ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มีนาคม 22, 2011, 11:35:11 pm »เย ราคารตฺตานุปตนฺติ โสตํ
สยํ กตํ มกฺกฏโกว ชาลํ
เอตมฺปิ เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา
อนเปกฺขิโน สพฺพทุกฺขํ ปหาย
จิตของบุคคลที่ถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปสู่กระแสแห่งตัณหา
เหมือนดังแมลงมุมตกไปที่ใยของตนทำเองฉันนั้น
ผู้มีปัญญาตัดกระแสแห่งตัณหานั้นแล้ว เป็นผู้ไม่ใยดี
ย่อมละเว้น จากทุกข์ทั้งปวง
นางเขมาได้ฟังภาษิตนี้แล้วได้บรรลุพระอรหันต์
โย จ วสฺสสตํ ชีเว อุปสฺสํ อุทฺทยพฺพยํ
บุคคลพึงมีชีวิตเป็นอยู่ได้ร้อยปี แต่ไม่เห็นความคิดเกิดขึ้น
และความดับไปของสังขาร ความมีชีวิตเป็นอยู่
เพียงวันเดียวของท่านผู้เห็นความเกิดขึ้นและดับไป
ของสังขาร ประเสริฐกว่า
นางปฏาจารา ได้ฟังภาษิตข้อนี้แล้วบรรลุพระอรหันต์
พาหิยะ สิ่งใดเธอได้เห็นเพียงสักว่าได้เห็น
สิ่งใดเธอได้ยินเพียงสักว่าได้ยิน
สิงใดเธอทราบเพียงสักว่าได้ทราบ
พาหิยะ ได้ฟังเท่านี้แล้วบรรลุพระอรหันต์
นี่ แหละท่านที่บรรลุพระอรหันต์ได้รวดเร็วนี้ล้วนแต่เป็นผู้มีบารมีอินทรีย์อัน แก่กล้า สมควรจะบรรลุพระอรหันต์ได้จึงจะได้บรรลุ ถ้าบารมีอินทรีย์อ่อนแล้วก็บรรลุไม่ได้ ต้องสร้างบารมีเพิ่มเติมต่อไปอีก และอบรมบ่มอินทรีย์ต่อไปจนกว่าจะสมควรแก่การบรรลุมรรคผล
ฉะนั้นผู้มุ่งหวังการบรรลุมรรคผลนิพพานต้องใช้วิริยะความเพียรบำเพ็ญไปเถิด ความสำเร็จต้องมีแน่นอน ความเพียรเป็นทั้งวิริยะบารมี ความเพียรเป็นทั้งองค์มรรค คือสัมมาวายาโม ความเพียรเป็นทั้งองค์อิทธิบาท ความเพียรเป็นทั้งพละ ความเพียรเป็นทั้งอินทรีย์ ความเพียรเป็นทั้งโพชฌงค์องค์ตรัสรู้
วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ บุคคลจะล่วงพ้นทุกข์ได้เพราะความเพียร ช้าหรือเร็วก็อยู่ในความเพียรนี้เอง ถ้าฉลาดในความเพียรก็อาจรวดเร็ว ถ้าไม่ฉลาดก็อาจช้าหน่อย ถ้าช้าก็มีทางเมื่อไม่ทอดทิ้งความเพียร พระพุทธเจ้าท่านรับรองเอาไว้แล้วในอิทธิบาทว่าเป็นเหตุแห่งความสำเร็จ หรือจะเพียรภาวนาพุทโธ พุทโธใจรู้ พุทโธรู้ใจ ทำให้มาก ใจรู้อะไร ใจรู้ทำอะไร เพียรพยายามภาวนาจนใจรู้จริง ใจรู้แจ้งละหลงออกจากใจได้ ใจหลุดพ้น วิสุทธิ สันติ นิพพาน ต้องรู้แจ้งเห็นจริงได้ภายในใจ
สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเอาไว้ดีแล้ว
พระองค์ตรัสเอาไว้ดีในเบื้องต้นได้แก่ศีล
ตรัสไว้ดีแล้วในท่ามกลางได้แก่สมาธิ
ตรัสไว้ดีแล้วในเบื้องปลายได้แก่ ปัญญา วิชชา วิมุตติ
สนฺทฏฐิโก ธรรมนั้นเป็นของผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นได้เอง
อกาลิโก ธรรมนั้นให้ผลไม่อ้างกาลเวลา
เอหิ ปสฺสิโก ธรรมนั้นเป็นของที่ควรจะเรียกร้องผู้อื่นให้มาดูได้ ว่าท่านจงมาดูเถิด
โอปนยิโก ธรรมนั้นเป็นของที่ควรจะน้อมนำมาในตน น้อมธรรมนั้นมาสอนใจ
ปจฺจตฺตํ เวทิตตฺโพ วิญฺญู หีติ ธรรมนั้นเป็นของควรที่จะรู้ได้เฉพาะตน รู้ได้เฉพาะใจดังนี้ฯ
บทธรรมสวากขาโต นี้เป็นธรรมเครื่องพิสูจน์ความจริงและเป็นธรรมเครื่องตัดสินได้ว่าดีจริง หรือไม่ดี เป็นของผู้ปฏิบัติรู้เห็นได้ด้วยใจตนเอง โดยไม่ต้องอ้างกาลเวลา ดูได้เลยที่กาย วาจา ใจ เป็นธรรมที่รู้ได้เฉพาะใจเสียด้วย จึงเป็นอันว่าไม่ต้องลังเลสงสัย จึงตัดสินกรรมคือการกระทำได้เฉพาะตนเองดังนี้ฯ
โยนิโส วิจิเน ธมฺเม พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
จนฺทวโร ภิกฺขุ หลวงพ่อบุญจันทร์
คัดลอกจากหนังสืออัตโนประวัติ พระอาจารย์บุญจันทร์ จนฺทวโร
http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=3085.0
นำมาแบ่งปันโดย.. baby@home
Pics by : Google
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ
จนฺทวโร ภิกฺขุ หลวงพ่อบุญจันทร์
คัดลอกจากหนังสืออัตโนประวัติ พระอาจารย์บุญจันทร์ จนฺทวโร
http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=3085.0
นำมาแบ่งปันโดย.. baby@home
Pics by : Google
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ