ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 21, 2011, 09:59:25 pm »







"สวนอันศักดิ์สิทธิ์"–"เสาหินอโศก" ลุมพินีสถาน.

เยือนเนปาลครั้งนี้ ขอย้อนบันทึกความทรงจำในค่ำคืนวันแห่งความ รัก วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ณ ลานเสาหินอโศก ลุมพินีสถาน

ค่ำคืนนี้ คณะสะพานบุญจากมูลนิธิไทยพึ่งไทย นำโดย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์  ได้ไปทำพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณที่ได้ชื่อว่าเป็น "สวนอันศักดิ์สิทธิ์" หรือ "Sacred Garden" สถานที่ประสูติองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ดินแดนแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก  พุทธศาสนิกชนทั่วโลก  ถ้ามีโอกาสต่างก็อยากจะเดินทางมาสักการบูชาให้ได้สักครั้งในชีวิต...

ราวปี 236 พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมา ณ ลุมพินี โดยคำแนะนำของพระอุปคุตเถระว่า...สถานที่ แห่งนี้คือที่ประสูติจากพระครรภ์ของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในสี่สังเวชนียสถานที่พระพุทธองค์รับสั่งกับพระอานนท์ก่อนปรินิพพานว่า...ให้เป็นสถานที่แทนตัวพระพุทธองค์หลังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน แล้วให้พุทธบริษัทมาสักการะและปลงธรรมสังเวช
 
นั่งสมาธิภาวนา ค่ำคืนแห่งความรัก.

 
พระเจ้าอโศกมหาราชจึงทรงให้สร้างเสาหินอโศกและพระสถูปไว้เป็นสัญลักษณ์ เพื่อให้ พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังได้รับรู้  มาสักการบูชาสังเวชนียสถานแห่งนี้ได้อย่างถูกต้อง

วันเวลาผ่านไปนับร้อยๆปี...ลุมพินีถูกปล่อยทิ้งร้างยาวนาน กระทั่งวันที่ 1 ธันวาคม 2438 มีการขุดค้นพบเสาหินอโศก และเมื่อถึงสมัยกึ่งพุทธกาล...ราวปี 2513 ฯพณฯอูถั่น ชาวพุทธพม่า ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติตอนนั้น ก็ได้พยายามผลักดันโครงการพัฒนาลุมพินีเป็นผลสำเร็จ ทำแผนแม่บทพัฒนาลุมพินีสถานขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่นับหมื่นเอเคอร์

ผ่านมา...ถึงวันนี้ สวนอันศักดิ์สิทธิ์ ลุมพินีตามแผนแม่บทยังคงไม่มีความคืบหน้า ยิ่งใครได้ ไปช่วงฤดูฝน นับตั้งแต่ก้าวแรกจากจุดลงรถ ถนนทางดินก็เปียกแฉะเป็นโคลนเดินได้ยากลำบาก เข้าสู่วิหารมายาเทวี ด้วยสภาพเท้าเปื้อนโคลน... ความรู้สึกแปลกๆ ไม่สบายใจน่าจะเกิดขึ้นเหมือนๆกันทุกคน
 
 
อีกอย่างพุทธศาสนิกชนทุกคนจุดธูปเทียนบูชาตั้งจิตอธิษฐานเพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต หน้าเสาหินอโศก...เรียบร้อยแล้ว เมื่อต้องปักธูปเทียน ก็ต้องไปปักกับกระถางต้นไม้ ที่มีสภาพหักไปครึ่งหนึ่ง วางอยู่บนพื้นหญ้า เทียนก็ต้องปักเอากับแนวฐานอิฐเจดีย์เก่า

ภาพที่เห็นทำให้หลายคนฉุกคิด...การกราบไหว้ บูชาพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพนบนอบสูงสุด ไฉนเลย?ถึงทุลักทุเลเช่นนี้

กระทั่งเป็นโอกาสของคณะสะพานบุญชุดนี้ ทำให้ชื่อ..."ประเทศไทย" ต้องถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ลุมพินีสถานมรดกโลก ได้รับอนุมัติแบบจากคณะกรรมการ มรดกโลก วันที่ 11 มกราคม 2554 ถือเป็นยุคที่สามที่ลุมพินีสถานได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์
 


 
 
พิธีวางศิลาฤกษ์และลงนาม MOU โครงการบูรณปฏิสังขรณ์.

 
แบบที่ว่า เริ่มตั้งแต่...สร้างทางเดินเท้ารอบวิหารมายาเทวี สร้างลานปฏิบัติ ธรรม 5 ลาน...หน้าเสาหินอโศก, ต้นมหาโพธิ์ และบริเวณใกล้เคียง สร้างอาคาร อเนกประสงค์ สร้างสวนปรับภูมิทัศน์รอบวิหารมายาเทวีและบริเวณสวนอันศักดิ์สิทธิ์ ให้สวยงามดุจดั่งเมื่อครั้งพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าประสูติ

งบก่อสร้างที่ใช้ประมาณการอยู่ที่ 60 ล้านบาท...คณะสะพานบุญขอบอกบุญผ่านไปถึงพุทธศาสนิกชนทั่วไทย ให้ได้มีโอกาสทำบุญร่วมกันทั้งประเทศ ทำกันคนละ 1 บาท... 10 บาท หรือทำเท่าที่มีกำลังรับไหว ร่วมกันสร้างชื่อประเทศไทยให้เป็นที่กล่าวขานจดจำ ใครจะทำมากทำน้อยติดต่อไปได้ที่ "มูลนิธิไทยพึ่งไทย"   โทรศัพท์0-2971-7575 โทรสาร 0-2971-6777 หรือที่เว็บไซต์ www.lumbinidevelopment.org
 
แอฟ-สงกรานต์ คู่รักแห่งปีร่วมวางอิฐบนแผ่นดินแห่งความรัก.

 
บรรยากาศค่ำคืนแห่งความรักในดินแดนแห่งความรัก รักที่แม่มีต่อลูก...สถานที่ประสูติพระพุทธเจ้า พระราชรัตนรังษี (วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล ให้ธรรมะท่ามกลางความสงบจากคณะสะพานบุญเกือบร้อยชีวิตที่ตั้งจิตนั่งสมาธิภาวนา เมื่อบวกกับอากาศที่หนาวเย็นต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส ก็ยิ่งทำให้บรรยากาศเงียบสงบยิ่งขึ้น

ท่านว่า..."การทำงานด้วยศรัทธา คนทำก็จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า โดยเฉพาะงานที่ไม่ได้ทำง่ายๆ การบูรณะสังเวชนียสถานที่เป็นมรดกโลกก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำ ที่ผ่านมาผู้ใหญ่หลายท่านถึงจะมีกำลังครบทุกด้านจะขอทำก็ได้รับคำปฏิเสธ"
 
เริ่มก่อสร้างทางเดินเท้ารอบวิหารมายาเทวี.

 
บุญใหญ่ครั้งนี้ สำหรับพุทธศาสนิกชนไทย ที่ ผ่านมาประเทศไทยมีเรื่องราวเกิดขึ้นในทางเร่าร้อนไม่ สงบงดงาม  การบูรณปฏิสังขรณ์แผ่นดินเกิดของพระพุทธเจ้า...แผ่นดินที่แม่ให้กำเนิดลูก ซึ่งเป็นแผ่นดินแห่งความรัก บุญใหญ่ครั้งนี้หวังอานิสงส์เกิดในบ้านเมืองไทยแผ่นดินแม่ของคนไทย และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคล 60 ปี ราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา

ได้ไปเยือนลุมพินีสถานครั้งหน้า..."สวนอันศักดิ์สิทธิ์"คงร่มรื่นย้อนอดีตสมัยพุทธกาล.
 
http://www.thairath.co.th/column/life/global/156971