ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มีนาคม 27, 2011, 08:53:03 am »

จุฬาฯเปิดให้ชม!บัตรพระนามในหลวงรัชกาลที่4อายุ150ปี


บัตรพระนามใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 150 ปีแห่ง เอกสารอันทรงคุณค่าของไทย
ในปีพ.ศ. 2408 รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตไทยเดินทางไป เข้าเฝ้าพระเจ้าโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส พร้อมนำพระราชสาสน์ และเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศทั้งสอง



.



ขณะที่คณะราชทูต พำนักอยู่ ณ กรุงปารีสการเข้าพบของ “ขุนสุนทรสาทิสลักษณ์” หรือนามเดิมว่า นายเรอเน พรูเดน ดากรอง ช่างภาพประจำราชสำนักฝรั่งเศส เข้าพบ และนำไปสู่จุดกำเนิด ผลงานพระฉายาลักษณ์ที่นายดากรองจัดทำถวาย รูปถ่าย พระฉายาลักษณ์ของพระองค์ ในชุดฉลองพระองค์แบบต่าง ๆ พระฉายาลักษณ์พระราชโอรส พระราชธิดา
กาลเวลาผ่านไป บางส่วนของประวัติศาสตร์ถูกเก็บไว้กับ “ตระกูลดากอง” จนกระทั่ง จอร์จ ดากอง ชาวฝรั่งเศส ทายาทของนาย รุ่นที่ 3 ของ ขุนสุนทรสาทิสลักษณ์ เปิดกล่องสมบัติของครอบครัว ภายในนั้น พบซองกระดาษสีน้ำตาล ซึ่ง บรรจุบัตรพระนาม และพระราชหัตถเลขา ในรัชกาลที่ 4 รวม 40 ฉบับใน ทั้งหมดเป็น เอกสารอายุกว่า 150 ปี นี้
จนถึงวันนี้ ตระกูลดากอง ตัดสินใจมอบเอกสารทั้งหมด ให้ประเทศไทยเพราะคิดว่าจะมีคุณค่ามากที่จะอยู่ในประเทศบ้านเกิด เตรียมทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไว้เป็นสมบัติชาติ
ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลป์ยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการประสานงาน ในการมอบบัตรพระนามและพระราชหัตถเลขา หรือเอกสารที่เขียนด้วยลายพระหัตถ์ต้นฉบับ ในรัชกาล ที่ 4 ให้พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีเจ้าของบัตรพระนาม ร.4 อายุกว่า 150 ปีเตรียมนำทูลเกล้าฯถวายเป็นสมบัติชาติไทย


.



ด้าน ดร. อรัญ หาญสืบสาย หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เล่าว่า หลักฐานที่ค้นพบเป็นสิ่งที่ยืนยันชิ้นส่วนประวัติศาสตร์ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ ริเริ่มให้มีการพิมพ์หนังสือ โดยขณะที่ยังผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเล็งเห็นประโยชน์ของการพิมพ์ ในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2385 ทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในวัด บวรนิเวศวิหาร มีแท่นพิมพ์ 1 แท่น ตัวพิมพ์อักษรโรมันหลายแบบ แม่ทองแดงหล่อตัวพิมพ์และเบ้าหล่อตัวพิมพ์ นอกจากนี้พระองค์ทรงสร้างตัวอักษรขึ้นชุดหนึ่งคือ ตัวอักษรอริยกะ สิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นภาษาบาลี หลังจากพระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติแล้ว ในปีพ.ศ. 2401 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพิมพ์ในบริเวณพระราชวัง เป็นอาคารสองชั้น พระราชทานชื่อว่า โรงพิมพ์อักษรพิมพการ พิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นหนังสือทางราชการฉบับแรก ที่เผยแพร่ข่าวของพระราชสำนักและความประกาศของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ระบบพิมพ์ที่ใช้มีทั้งระบบพิมพ์หิน (lithography) และระบบตัวเรียง (letterpress)
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ 40 ชิ้นที่ได้รับมานี้ ที่เป็นของในพระองค์ ประกอบด้วยลายพระหัตถ์ สิ่งพิมพ์ และพระบรมฉายาลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ และในส่วนของบัตรพระนามจะประกอบด้วย 2 ชุดคือ พิมพ์ด้วยทองคำแท้ และพิมพ์ด้วยสี 3 สีคือ เงิน ฟ้า แดง รวมถึงเอกสารอีก 1 ชิ้นซึ่งเป็นการแจ้งข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ระบุว่าสวรรคตเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2411 โดยเอกสารทั้งหมด ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก
ทั้งนี้ เอกสารทั้งหมดจะเปิดให้ประชาชนได้ชมตั้งแต่ 28 มี.ค.-8 เม.ย. ที่พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพฯ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
.

โพสต์ทูเดย์ ธรรมะ-จิตใจ : จุฬาฯเปิดให้ชม!บัตรพระนามในหลวงรัชกาลที่4อายุ150ปี

http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E...B8%9B%E0%B8%B5

http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0-%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88/%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C/80451/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%AF%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%A1-%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%884%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8150%E0%B8%9B%E0%B8%B5
.