ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: เมษายน 04, 2011, 08:41:45 am »


ประโยชน์หลากหลายของโซเชียลมีเดีย หรือสื่อเครือข่ายสังคม ที่ใช้กันแพร่หลายในยุคนี้ เป็นสื่อชั้นดีเพื่อการประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมทางการตลาด ที่จะให้ผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพยิ่ง

สุดสัปดาห์ก่อน ชีพธรรม คำวิเศษณ์ < http://twitter.com/tri333 > นักเขียน นักจัดรายการวิทยุและที่ปรึกษาธุรกิจอีบิสเนส ได้จัดสัมมนาเทคนิคการประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดียเชิงปฏิบัติการ ให้เข้าใจ รู้จักใช้เครื่องมือชั้นนำชนิดนี้ เป็นช่องทางสื่อสาร ติดตามและติดต่อกับสื่อมวลชน โดยมีบุคลากรด้านประชาสัมพันธ์จากองค์กรรัฐ สถานประกอบการ องค์กรพัฒนาภาคเอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัย สนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก

สาระของการสัมมนา ได้ทำให้เข้าใจตรงกันว่า โซเชียลมีเดีย เป็นเครื่องมือที่เข้าถึงบุคคลมีชื่อเสียงผ่านโปรแกรมที่ใช้ เช่น ทวิตเตอร์ < twitter.com > หรือเฟซบุ๊ก < facebook.com > ซึ่งสอดรับกับหลักสำคัญในหนังสือการประชาสัมพันธ์ ของวิรัช ลภิรัตนกุล ข้อหนึ่งที่ให้มุ่งเข้าถึงผู้มีอิทธิพลทางความคิดในสังคม เป็นที่เชื่อถือ หรือเปลี่ยนแปลงความคิดของคนหมู่มากได้ เช่น ส.ส.ข้าราชการชั้นสูง พ่อค้าใหญ่ จึงควรใช้ทวิตเตอร์ติดตาม (ฟอลโลว์) คนดังทั้งปวงรวมถึงสื่อมวลชน ที่รวบรวมไว้ได้เกือบ 300 ราย

ทวิตเตอร์เป็นโซเชียลมีเดียระบบเปิด ทุกคนติดตามคนดังได้ โดยไม่ต้องรอขออนุญาต และหากข้อความที่ทวีต  (ส่ง)ออกไป ถูกใจ จนคนดังที่มีผู้ติดตามมาก ๆ นำไป “รีทวีต” หรือส่งข้อความต่อ ก็จะทำให้ข้อความของเราได้รับการเผยแพร่   ในวงกว้าง จากกลุ่มที่สนใจคนมีชื่อเสียงนั้น ขณะที่เฟซบุ๊ก ต้องส่งคำขอเป็นเพื่อนและผู้ได้รับคำร้องขอยอมรับ จึงติดต่อกันได้ ทวิตเตอร์ยังให้ผู้สนใจติดตามคนดังได้ โดยไม่ต้องลงทะเบียน หรือไม่ต้องเป็นสมาชิก

บทสรุปอีกข้อก็คือ ควรติดตามทวิตเตอร์ของคนดัง โดยเฉพาะสื่อมวลชน และหาทางทำให้สื่อนั้นมาฟอลโลว์เรา แต่การจะได้รับความสนใจ ถึงขั้นมาคลิกติดตามเราได้ ก็ต้องหมั่นจัดกิจกรรม นำเสนอข้อมูลที่สะดุดความรู้สึก เป็นประโยชน์ มา ทวีตเผยแพร่
การสัมมนาหนึ่งวัน ทำให้คนที่รู้จักโซเชียลมีเดียระดับงู ๆ ปลา ๆ เข้าใจทะลุปรุโปร่ง ขยันทำการบ้าน ทวีตกันบ่อยขึ้นโดยมีเป้าหมายการส่งข้อความที่ชัดเจน และเข้าใจวัฒนธรรมที่ดีของการใช้ เช่น จะฟอลโลว์ใคร ก็ควรแจ้งให้ทราบก่อน หากมีใครมาฟอลโลว์เรา ก็ควรฟอลโลว์ตอบแทน เมื่อได้รับข้อมูลจากผู้ติดตามที่น่าสนใจหรือเป็นประเด็นที่ควรจะช่วยกระจายให้แพร่หลาย ก็ควรรีทวีตให้ เป็นการเอื้อแก่กัน

ชีพธรรม บอกว่า โครงสร้างของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี มักเข้าไม่ถึงสื่อมวลชน แต่การใช้โซเชียลมีเดีย  จะทำให้ผู้อยู่ในเครือข่ายผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ด้วยกัน จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน โปรแกรมนี้มิได้มีเฉพาะทวิตเตอร์ กับเฟซบุ๊กเท่านั้น แต่ยังมีกูเกิลแมป (แผนที่ของเว็บไซต์กูเกิล)  ยูทูป หรือเว็บไซต์ให้เผยแพร่คลิปวิดีโอ ก็เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ทุกคนใช้ประโยชน์ได้เหมือนกัน เช่นธุรกิจท่องเที่ยว ควรนำภาพตนเองหรือภาพที่พาลูกทัวร์ไปแหล่งต่าง ๆ แสดงไว้ในระบบแผนที่ สำหรับสื่อมวลชน ปัจจุบันใช้ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊กกันเป็นจำนวนมาก เป็นประโยชน์แก่ผู้ทำงานด้านประชาสัมพันธ์และการตลาดอย่างมาก เพราะอย่างน้อยที่สุดก็ได้ติดตามรับรู้ข่าวสารที่รวดเร็วกว่าการเผยแพร่ข่าวของสื่อใด ๆ

“ตัวอย่าง ร้านกาแฟสด ต่างจังหวัด ก็จัดกิจกรรม แล้วทวีตข้อความได้ เช่น สงกรานต์นี้ ใครผ่านมามีกาแฟบริการ ส่วนจะโปรโมชั่นหรือมีลูกเล่นอย่างไร ก็ขึ้นกับไอเดียสร้างสรรค์ของแต่ละคน” ชีพธรรม กล่าว

ในฐานะสื่อมวลชนและที่ปรึกษาอีบิสเนส เขาให้ความเห็นว่า โซเชียลมีเดีย เป็นเครื่องมือที่ทุกคนใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ยังใช้น้อย ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของรัฐก็ยังไม่เข้าสู่ระบบ แต่ก็เชื่อว่า จะพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ด้วยแรงผลักดันของสื่อมวลชนที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

ถึงจะเป็นเครื่องมือ ที่เอื้อประโยชน์แก่นักประชาสัมพันธ์ และผู้อยู่ในแวดวงการตลาด ที่นำมาใช้ได้โดยไม่มีข้อจำกัด ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ก็ต้องระวังไม่ส่งเรื่องส่วนตัวมากเกินไป ไม่ควรประชาสัมพันธ์แนวโฆษณาจนผู้รับเอียน แต่ให้คำนึงถึงความเหมาะสม
การจัดสัมมนาที่ทำมาแล้ว ทำให้ทราบว่ายังมีผู้ขาดความเข้าใจ และต้องการเข้าร่วมอีกมาก จึงจะจัดขึ้นเป็นระยะ ครั้งต่อไปกำหนดวันที่ 28 เมษายน ที่โรงแรมเมโทรพอยต์   ในซอยลาดพร้าว 130 โดยติดตามข้อมูลการสัมมนาได้ที่ < http://social4pr.com > หรือติดตามจากทวิตเตอร์ของเขาได้

โซเชียลมีเดีย เป็นเครื่องมือ ที่ช่วยให้ทุกคนเป็นสื่อ เผยแพร่ จัดกิจกรรมของตนและองค์กรได้ ด้วยต้นทุนต่ำ เพราะให้ใช้ฟรี และมีธุรกิจขนาดใหญ่นำไปใช้สร้างประโยชน์ทางธุรกิจคิดเป็นมูลค่ามหาศาล

ธนาคารใหญ่ที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นล่ำเป็นสัน ให้มีภาพลักษณ์ทันสมัย ล้ำหน้าใครทุกวันนี้ ก็เคยเป็นมือใหม่ที่ทวีตง่าย ๆ กับข้อความ ทักทาย ขอให้ดูแลสุขภาพดีมาก่อน

จึงเป็นโอกาสดีที่รายเล็ก หรือหน้าใหม่ ได้ใช้เครื่องมืออย่างเดียวกับรายใหญ่ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้เข้มแข็งขึ้น.

วีระพันธ์ โตมีบุญ
VeeraphanT@Gmail.com
http://twitter.com/vp2650




 
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=323&contentID=130727