ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: มีนาคม 31, 2011, 11:57:15 pm »

ภัยธรรมชาติเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวัน   :yoyo029: น่ากลัวจริงๆเลยค่ะ
ถึงคราวเราต้องร่วมมือร่วมใจกัน คืนความสุขให้กับธรรมชาติกันดีกว่านะค่ะ
รักษ์โลกแล้วโลกจะรักเรานะ นะ


ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มีนาคม 31, 2011, 05:27:12 am »

ใครบางคนเขียนลงในทวิตเตอร์วันก่อนว่า “กรุงเทพฯ ครึ้มอย่างนี้ เคยเห็น แต่ครึ้มและหนาวอย่างนี้ ไม่เคยเห็น...”

อีกคนเขียนเสริมว่า “...และเป็นปลายมีนาฯ แบบนี้ ไม่เคยเห็นแน่ๆ...”

 อีกคนหนึ่งเขียนทวีตว่า “หน้าร้อนนี้หนาวทั้งวี่ทั้งวัน...”

 ทวีตอีกข้อความหนึ่งอ่านได้ความว่า “ถ้าสงกรานต์อากาศเย็นแบบนี้ คนไทยเตรียมทำพินัยกรรมได้เลย...”

 ต่อท้ายด้วยความเห็นของเพื่อนอีกคนว่า “ถ้ามันหนาว ยังจะเล่นสงกรานต์กันอีกหรือ?”

 ก่อนนี้ คนไทยสักกี่คนจะเชื่อว่าอากาศจะ “หนาว” ในวันสงกรานต์?

 ไม่ต้องสงสัยว่าข้อความในทวิตเตอร์จากคนใต้ในช่วงวันสองวันที่ผ่านมา บอกกล่าวความน่ากลัวของธรรมชาติที่แปรปรวนปรากฏการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมและพายุแรงอาจไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่

 แต่ที่ทั้งสามอย่างนี้รวมตัวกันแสดงอิทธิฤทธิ์ไปทั่วทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้นั้นไม่เคยมีให้เห็นเช่นกัน

 นักข่าวถามไถ่ชาวบ้านที่โดนน้ำท่วมหนักหน่วงไม่ว่าจะเป็นที่นครศรีธรรมราช หรือสุราษฎร์ธานี ก็ได้รับคำตอบละม้ายกันว่า “อย่างนี้ไม่ค่อยได้เคยเห็นเหมือนกัน...”

 ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลของ “ภาวะโลกร้อน” (global warming) หรือไม่ แต่สิ่งที่เราประสบพบเห็นในระยะหลัง ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง ภัยหนาว แผ่นดินไหว และสึนามิ ที่ตามมาด้วยอุบัติภัยโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นย่อมจะเป็นการยืนยันสำหรับคนไทยแล้วว่า...

 ต่อแต่นี้ไปคนไทยจะไม่มองเรื่องลมฟ้าอากาศและภัยธรรมชาติเป็นเรื่อง “ไกลตัว” อีกต่อไป

 และจะเป็นครั้งแรกที่คนไทยจะไม่เห็นเรื่องคำเตือนภัย อันเกิดจากความวิปริตของสภาพอากาศ และความแปรปรวนของเรื่องที่ “ไม่เกี่ยวกับฉัน” อีกต่อไปเช่นกัน

 เพราะจากนี้ไปจะไม่มีใครปลอดจากอันตรายที่มากับความผิดเพี้ยนของธรรมชาติอีก

 แผ่นดินไหวในพม่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ตามมาด้วยการสั่นไหวของแผ่นดินในไทยด้วย มิใช่เป็นแค่ after shocks จากพม่า...ยิ่งทำให้คนไทยได้สำเหนียกว่าเรามิได้เป็น “ข้อยกเว้น” ของอันตรายอันเกิดจากความผันผวนของปรากฏการณ์ธรรมชาติอีกต่อไป

 กรณีญี่ปุ่นสอนให้เรารู้ว่า แม้ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีประสบการณ์ของการตั้งรับกับแผ่นดินไหว และภัยพิบัติธรรมชาติมาหลายร้อยปี ก็ยังต้องช็อกกับความรุนแรงของธรรมชาติที่เริ่มด้วยแผ่นดินไหวระดับ 9 ริกเตอร์ ซึ่งหนักหน่วงที่สุดในหลายสิบปี ตามมาด้วยสึนามิที่ยืนยันภายหลังว่าทำให้เกิดคลื่นสูงถึง 13 เมตร และซ้ำร้ายยังกระเทือนถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จนกลายเป็นวิกฤติไปทั้งสังคมโลก

 ใครจะเชื่อว่าญี่ปุ่นที่สร้างความร่ำรวย จากความพินาศของสงครามโลกครั้งที่สอง จนกลายเป็นเศรษฐกิจอันดับสองของโลก (เพิ่งถูกจีนแซงหน้าไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน) วันนี้จะต้องขอความช่วยเหลือจากประเทศที่ด้อยพัฒนากว่า ที่เคยรับเงินทองและความช่วยเหลือจากเขามาก่อน?

 ใครจะเชื่อว่าวันนี้มีคำถามว่า “ญี่ปุ่นจะสามารถฟื้นจากความร้ายแรงครั้งนี้กลับมาสู่ภาวะปกติได้อีกหรือไม่? และถ้าได้ จะต้องใช้เวลาอีกกี่ปี?”

 คนไทยไม่เคยรู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจกับความแปรปรวนของธรรมชาติ เพราะไม่เคยมีผลทางด้านลบมากมายนัก...หากจะเกิดก็เป็นเรื่องนานๆ ครั้ง และแต่ละครั้งก็ไม่หนักหนาสาหัสเท่ากับประเทศอื่นที่สภาพภูมิศาสตร์ทำให้ต้องรับผลด้านนี้มากกว่าไทย

 วันนี้ ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในสภาพจะอ้าง “สิทธิพิเศษ” จากธรรมชาติได้อีกต่อไปแล้ว

 ถึงขั้นที่เรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งเป็นเรือรบใหญ่ที่สุดของประเทศต้องออกมาทำหน้าที่ช่วยกู้ภัยเช่นนี้ย่อมผิดจากการคาดการณ์ใดๆ ที่เคยเชื่อกันมาก่อน

 ทั้งหมดนี้ย่อมแปลว่านโยบายทั้งระดับชาติจนถึงเด็กระดับประถมจะต้องปรับตัวให้เป็นสมาชิกของสังคมที่ต้องตื่นตัวกับภัยพิบัติทุกรูปแบบ จะต้องมีคณะกรรมการป้องกันและรับมือภัยพิบัติระดับชาติที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันสร้างกลไกให้พร้อมเพรียง

 ความตื่นตัวของประชาชนทุกบ้านช่องเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากภัยธรรมชาติจะต้องเป็นนโยบายระดับต้นๆ ของทุกรัฐบาล และทุกคำเตือนจะต้องได้รับความสนใจทุกบ้านช่อง

 ต่อไปนี้ เราจะต้องไม่เห็นภาพผู้คนยังเล่นน้ำทะเล ขณะที่มีธงแดงเตือนภัยปักอยู่ต่อหน้าต่อตา

 วลี “ไม่เป็นไร ฉันไม่เกี่ยว” จะต้องถูกปลดทิ้งไปจากวิถีชีวิตของคนไทยตลอดไป


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20110331/384597/คนไทยต้องปรับวิถีชีวิต-รับภัยธรรมชาติทุกรูปแบบ.html