ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 27, 2011, 05:58:32 am »

 



นั่น - เป็นการพูดเชิงกระแนะกระแหนที่ผู้เขียนคิดเองพูดเอง แต่คิดว่าคงจะใกล้เคียงกับที่ท่านผู้อ่านหลายๆ คนที่กำลังคิดอยู่ว่า ระหว่างการเปลี่ยนแปลงหาดาวเคราะห์ใบใหม่มาแทนที่โลกใบเก่าของเรานี้ กับการเปลี่ยนนิสัยความเคยชินของมนุษย์ “ขอให้เหมือนเดิม” นั้น อันไหนจะง่ายกว่ากัน? นั่นคือ หลายๆ คนโดยเฉพาะคนที่คิดว่าธรรมชาติคงจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้อีกแล้ว และที่สำคัญกว่านั้นคือคิดว่ามนุษย์เรานั้นนิสัยความเคยชินอันเป็นบุคลิกภาพของมนุษย์นั้นจบแล้ว คนเหล่านี้อาจคิดตามนักวิจัย เช่น แอนดรูว์ นิวเบิร์ก ที่วิจัยพบว่า ภายหลังจากที่เซลล์สมองมันได้ตัดสินใจวางรากฐานของการเชื่อมโยงติดต่อกัน (wiring) เรียบร้อยแล้ว อย่างอื่น เช่นความแตกแยกของคนไทยเราที่แบ่งกันเป็นสีๆ ตามสีเสื้อที่ใส่นั้น ยากแสนยากที่จะพากันมาสามัคคีดังเดิมได้อีก เว้นเสียแต่ที่ผลงานการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้บอกเรา คือ หนึ่งเมื่อเราเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส และภาวะการเจ็บปวดนั้นต้องเป็นการเจ็บปวดร่วมโดยรวม (collective) เช่น ภัยธรรมชาติ เป็นต้นว่า แผ่นดินไหว สึนามิ หรือกรณี 2012 และ 2020 ดังที่ผู้เขียนเชื่อซึ่งแล้วแต่ว่าผู้อ่านจะเชื่อใคร? เชื่อชาวมายา อินเดียนแดง หรือพวกนิวเอจดี หรือว่าจะเชื่อนักวิทยาศาสตร์ใหญ่อย่างเจมส์ ลัฟล็อก และนักวิทยาศาสตร์บางคนขององค์การนาซาดี และคาร์ล ซี. จุง ก็ว่าบุคลิกคนเราเป็นอย่างนั้น นิสัยความเคยชินนั้น ยากแสนยากจะเปลี่ยนแปลง สู้หาดาวเคราะห์ใหม่มาแทนโลกจะง่ายกว่า!? เราต้องรู้ว่ายากแสนยากกับการไม่เปลี่ยนแปลงเลยนั้นไม่เหมือนกัน เคยได้ยินได้ฟังพระไตรลักษณ์และอนิจจตาของพุทธศาสนาบ้างไหม?

ทั้งนี้ก็เพราะคิดตามนิสัยความเคยชินของสาธารณชนในปัจจุบัน หรืออุปาทานการยึดติดติด “ถือมั่นยึดมั่น” กับตัวกูของกู นั่นคืออะไรๆ ที่เป็นธรรมชาติที่เป็นปกติธรรมดาหรือนอร์มของมนุษย์ที่ทุกๆ ชีวิตที่ “ต้องเป็นอย่างนั้น” ซึ่งไม่เป็นต่างหากที่ไม่ใช่นอร์ม เช่น ในแมมมอลเช่นหมา ในที่สุดจะมีอัตตาตัวตน (self) ที่แม้แต่ชีวิตก็ยอมสละได้ซึ่งไม่ใช่เป็นอหังการ มมังการ (ego) เลยซึ่งขึ้นอยู่กับสัญชาตญาณ แต่อุปาทานนั้นจะเหนือกว่าสัญชาตญาณเสียอีก แต่ทั้งนี้เราจะต้องรอคอยเวลาที่ยาวนานที่ต้องรอคอยให้เซลล์สมองวางรากฐานการเชื่อมโยงกัน (wiring) ให้แล้วเสร็จเสียก่อน นิสัยความเคยชินจึงขึ้นอยู่ที่การบริหารจิต “โดยสมองและที่สมอง” ตามที่ผู้เขียนได้พูดได้เขียนมาตลอดเวลา จริงๆ แล้วโดยส่วนตัวคิดว่า ผู้เขียนไม่เชื่อว่าเป็นการยากยิ่งนักที่ผู้ใดสามารถจะบรรลุอรหัตผลได้นิพพาน หรือสามารถดับขันธ์ได้ทั้งหมดหลังยุคแห่งปัญญา (axial period ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ 200 B.C. ถึงราวๆ 600 B.C.) เพราะว่าอัตตาตัวตน (self) ที่เชื่อว่าเข้ามาอยู่ในมนุษย์นั้นมาตั้งแต่เดิมคือ มาตั้งแต่มีชีวิตขึ้นมาในโลก แต่ทว่าอหังการ มมังการ (ego) นั้นจะมีวิวัฒนาการตามขึ้นมา (เฉพาะในมนุษย์เท่านั้น) ภายหลังซึ่งเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่มนุษย์โครมายอง สาเหตุที่ผู้เขียนไม่เชื่อหรือคิดว่าการได้นิพพานนั้นยากมหายากยิ่งนัก จนอาจเป็นไปไม่ได้ว่าจะมีอริยบุคคลใดสามารถบรรลุอรหัตผลและเสวยสุขทางจิต บรรลุนิพพานได้ภายในช่วงเวลา 400-500 นั้น (คือระหว่าง axial period) นั่นดับขันธ์ได้ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง สามารถได้ทั้งสองวิมุตติ คือได้ทั้งปัญญาวิมุตติและเจโตวิมุตติ (ตั้งมั่นยาวนานอยู่ในสมาธิ) “พร้อมๆ กัน” ก็เพราะทั้งขาดผู้ประคับประคองสนับสนุนอย่างหนึ่ง และยังขาดตัวอย่างอีกหนึ่ง จงอย่าลืมว่าคนที่จะเป็นพุทธะหรือพระพุทธเจ้าได้นั้นหายากหาเย็นยิ่งนัก ไม่ใช่ใครๆ ก็เป็นได้

และมนุษย์สามารถจะรู้แจ้งเห็นจริง คือได้วิมุตติทั้งสองอย่าง คือทั้งเจโตวิมุตติ (จิตที่ตั้งมั่นในสมาธิ) และทั้งปัญญาวิมุตติที่ขจัดอวิชชาได้ทั้งหมดหรือยิ่งกว่าเป็นจีเนียส (wisdom ที่ได้มาด้วย intelligence ไม่พอ จึงต้องต่อยอดด้วยเส้นทาง line ซึ่งก็คือปรีชาญาณหรือ intuition) อย่างมากก็อาจจะได้แค่โสดาบัน สกินาคา หรืออนาคามี ซึ่งเป็นรูปพรหมก่อนสุดท้ายตามสเปกตรัมของจิตชั้นสุดท้ายที่เป็นอรูปพรหม (อันประกอบด้วยสี่ระดับชั้นเหมือนๆ กันทั้งในทางพุทธศาสนาและทางวิทยาศาสตร์ทางจิตเรียก คือ ระดับที่ทางวิทยาศาสตร์เรียกว่าเป็นสภาวะทางจิตวิญญาณ (spirituality) หรือระดับ psychic subtle causal และ non-dual ซึ่งระดับสุดท้ายนั้นก็คือ ระดับเนวสัญญานาสัญญาในพุทธศาสนานั่นเอง และทั้งนี้ผู้เขียนเชื่อว่า อริสโตเติล, ไวต์เฮด, นีตเช่, ไอน์สไตน์, คาร์ล จุง หรือเค็น วิลเบอร์ ฯลฯ เหล่าจีเนียสทั้งหลายที่อาจจะได้ปัญญาวิมุตติแต่ก็ยังห่างไกลจากนิพพาน - ที่คือเป้าหมายสุดท้ายของพุทธศาสนา - ที่ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นการดับขันธ์ทั้งหมดเลย คือ ทั้งนาม รูปปัจเจกบุคคล และสังคมโดยรวม รวมทั้งมนุษย์และชีวิตทั้งมวลกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงทั่วทั้งโลกทั้งจักรวาลแห่งสังสารวัฏนี้ นั่นคือดับขันธ์ทั้งหมดจริงๆ ดับทั้งอัตตาตัวตนและอหังการ มมังการ (self and ego) ทั้งสองเลย เพราะฉะนั้นถึงได้ไม่มีการเกิดการตาย คงที่สถาพรอยู่นอกจักรวาลอันมีจำนวนไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ใช่มีเพียงจักรวาลแห่งนี้แห่งเดียวเป็นเอกจักรวาลอย่างที่เคยเชื่อๆ กัน

มนุษย์เรา เพราะเราชอบแต่สิ่งที่ง่ายๆ หรือสิ่งที่ไม่ซับซ้อนเท่าใดนักหรือผู้เขียนคิดว่าอาจจะเพราะความเป็นอัตตาตัวตน (self) ที่เข้ามาอยู่ในสิ่งที่เราเรียกว่า “ชีวิต” ตั้งแต่แรก และผู้เขียนคิดเอาเองว่า นั่นคือสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต หรือพูดง่ายๆ จิตไร้สำนึก “หลอกให้ชีวิตหลงจนกว่าชีวิตนั้นๆ จะได้มีวิวัฒนาการเป็นสัตว์ต่างๆ ตามขั้นตอนจนเป็นมนุษย์และมีวิวัฒนาการต่อไปจนผ่านพ้นความเป็นสัตว์ “โดยสิ้นเชิง” นั่นคือ เมื่อมนุษย์ได้มีวิวัฒนาการถึงสภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) ซึ่งเราที่เหลือไม่มากนักกำลังใกล้จะประสบเต็มทีในเร็วๆ นี้ ฉะนั้นเราถึงได้ไม่ชอบหรือทั้งเกลียดและกลัวสิ่งที่มองไม่เห็น พูดกันตามความจริงเราชอบแต่เฉพาะกลางวันและเรากลัวกลางคืนก็เพราะอย่างที่พูดนั่นแหละ ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์สมัยโบราณมาแล้ว เราถึงได้ชอบพระอาทิตย์และมีตำนานเล่าขานมาในทุกๆ วัฒนธรรมหรือทุกๆ อารยธรรมก็ว่าได้ พูดง่ายๆ คือพระอาทิตย์คือสิ่งที่เรายกย่องบูชาถือว่าเป็นพระเจ้ามาตั้งแต่ไหนแต่ไร แถมไฟหรือพระอัคนี “ผู้ขับไล่ความมืด” ยังพลอยเป็นพระเจ้าไปด้วย ส่วนพระจันทร์ทั้งๆ ที่เป็นผู้ขับไล่ความมืดแต่เพราะไม่มีแสงในตัวเองต้องอาศัยแสงของพระอาทิตย์เขาเลยถูกหาว่า “บ้า” (lunatic) ไป

มนุษย์เราไม่ใช่จะเปลี่ยนดาวเคราะห์โลกง่ายๆ แม้ว่าเพราะนิสัยความเคยชินซึ่งเกิดจาการเดินสายไฟ (wiring) ที่สมองอย่างว่า เพราะเหตุว่าอะไรๆ ที่เกี่ยวกับมนุษย์ล้วนจะต้องได้รับการยกเว้นเสมอ เว้นเสียแต่ “เราเบื่อ” ดาวเคราะห์โลกแล้วอย่างที่สุดซึ่งตอนนี้เราทั้งเบื่อทั้งเซ็ง และที่สำคัญมันแทบจะไม่มีอะไรหลงเหลือให้เราค้นพบอีก การผจญภัยของมนุษย์แทบว่าจะสิ้นสุดด้วยชาร์ลส์ ดาร์วิน และการค้นพบชีววิทยาที่ได้มาจากการสังเกตล้วนๆ เดี๋ยวนี้เราจึงรู้จักมันแทบจะทุกซอกทุกมุมแล้ว นั่น - หมายถึงระดับหรือขั้นตามที่เรามีวิวัฒนาการทางจิตมาตามสเปกตรัม มาถึงจิตในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ระดับตัวตนและเหตุผล (self egoic - rational) และก็เพราะเหตุผลอหังการนั่นเองเราถึงได้คิดแบบนี้และทำแบบนี้ นั่น - นอกเสียจากว่าเราน่าจะวิวัฒนาการไปสู่ระดับที่สูงกว่านี้ - ซึ่งขอย้ำว่าจะเกิดและต้องเกิดในเวลาที่เร็วมากๆ จากวันนี้-ตอนนี้ เราสุดแสนที่จะเบื่อและเซ็งโลกของเราอย่างที่สุด แต่เราก็ไม่รู้ว่าจะไปไหนหรือว่าจะเป็นดาวเคราะห์ดวงไหนดี? หรือกาแล็กซีอะไรดี? เพราะกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรานั้น จนป่านนี้ - กว่า 500 ปีแสงแล้ว - ยังไม่พบดาวเคราะห์ (exo - planet) นอกสุริยจักรวาลที่มนุษย์จะอาศัยอยู่ได้เลย ถึงว่าจะมีเราก็คงเตรียมตัวไม่ทันเพราะแม้บัดนี้เราก็สร้างยานอวกาศที่บรรทุกผู้โดยสารมากๆ ไม่ได้นอกจากในหนังในภาพยนตร์
เพราะฉะนั้น แม้เราจะเบื่อจะเซ็งดาวเคราะห์โลกดวงนี้อย่างไร? หรือเราจะมีนิสัยความเคยชินแค่ไหน? ก็ย่อมไม่มีทางที่มนุษย์จะละทิ้งดาวเคราะห์นามโลกดวงนี้พร้อมกับระบบสุริยจักรวาล และพระอาทิตย์กับ “เวลากลางวันที่มองเห็น” ซึ่งแทบว่าจะทุกศาสนา - โดยหลักการต่างล้วนบอกว่า (เช่นลัทธิพระเวทย์ ศาสนาฮินดู (ที่ก็มีพระเจ้าผู้สร้าง) ศาสนาพุทธ (ที่ไม่มีพระเจ้า)) "สร้างเวลากลางวันหรือแสงสว่างขึ้น และการที่ให้แสงสว่างหรือการให้มนุษย์มองเห็น” นี้เองที่ให้ “ความเป็นสอง” (dualism) ที่ไม่ใช่สัจธรรมความจริงที่แท้จริง คือเป็นความจริงทางโลกเพื่อให้สัตว์โลก รวมทั้งมนุษย์จะได้รับรู้และดำรง “อยู่ได้รอดปลอดภัย” บนโลกใบนี้ ตามที่ศาสนาคริสต์ที่บอกอย่างชัดเจนว่าพระเจ้าคือผู้สร้างโลกและสวรรค์ โดยสร้างโลก “ที่มนุษย์ไม่สามารถจะอาศัยได้เพราะว่าโลกในทีแรกไม่มีรูป ว่างเปล่า และมืดมิดยิ่งกว่ากลางคืน (ที่ไร้ทั้งแสงเดือนและแสงดาวหรือแสงอะไรทั้งสิ้น) ซึ่งในตอนแรกที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากความมืดมิด และน้ำที่มี “ความลึก” ประดุจถูกคลุมด้วยผ้านั้น พระเจ้าก็ได้พูดว่า “จงมีแสงสว่าง....” แสงสว่าง (กลางวัน) พร้อมทั้งพระอาทิตย์และพระจันทร์จึงมีขึ้น และนั่นเองที่ทำให้ผู้เขียนคิดว่าความเป็นสอง (dualism) ได้ถูกสร้างขึ้นในตอนนั้น ทำให้ความจริงมีสองความจริงคือเป็นความจริงทางโลก ทางสังคม “ที่มองเห็น” และความจริงที่แท้จริงหรือความจริงทางธรรม และผู้เขียนคิดว่าความอหังการ มมังการ “กูยิ่งใหญ่และเก่งเหลือเกิน” เลียนแบบและ “สู้” กับธรรมชาติจนกระทั่งท้าทายแม้ธรรมชาติไม่ว่ารู้ตัวหรือว่าอวิชชาด้วยเทคโนโลยีและเงิน

ผู้เขียนถึงได้เชื่อเหลือเกินว่า ไม่ว่าเราจะเบื่อหรือเซ็งดาวเคราะห์โลกดวงนี้สักเท่าไหร่ เราจะมีอหังการสักเท่าไหร่ เราก็ไม่มีทางจะทำอะไรกับธรรมชาติได้เลย สุดท้ายแล้วธรรมชาติก็ต้องชนะ จริงๆ แล้วมนุษย์เราคือธรรมชาติแต่เราหลงลืมไปจนคิดว่ามนุษย์ไมใช่ธรรมชาติ และเป็นอหังการ มมังการแท้ๆมนุษย์เราถึงได้เป็นอย่างนั้น ใครจะคิด-พูดว่าอย่างไร ผู้เขียนไม่รู้และไม่แคร์ และก็จะพูดจะเขียนไปเรื่อยๆ ว่าเราไม่มีทางเบื่อหรือเซ็งดาวเคราะห์นามโลกใบนี้ไปไม่ได้ และเราก็ไม่มีทางทีจะหนีหรือละทิ้งโลกนี้ไปได้ นอกจากนี้คงจะห้ามไม่ให้ผู้เขียนคิดและเขียนเรื่องปี 2012-13 และปี 2020 ไม่ได้ เพราะนี่เป็นโลกของเรา-ของผู้เขียนด้วย - และเราจะต้องมีวิวัฒนาการทั้งทางกายและทางจิตจนแล้วเสร็จจบสิ้น มันจึงสุดแล้วแต่กรรมร่วมของมนุษยชาติโดยรวมเท่านั้น.


http://www.thaipost.net/sunday/270311/36258