก็เกิดสึนามิได้ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีอาฟเตอร์ช็อกจะใหญ่กว่าตัวเมนช็อก

"ตัวที่จะเกิดตามขึ้นมา ถ้าขนาดเล็กลงเป็นอาฟเตอร์ช็อก โดยทั่วไปก็จะไม่ทำให้เกิดสึนามิที่รุนแรงเช่นนี้อีก เพราะระดับความแรงจะต่างกันมาก"

ประเด็นที่ทั่วโลกเป็นห่วงกันตอนนี้ คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

จริงๆ โจทย์ที่น่าจะถามมากกว่าอยู่ที่...แผ่นดินไหวครั้งใหญ่นี้ เกิดในทะเลห่างจากฝั่งเยอะพอสมควร แม้จะทำให้อาคารบ้านเรือนสั่นสะเทือนแรงก็จริง แต่เราก็เห็นว่ามีอาคารพังทลายไม่ได้สูงมาก

"ภาพความเสียหายวันนี้ ยังมีอาคารที่ทนอยู่ได้ แข็งแรงเป็นส่วนใหญ่ คำถามมีว่า...ทำไม?โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ที่ควรจะมีมาตรฐานในการออกแบบก่อสร้างสูงกว่าอาคารปกติหลายเท่าตัว ถึงกลับเสียหายได้ขนาดนี้"




หลายคนอาจจะมองว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สร้างมาเก่าก่อน...ก่อนที่จะมีเทคโนโลยีหรือเปล่า

รศ.ดร.เป็น หนึ่ง บอกว่า เทคโนโลยีการสร้างอาคารต้านทานแผ่นดินไหวการพัฒนาในยุคแรกๆก็มาจากการออกแบบ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหมือนกัน เพราะอาคารประเภทนี้มีความต้องการที่เข้มงวดมากกว่า

ฉะนั้น การพัฒนาอาคารต้านทานแผ่นดินไหวในยุคแรกๆก็มาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แล้วถึงจะค่อยๆกระจายไปถึงการออกแบบอาคารทั่วๆไป

"โรง ไฟฟ้านิวเคลียร์จะต้องทนแผ่นดินไหวได้มากกว่าปกติ อาคารโดยรอบพังไปหมดแล้ว โรงไฟฟ้าต้องยังอยู่ และยังต้องทำงานได้ อย่างมากก็ต้องปิดตัวลงได้ โดยที่ไม่มีปัญหาอะไร"

ถึงวันนี้...ไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ทางญี่ปุ่นเอง เท่าที่ฟังข่าวก็เป็นห่วงเหมือนกันว่ารัฐบาลอาจจะไม่ได้บอกรายละเอียด ทั้งหมด ซึ่งเป็นข้อน่าสังเกต อยู่เหมือนกัน

ถึงตรงนี้ต้องชี้ถึงจุด เสี่ยงสำหรับประเทศไทย เพราะหลายคนอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว โดยเฉพาะเมืองไทยไม่น่าจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 8 ริกเตอร์ขึ้นไป

"อาจจะเข้าใจผิดถ้าจะบอกว่าเมืองไทยจะไม่เจอแผ่นดินไหวที่อันตราย" รศ.ดร.เป็นหนึ่ง ว่า

"เรา มีโอกาส...แผ่นดินไหวอย่างที่เกิดที่ไครสต์เชิร์ช 6.3 ริกเตอร์ เราก็มี...เคยเกิดมาแล้ว เช่นที่จังหวัดน่าน 70 ปีมาแล้ว...ก็เกิด 6.5 ริกเตอร์ แล้วเมื่อสองสามปีก่อนก็เกิดที่ประเทศลาว อยู่ห่างจากเชียงรายไปแค่ 50 กิโลเมตร"

ต้องย้ำว่า แผ่นดินไหวในไทยเกิดขึ้นได้ในพื้นที่

แผ่น ดินไหวที่เบากว่านั้นที่ยูนานไม่กี่วันก่อน 5.4 ริกเตอร์ ก็ทำให้อาคารบ้านเรือนพัง...เรามีแผ่นดินไหวขนาด 5.6 ริกเตอร์ที่จังหวัดตาก แผ่นดินไหว 5.9 ริกเตอร์ที่จังหวัดกาญจนบุรี แล้วก็มีแผ่นดินไหวขนาด 5 ริกเตอร์กว่าๆกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือหลายครั้ง

"แผ่นดินไหวที่เป็นอันตรายพวกนี้เกิดขึ้นได้ แต่ว่าก็อาจจะเกิดไปอีกสิบ...อีกร้อยครั้ง โดยที่ไม่ทำให้เกิดภัยพิบัติเลยก็ได้"

แผ่น ดินไหว 5 ริกเตอร์...ในโลกนี้เกิดประมาณปีละ 1,500 ครั้ง เยอะมาก แต่ที่เป็นข่าวมีนิดเดียว และแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ เกิดประมาณ 150 ครั้งต่อปี

"แผ่นดินไหวประเภทแบบนี้ โอกาสที่จะสร้างความเสียหายทำได้ แต่ต้องเกิดใกล้เมืองมาก อย่างกรณีไครสต์เชิร์ช ห่างไปแค่ 5 กิโลเมตร ถ้าห่างมากกว่านั้นอีกสัก 10 กิโลเมตร อาจจะไม่มีใครตายเลยก็ได้"

เมืองไทยความเสี่ยงก็เป็นอย่าง นั้น เกิดมาหลายครั้งแล้วโดยที่ไม่ตรงเมือง แต่ว่าในอนาคตก็อาจจะตรงได้ แล้วแถมบ้านเรายังมีรอยเลื่อนที่มีศักยภาพในการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์

คำถามที่บอกว่า...เราไม่น่ามีแผ่นดินไหวขนาดนี้ ก็น่าจะเป็นความเข้าใจผิด เพราะจริงๆแล้ว...แผ่นดินไหวไม่จำเป็นต้องใหญ่ขนาด 8-9 ริกเตอร์ ก็สร้างความเสียหายได้

"ถ้าเกิดสัก 6 ริกเตอร์ต้นๆ แถบจังหวัดภาคเหนือ ผมว่าคนตายหลายพัน...อาคารบ้านเรือนพังมากมาย และเหตุการณ์นี้มันก็เป็นไปได้ เป็นเรื่องที่ต้องเตรียมเผื่อเอาไว้

แต่ถ้าเทียบความเสี่ยงในระดับโลก เมืองไทย...ยังถือว่าไม่เสี่ยงสูงมากนัก"

รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) กล่าวทิ้งท้าย.
 
http://www.thairath.co.th/today/view/156422