ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: เมษายน 02, 2011, 10:17:20 pm »

 :46:อนุโมทนา ขอบคุณนะค่ะพี่แทน
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 24, 2011, 10:12:39 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่แทน ขอบคุณครับผม
ข้อความโดย: แปดคิว
« เมื่อ: มกราคม 24, 2011, 06:53:56 pm »

จะปรารถนาสารพัดในปัฐพี เอาไมตรีแลกได้ดั่งใจจง" ข้าพเจ้าชอบภาษิตนี้มาก แม้จะเป็นข้อความสั้น ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้งเป็นคติจับใจนัก

         จริงอยู่ โดยทั่วไป ๆ เงินทองเป็นของที่สามารถใช้แลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ได้ตามต้องการ ถึงกับบางท่านได้แต่งภาษิตรับรองไว้ว่า "มีเงินมีทองเจรจาได้ มีไม้มีไร่ปลูกเรือนงาม" หรือว่า มีเงินหรือจะไร้อะไรกับของ มีทองจะไร้อะไรกับแหวน" แต่ท่านลองคิดดูเถิด สิ่งของที่ได้มาจากเงินทองกับสิ่งของที่ได้มาจากไมตรีจิตมีคุณค่าต่างกันมาก

          คนเราลงได้มีไมตรีจิตต่อกันแล้ว จะต้องการอะไรก็หาให้ได้ สิ่งที่ยากก็กลับเป็นง่าย เรื่องที่ใหญ่ก็กลับเป็นเล็ก ทุกอย่างดีหมด อย่างที่เขาว่า "รักกันก็สารพันว่าดี แต่พอเกลียดกันเข้าซี อัปรีย์สารพัน"

          มีเรื่องเล่ากันมาว่า ครั้งสมัยแผ่นดินพระจุลจอมเกล้าฯ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งพร้อมด้วยเพื่อนอีกสองคน เข้าไปยิงสัตว์ในป่าเกิดหลงทางกลับไม่ได้ เดินวกไปเวียนมาเกือบ ๆ จะมืดอยู่แล้วบังเอิงพบบ้านเข้าหลังหนึ่ง ต่างดีใจรีบพากันแวะเข้าไป เจ้าของบ้านผู้อารีก็กุลีกุจอจัดแจงต้อนรับขับสู้ด้วยไมตรีจิตเรียกลูกชายให้ไปตักน้ำให้อาบ เรียกเมียมาหุงหาอาหาร ให้รับประทานพร้อมทั้งจัดที่นอนให้เสร็จ

          อาคันตุกะทั้ง ๓ รู้สึกซาบซึ้งในไมตรีจิตเป็นที่ยิ่ง ไม่นึกเลยว่าชาวป่าจะมีน้ำใจดีเช่นนี้ นี่แหละเข้าหลักที่ว่าข้างนอกขรุขระแต่ข้างในสะสวยซึ่งดีกว่าชาวเมืองบางคนที่ข้างนอกสุกใส แต่ข้างในไม่ได้เรื่อง
          ตอนนี้หัวหน้าอาคันตุกะเอ่ยขึ้นว่า ลุงต้องการให้ฉันช่วยเหลืออะไรบ้างบอกมาเถิดไม่ต้องเกรงใจ
          "อย่างอื่นก็ไม่ต้องการอะไรดอก" เจ้าของบ้านตอบ "อยากจะให้เจ้าลูกชายเขาได้เข้าไปอยู่กรุงเทพฯ เท่านั้นแหละ เขาว่าเจริญดีจริง ๆ ฉ้นเองเกิดมาจนป่านนี้เกือบ ๆ จะเข้าโลงอยู่แล้ว ยังไม่เคยเห็นกรุงเทพฯ เลย" พูดพร้อมกับหัวเราะ
           ดีทีเดียวฉันก็อยู่กรุงเทพ ฯ เหมือนกัน ถ้าลุงไม่ขัดข้องฉันจะพาไปอยู่ด้วย แล้วจะพาไปอยู่ด้วย แล้วจะชุบเลี้ยงให้เต็มที่ลุงไม่ต้องห่วง แล้วก็หยิบนามบัตรมอบให้ไว้หนึ่งแผ่น
          เด็กคนนี้แหละ ต่อมาได้เป็นข้าราชการชั้นสูงในกระทรวงแห่งหนึ่งและมีหลักฐานมั่นคงอยู่ในกรุงเทพฯ อบอุ่นอยู่ในอ้อมอกของพ่อแม่ ซึ่งท่านได้รับเลี้ยงไว้ด้วย

          นี่คือผลของไมตรีจิต ที่ชาวป่าทำไว้ครั้งกระโน้น ซึ่งพอดีมาตรงกับภาษิตที่ว่า "อันบุญกรรมทำไว้แต่ปางหลัง เป็นพืชยังปางนี้ให้มีผล" ชาวพุทธทั้งหลาย จงร่วมใจกันแผ่ไมตรีจิตอย่าได้คิดโกรธเกลียดและริษยาพยาบาทซึ่งกันและกันเลย

          ชาวโลกจะได้อยู่กันด้วยความผาสุก เพราะโลกร่มเย็นดับเข็ญได้ด้วยไมตรีโปรดภาวนาไว้เสนอว่า "จะปรารถนาสารพัดในปัฐพีเอาไมตรีแลกได้ดังใจจง"
http://www.dhammathai.org/dhammastory/story53.php