ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 20, 2011, 10:41:11 pm »สธ.แนะเลี่ยงเมนูอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ขนมจีน เอแคร์ ตัวการก่อโรค 90 %
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูร้อนนี้ นอกจากจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้แล้ว ในด้านสุขภาพของประชาชน พบว่า มีความเสี่ยงป่วยจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดได้ง่ายกว่าฤดูอื่น ๆ อาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ เชื้อโรคที่ก่อพิษในหน้าร้อนมักเป็นเชื้อแบคทีเรีย อากาศยิ่งร้อน เชื้อยิ่งฟักตัวแพร่พันธุ์เร็ว ในรอบ 2 เดือน ในปี 2554 นี้ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข รายงานพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษทั่วประเทศรวม 19,148 ราย ยังไม่มีรายงานเสียชีวิต
สำหรับการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ มีวิธีการประกอบกัน 3 ส่วน ส่วนแรกคือด้านอนามัยของประชาชนเอง แนะนำให้ตัดเล็บมือให้สั้น และดูแลความสะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร
ส่วนที่ 2 คือการเลือกอาหาร ควรเลือกอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ขอให้หลีกเลี่ยงเมนูดังต่อไปนี้ คือ ส้มตำปูดอง ส้มตำปูม้าสด อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสม หอยแมลงภู่/หอยแครงลวก เนื้อปูแกะสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ขนมเอแคร์ ขนมจีน ยำต่าง ๆ และอาหารสุกๆดิบ ๆทุ กชนิด เช่น กุ้งพล่า ลาบก้อย เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะเสียง่าย เพราะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
ส่วนที่ 3 คือการเก็บรักษาอาหาร ต้องเก็บไว้ในที่เย็น เช่น ตู้เย็น เพื่อชะลอการเติบโตเชื้อโรค หากเป็นอาหารข้ามมื้อเกิน 4 ชั่วโมงหลังปรุงเสร็จ ต้องอุ่นให้ร้อนหรือเดือดก่อนรับประทาน เพื่อให้ความร้อนฆ่าเชื้อโรคทุกชนิดก่อน
อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องเดินทางและสั่งอาหารกล่อง จะต้องเลือกจากร้านที่เชื่อถือได้ และกำชับให้ผู้ปรุง อย่าปรุงล่วงหน้านาน เลือกเมนูที่ไม่บูดหรือเสียง่าย เช่น ไข่ต้ม หมูทอด ไก่ทอด ไม่ควรเป็นเมนูกะทิ ยำ เป็นต้น เพราะจากการสอบสวนโรคในกลุ่มผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ พบเมนูดังกล่าวข้างต้นเป็นสาเหตุกว่าร้อยละ 90
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มติชนออนไลน์
http://health.kapook.com/view24401.html
.
ข่าวสุขภาพ สธ.แนะเลี่ยงเมนูอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ขนมจีน เอแคร์
.
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูร้อนนี้ นอกจากจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้แล้ว ในด้านสุขภาพของประชาชน พบว่า มีความเสี่ยงป่วยจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาดได้ง่ายกว่าฤดูอื่น ๆ อาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ เชื้อโรคที่ก่อพิษในหน้าร้อนมักเป็นเชื้อแบคทีเรีย อากาศยิ่งร้อน เชื้อยิ่งฟักตัวแพร่พันธุ์เร็ว ในรอบ 2 เดือน ในปี 2554 นี้ สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข รายงานพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษทั่วประเทศรวม 19,148 ราย ยังไม่มีรายงานเสียชีวิต
สำหรับการป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ มีวิธีการประกอบกัน 3 ส่วน ส่วนแรกคือด้านอนามัยของประชาชนเอง แนะนำให้ตัดเล็บมือให้สั้น และดูแลความสะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังจากเข้าห้องน้ำและก่อนรับประทานอาหาร
ส่วนที่ 2 คือการเลือกอาหาร ควรเลือกอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ขอให้หลีกเลี่ยงเมนูดังต่อไปนี้ คือ ส้มตำปูดอง ส้มตำปูม้าสด อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสม หอยแมลงภู่/หอยแครงลวก เนื้อปูแกะสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ขนมเอแคร์ ขนมจีน ยำต่าง ๆ และอาหารสุกๆดิบ ๆทุ กชนิด เช่น กุ้งพล่า ลาบก้อย เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะเสียง่าย เพราะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
ส่วนที่ 3 คือการเก็บรักษาอาหาร ต้องเก็บไว้ในที่เย็น เช่น ตู้เย็น เพื่อชะลอการเติบโตเชื้อโรค หากเป็นอาหารข้ามมื้อเกิน 4 ชั่วโมงหลังปรุงเสร็จ ต้องอุ่นให้ร้อนหรือเดือดก่อนรับประทาน เพื่อให้ความร้อนฆ่าเชื้อโรคทุกชนิดก่อน
อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องเดินทางและสั่งอาหารกล่อง จะต้องเลือกจากร้านที่เชื่อถือได้ และกำชับให้ผู้ปรุง อย่าปรุงล่วงหน้านาน เลือกเมนูที่ไม่บูดหรือเสียง่าย เช่น ไข่ต้ม หมูทอด ไก่ทอด ไม่ควรเป็นเมนูกะทิ ยำ เป็นต้น เพราะจากการสอบสวนโรคในกลุ่มผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ พบเมนูดังกล่าวข้างต้นเป็นสาเหตุกว่าร้อยละ 90
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก มติชนออนไลน์
http://health.kapook.com/view24401.html
.
ข่าวสุขภาพ สธ.แนะเลี่ยงเมนูอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ ขนมจีน เอแคร์
.