ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 02, 2011, 09:39:24 am »เบื้องหลังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชื่อดัง
เรา มักมีความเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพนั้นมี ประโยชน์ต่อร่างกายเราแท้ที่จริงแล้วเป็นอย่างนั้นแน่หรือ กินแล้วมีประโยชน์จริงหรือ กินแล้วช่วยบำรุงสุขภาพได้จริงหรือไม่ ยังคงเป็นปัญหาที่นักวิชาการหลายท่านก็ยังไม่สามารถที่จะให้คำตอบและยืนยัน ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ
นอก จากเราไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพเหล่านี้มีประโยชน์ หรือไม่อย่างไรแล้ว เรากลับพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้กลับพกพาเอาโทษที่ร้าย แรงตามมาหากมีการใช้ที่ไม่ถูกต้องด้วย ผลิตภัณฑ์ที่เราอาจเรียกได้ว่ามีปัญหานั้นก็มีอยู่ หลายตัว ปัญหาในที่นี้อาจก่อเกิดมาจากตัวของสารสกัดในตัวผลิตภัณฑ์ก็ดี หรือจะเป็น ปัญหาที่เกิดจากตัวผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ก็นับว่าส่งผลเสียทั้งนั้น ต่อไปนี้ จะขอเสนอผลิตภัณฑ์ที่ยังมีปัญหาและควรระมัดระวังในการบริโภค
แป๊ะก๊วย
แป๊ะก๊วย คืออะไร แป๊ะก๊วยคือไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออก เฉียงใต้ของจีน ได้มีการนำแป๊ะก๊วยมาใช้ในทางการยา ในตำราของจีน ใช้เป็นยาชง ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคหืด โรคปอด และโรคหัวใจ ในปัจจุบันมีการผลิตในรูปแบบของ สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย เพื่อช่วยในการรักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน และ แสดงอาการความเสื่อมของสมอง โดยใช้สารสกัดนี้ช่วยในการบรรเทาอาการดังกล่าว
การ โฆษณาเกี่ยวกับสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยว่า ช่วยในการป้องกันหรือรักษาโรค สมองเสื่อมทำให้มีคำถามขึ้นมาว่า ช่วยได้จริงหรือเพราะว่า หลายคนที่กินก็ไม่สามารถ บอกได้ว่าความจำดีขึ้นหรือไม่
แป๊ะก๊วย มีการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไว้ 3 แบบ ได้แก่ ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณ และขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร
ทะเบียนยาแผนปัจจุบัน มีขนาดความแรงของสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย 40 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 3-4 เม็ด โดยมีข้อบ่งใช้คือ
1. โรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
2. การไหลเวียนของเลือดส่วนขอบผิดปกติ รวมทั้งโรคของเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
3. การไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ
ทะเบียนยาแผนโบราณ ขึ้นทะเบียนในลักษณะผสมกับสมุนไพรตัวอื่นๆ มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ยาแผนโบราณเหล่านี้อนุญาตให้แสดงสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกายเท่านั้น
การ ขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร อนุญาตเฉพาะที่มีขนาดรับประทานไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม โดยมากที่มาขออนุญาต จะมีขนาดของสารสกัด 50 มิลลิกรัม หากขออนุญาตเป็นอาหารจะไม่อนุญาตให้แสดงสรรพคุณในลักษณะที่เป็นยา
สารออกฤทธิ์ในใบแป๊ะก๊วย
จากการนำใบแป๊ะก๊วยมาสกัดหาสารออกฤทธิ์สำคัญ สารที่ได้จากการสกัดเป็น สาร Terpene lactone ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด เช่น
1. Flavoneglycosides
2. Ginkgolidi
3. Bilobalide
4. Proanthocyanides
5. Carboxillic acid
6. Catechines
7. อื่นๆ
(ข้อ สังเกต ใบแป๊ะก๊วยที่ปลูกต่างที่กันจะมีสารออกฤทธิ์ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เพาะปลูก เช่น เรื่องธาตุอาหารในดิน สภาพอากาศ ฯลฯ)
สาร ในลำดับที่ 1-3 หากอยู่ร่วมกันจะมีผลในเรื่องการรักษา แต่หากแยกกันพบว่า ไม่มีผลในด้านการรักษา สารละลายที่ใช้ในการสกัดใบแป๊ะก๊วยนั้นประกอบด้วยน้ำและ สารละลายไขมัน ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ได้สารละลายในลำดับที่ 1-3 จำนวนมาก ดังนั้นผู้ผลิตจึงมีการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้สารละลายที่เหมาะสม ปัญหาคือผลิตภัณฑ์ที่มี จำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันมีความหลากหลายในคุณภาพของวัตถุดิบและกระบวนการ ผลิตทำให้คุณภาพน่าเป็นห่วง
ข้อ ควรระวัง สารสกัด Ginkgolidi นั้นพบว่ามีผลต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้น สารสกัดใบแป๊ะก๊วยจึงมีข้อห้ามใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) และสารสกัดบางตัวมีผลต้านฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ซึ่งเชื่อกันว่าสารอนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุของความชราและความเจ็บป่วย
สารสกัดใบแป๊ะก๊วยที่ทำในรูปยา จะสกัดส่วนที่เป็นพิษซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ คือ anacardic acid และ ginkolic acid ให้ต่ำกว่า 5 ppm
ดังนั้นสารสำคัญใบแป๊ะก๊วยในรูปยา จึงมักใช้สัญลักษณ์ EGb 761
จากการศึกษาทางคลินิกและจากการรายงานการใช้ยานี้พบว่า มีผู้ป่วยจำนวนมาก มีอาการอันไม่พึงประสงค์ เช่น เกิดอาการปั่นป่วนในทางเดินอาหาร ปวดศีรษะ มึนงง มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ผื่นแพ้ ง่วงซึม ความผิดปกติของระบบ ประสาท และการนอนหลับผิดปกติ
สำหรับ สรรพคุณอื่น ๆ ที่มีการกล่าวอ้าง เช่น รักษาโรคความจำเสื่อม สมองฝ่อ และการใช้สารแป๊ะก๊วย ในลักษณะที่เป็นใบในการชงกินแบบชา เพื่อช่วยในการบำรุงความจำหรือช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมนั้นพบว่าไม่มีผล อะไร จึงเข้าข่ายในการหลอกลวง ผู้บริโภคได้ เนื่องจากการสกัดใบแป๊ะก๊วยนั้น ต้องใช้สารละลายทางเคมี ดังที่กล่าวมา แล้วข้างต้น
ดังนั้นการที่นำมาตากแดดแล้วนำไปชงกินจึงได้เพียงกลิ่นและรสเท่านั้น
สรุปว่า การกินสารสกัดใบแป๊ะก๊วย ควรต้องคำนึงถึงขนาดที่จะใช้ต่อวัน ระยะ เวลาที่ต้องกินเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ต้องไม่นาน คือประมาณ 2 - 3 เดือน เพื่อ ป้องกันการเกิดผลข้างเคียงข้างต้น อีกทั้งสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยยังมีราคาค่อนข้าง แพงอีกด้วย จึงควรพิจารณาถึงความจำเป็นในการที่จะซื้อมากินด้วยว่ามันคุ้มกัน หรือไม่อย่างไร
Foundation for Consumers
http://www.consumerthai.org/old/behind_pro/notes/B2/b2-1.html
.
เรา มักมีความเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพนั้นมี ประโยชน์ต่อร่างกายเราแท้ที่จริงแล้วเป็นอย่างนั้นแน่หรือ กินแล้วมีประโยชน์จริงหรือ กินแล้วช่วยบำรุงสุขภาพได้จริงหรือไม่ ยังคงเป็นปัญหาที่นักวิชาการหลายท่านก็ยังไม่สามารถที่จะให้คำตอบและยืนยัน ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ
นอก จากเราไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่าผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพเหล่านี้มีประโยชน์ หรือไม่อย่างไรแล้ว เรากลับพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้กลับพกพาเอาโทษที่ร้าย แรงตามมาหากมีการใช้ที่ไม่ถูกต้องด้วย ผลิตภัณฑ์ที่เราอาจเรียกได้ว่ามีปัญหานั้นก็มีอยู่ หลายตัว ปัญหาในที่นี้อาจก่อเกิดมาจากตัวของสารสกัดในตัวผลิตภัณฑ์ก็ดี หรือจะเป็น ปัญหาที่เกิดจากตัวผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ก็นับว่าส่งผลเสียทั้งนั้น ต่อไปนี้ จะขอเสนอผลิตภัณฑ์ที่ยังมีปัญหาและควรระมัดระวังในการบริโภค
แป๊ะก๊วย
แป๊ะก๊วย คืออะไร แป๊ะก๊วยคือไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันออก เฉียงใต้ของจีน ได้มีการนำแป๊ะก๊วยมาใช้ในทางการยา ในตำราของจีน ใช้เป็นยาชง ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคหืด โรคปอด และโรคหัวใจ ในปัจจุบันมีการผลิตในรูปแบบของ สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย เพื่อช่วยในการรักษาโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน และ แสดงอาการความเสื่อมของสมอง โดยใช้สารสกัดนี้ช่วยในการบรรเทาอาการดังกล่าว
การ โฆษณาเกี่ยวกับสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยว่า ช่วยในการป้องกันหรือรักษาโรค สมองเสื่อมทำให้มีคำถามขึ้นมาว่า ช่วยได้จริงหรือเพราะว่า หลายคนที่กินก็ไม่สามารถ บอกได้ว่าความจำดีขึ้นหรือไม่
แป๊ะก๊วย มีการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไว้ 3 แบบ ได้แก่ ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนปัจจุบัน ขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณ และขึ้นทะเบียนเป็นอาหาร
ทะเบียนยาแผนปัจจุบัน มีขนาดความแรงของสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย 40 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 3-4 เม็ด โดยมีข้อบ่งใช้คือ
1. โรคเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
2. การไหลเวียนของเลือดส่วนขอบผิดปกติ รวมทั้งโรคของเลือดในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
3. การไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังผิดปกติ
ทะเบียนยาแผนโบราณ ขึ้นทะเบียนในลักษณะผสมกับสมุนไพรตัวอื่นๆ มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ยาแผนโบราณเหล่านี้อนุญาตให้แสดงสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกายเท่านั้น
การ ขออนุญาตใช้ฉลากอาหาร อนุญาตเฉพาะที่มีขนาดรับประทานไม่เกินวันละ 120 มิลลิกรัม โดยมากที่มาขออนุญาต จะมีขนาดของสารสกัด 50 มิลลิกรัม หากขออนุญาตเป็นอาหารจะไม่อนุญาตให้แสดงสรรพคุณในลักษณะที่เป็นยา
สารออกฤทธิ์ในใบแป๊ะก๊วย
จากการนำใบแป๊ะก๊วยมาสกัดหาสารออกฤทธิ์สำคัญ สารที่ได้จากการสกัดเป็น สาร Terpene lactone ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด เช่น
1. Flavoneglycosides
2. Ginkgolidi
3. Bilobalide
4. Proanthocyanides
5. Carboxillic acid
6. Catechines
7. อื่นๆ
(ข้อ สังเกต ใบแป๊ะก๊วยที่ปลูกต่างที่กันจะมีสารออกฤทธิ์ไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เพาะปลูก เช่น เรื่องธาตุอาหารในดิน สภาพอากาศ ฯลฯ)
สาร ในลำดับที่ 1-3 หากอยู่ร่วมกันจะมีผลในเรื่องการรักษา แต่หากแยกกันพบว่า ไม่มีผลในด้านการรักษา สารละลายที่ใช้ในการสกัดใบแป๊ะก๊วยนั้นประกอบด้วยน้ำและ สารละลายไขมัน ซึ่งมีส่วนสำคัญที่จะทำให้ได้สารละลายในลำดับที่ 1-3 จำนวนมาก ดังนั้นผู้ผลิตจึงมีการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้สารละลายที่เหมาะสม ปัญหาคือผลิตภัณฑ์ที่มี จำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบันมีความหลากหลายในคุณภาพของวัตถุดิบและกระบวนการ ผลิตทำให้คุณภาพน่าเป็นห่วง
ข้อ ควรระวัง สารสกัด Ginkgolidi นั้นพบว่ามีผลต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้น สารสกัดใบแป๊ะก๊วยจึงมีข้อห้ามใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) และสารสกัดบางตัวมีผลต้านฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ซึ่งเชื่อกันว่าสารอนุมูลอิสระเป็นต้นเหตุของความชราและความเจ็บป่วย
สารสกัดใบแป๊ะก๊วยที่ทำในรูปยา จะสกัดส่วนที่เป็นพิษซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ คือ anacardic acid และ ginkolic acid ให้ต่ำกว่า 5 ppm
ดังนั้นสารสำคัญใบแป๊ะก๊วยในรูปยา จึงมักใช้สัญลักษณ์ EGb 761
จากการศึกษาทางคลินิกและจากการรายงานการใช้ยานี้พบว่า มีผู้ป่วยจำนวนมาก มีอาการอันไม่พึงประสงค์ เช่น เกิดอาการปั่นป่วนในทางเดินอาหาร ปวดศีรษะ มึนงง มีความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด ผื่นแพ้ ง่วงซึม ความผิดปกติของระบบ ประสาท และการนอนหลับผิดปกติ
สำหรับ สรรพคุณอื่น ๆ ที่มีการกล่าวอ้าง เช่น รักษาโรคความจำเสื่อม สมองฝ่อ และการใช้สารแป๊ะก๊วย ในลักษณะที่เป็นใบในการชงกินแบบชา เพื่อช่วยในการบำรุงความจำหรือช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมนั้นพบว่าไม่มีผล อะไร จึงเข้าข่ายในการหลอกลวง ผู้บริโภคได้ เนื่องจากการสกัดใบแป๊ะก๊วยนั้น ต้องใช้สารละลายทางเคมี ดังที่กล่าวมา แล้วข้างต้น
ดังนั้นการที่นำมาตากแดดแล้วนำไปชงกินจึงได้เพียงกลิ่นและรสเท่านั้น
สรุปว่า การกินสารสกัดใบแป๊ะก๊วย ควรต้องคำนึงถึงขนาดที่จะใช้ต่อวัน ระยะ เวลาที่ต้องกินเพื่อรักษาอาการต่าง ๆ ต้องไม่นาน คือประมาณ 2 - 3 เดือน เพื่อ ป้องกันการเกิดผลข้างเคียงข้างต้น อีกทั้งสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยยังมีราคาค่อนข้าง แพงอีกด้วย จึงควรพิจารณาถึงความจำเป็นในการที่จะซื้อมากินด้วยว่ามันคุ้มกัน หรือไม่อย่างไร
Foundation for Consumers
http://www.consumerthai.org/old/behind_pro/notes/B2/b2-1.html
.