ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 21, 2011, 09:52:55 pm »เวลานี้ทั่วโลกเริ่มตระหนักกับพิษภัยของธรรมชาติที่มนุษย์ ไม่สามารถจะเอาชนะได้อย่างเด็ดขาด เพราะอุทาหรณ์จาก แผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 9 ริกเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ซัดบ้านเรือนและชีวิตประชาชนสูญเสียเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่นาที เป็นที่ประจักษ์ว่า จากนี้ไปภัยจากธรรมชาติจะกลายเป็นภัยพิบัติของมนุษยชาติที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง
จะว่าไปแล้วญี่ปุ่นเองมีการป้องกันและเตรียมรับมือเหตุการณ์ แผ่นดินไหวดีที่สุดในโลกก็ว่าได้ แต่ก็หนีไม่พ้นความสูญเสียอยู่ดี ผลพวงที่ตามมาก็คืออาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้งแม้จะมีความรุนแรงน้อยกว่าครั้งแรก แต่ก็เป็นที่หวาดวิตกว่า ประเทศญี่ปุ่นไม่ปลอดภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอีกต่อไป
ยังไม่รวม สารกัมมันตภาพรังสี และ ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ ที่จะตามมา เบื้องต้นธนาคารกลางญี่ปุ่นพยายามอัดฉีดเม็ดเงินเป็นจำนวนล้านล้านเยนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเป็นครั้งที่สอง แต่ดูเหมือนจะไม่มีเสียงตอบรับกลับมา ทุกอย่างยังอยู่ในความหวาดวิตกและไม่มั่นใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก
ทุกประเทศเกือบจะทั่วโลกมีความตื่นตัวในสองเรื่องด้วยกันคือการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และเหตุการณ์แผ่นดินไหว จะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ ประเทศไหนจะตกเป็นเหยื่อของธรรมชาติเป็นประเทศต่อไป
ประเทศไทยก็ใช่จะปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านแผ่นดินไหว ยอมรับว่าประเทศไทยเองก็ ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลก ถึง 13 จุดด้วยกัน จากเหนือสุดคือ จ.เชียงราย ไปจนถึงภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.กระบี่ เพียงแต่รอยเลื่อนบริเวณดังกล่าวไม่มีปรากฏการณ์ที่จะขยับเขยื้อนอย่างรุนแรงหรือเกิดขึ้นบ่อย บางรอยเลื่อนอาจจะเกิด 90 ปีครั้ง บางรอยเลื่อนเป็นร้อยปีหรือพันปี
ที่ผ่านมาแม้จะมี เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย มาบ้างแล้วก็ไม่ถึงกับเป็นอันตราย แค่รับรู้และรู้สึกได้เท่านั้น ขนาดใกล้เคียง 5.9 ริกเตอร์ก็เคยเกิดขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง จะส่งคลื่นสั่นสะเทือน เป็นความถี่ขนาดสูง ขนาดกลางและขนาดต่ำ ความถี่สูงจะมีผลต่ออาคารเตี้ยๆ ความถี่ต่ำจะมีผลกับอาคารสูงและความถี่ต่ำจะกระจายได้ไกลเป็นร้อยหรือถึงพันกิโลเมตร
ข้อสำคัญก็คือการก่อสร้าง อาคารสูงโดยเฉพาะใน กทม. ไม่มีการกำหนดให้สามารถรับกับความสั่นสะเทือนได้มากน้อยขนาดไหน อย่าลืมว่าแผ่นดินใน กทม.เป็นแผ่นดินอ่อน จึงเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงได้มากกว่าในต่างจังหวัด
เราควรตื่นตัวในเรื่องเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
เป็นคำถามที่น่าจะนำมาทบทวนมากกว่า นายกฯ หรือ รมต.คนไหนได้คะแนนไว้วางใจไม่ไว้วางใจมากน้อยกว่ากัน เป็นเรื่องไร้สาระ เพราะทุกวันนี้ นักการเมืองก็ไม่ได้มีอะไรเป็นสาระอยู่แล้ว.
หมัดเหล็ก
http://www.thairath.co.th/column/pol/kaablook/157383
จะว่าไปแล้วญี่ปุ่นเองมีการป้องกันและเตรียมรับมือเหตุการณ์ แผ่นดินไหวดีที่สุดในโลกก็ว่าได้ แต่ก็หนีไม่พ้นความสูญเสียอยู่ดี ผลพวงที่ตามมาก็คืออาฟเตอร์ช็อกอีกหลายครั้งแม้จะมีความรุนแรงน้อยกว่าครั้งแรก แต่ก็เป็นที่หวาดวิตกว่า ประเทศญี่ปุ่นไม่ปลอดภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอีกต่อไป
ยังไม่รวม สารกัมมันตภาพรังสี และ ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ ที่จะตามมา เบื้องต้นธนาคารกลางญี่ปุ่นพยายามอัดฉีดเม็ดเงินเป็นจำนวนล้านล้านเยนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเป็นครั้งที่สอง แต่ดูเหมือนจะไม่มีเสียงตอบรับกลับมา ทุกอย่างยังอยู่ในความหวาดวิตกและไม่มั่นใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีก
ทุกประเทศเกือบจะทั่วโลกมีความตื่นตัวในสองเรื่องด้วยกันคือการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และเหตุการณ์แผ่นดินไหว จะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ ประเทศไหนจะตกเป็นเหยื่อของธรรมชาติเป็นประเทศต่อไป
ประเทศไทยก็ใช่จะปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทางด้านแผ่นดินไหว ยอมรับว่าประเทศไทยเองก็ ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนของเปลือกโลก ถึง 13 จุดด้วยกัน จากเหนือสุดคือ จ.เชียงราย ไปจนถึงภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.กระบี่ เพียงแต่รอยเลื่อนบริเวณดังกล่าวไม่มีปรากฏการณ์ที่จะขยับเขยื้อนอย่างรุนแรงหรือเกิดขึ้นบ่อย บางรอยเลื่อนอาจจะเกิด 90 ปีครั้ง บางรอยเลื่อนเป็นร้อยปีหรือพันปี
ที่ผ่านมาแม้จะมี เหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย มาบ้างแล้วก็ไม่ถึงกับเป็นอันตราย แค่รับรู้และรู้สึกได้เท่านั้น ขนาดใกล้เคียง 5.9 ริกเตอร์ก็เคยเกิดขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง จะส่งคลื่นสั่นสะเทือน เป็นความถี่ขนาดสูง ขนาดกลางและขนาดต่ำ ความถี่สูงจะมีผลต่ออาคารเตี้ยๆ ความถี่ต่ำจะมีผลกับอาคารสูงและความถี่ต่ำจะกระจายได้ไกลเป็นร้อยหรือถึงพันกิโลเมตร
ข้อสำคัญก็คือการก่อสร้าง อาคารสูงโดยเฉพาะใน กทม. ไม่มีการกำหนดให้สามารถรับกับความสั่นสะเทือนได้มากน้อยขนาดไหน อย่าลืมว่าแผ่นดินใน กทม.เป็นแผ่นดินอ่อน จึงเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงได้มากกว่าในต่างจังหวัด
เราควรตื่นตัวในเรื่องเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน
เป็นคำถามที่น่าจะนำมาทบทวนมากกว่า นายกฯ หรือ รมต.คนไหนได้คะแนนไว้วางใจไม่ไว้วางใจมากน้อยกว่ากัน เป็นเรื่องไร้สาระ เพราะทุกวันนี้ นักการเมืองก็ไม่ได้มีอะไรเป็นสาระอยู่แล้ว.
หมัดเหล็ก
http://www.thairath.co.th/column/pol/kaablook/157383