ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: เมษายน 05, 2011, 09:53:48 pm »

ขอบคุณครับพี่มด
สงสารชาวญี่ปุ่นครับ สู้ๆครับ
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: เมษายน 03, 2011, 05:31:25 am »


"สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นอาจมีโทษมหันต์" น่าจะเป็นคำพูดที่อธิบายเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นกับการนำสารรังสีมาใช้

ใน ปัจจุบันนี้ โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ภายหลังพสุธาพิโรธเขย่าพื้นแผ่นดินด้วยความรุนแรงขนาด 9 ริกเตอร์ จนติดอันดับแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งของมนุษยชาติ ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน นิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น และการระเบิดของเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุกุชิมา เป็นภัยพิบัติรุนแรงระดับที่ 5 จากหายนะจากกัมมันตภาพรังสี

เราอาจ สัมผัสกับสารกัมมันตรังสีจนมีอันตรายกับสุขภาพจาก 3 สาเหตุ โดยสาเหตุแรกคือการก่อการร้ายหรือสงครามนิวเคลียร์ เคยมีรายงานว่าสายลับคนหนึ่งถูกวางยาพิษที่เป็นสารกัมมันตรังสีและเสียชีวิต ด้วยความทุกข์ทรมานที่ประเทศอังกฤษ สาเหตุที่สองอาจเกิดจากสารกัมมันตรังสีที่ใช้ทางการแพทย์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ การฉายรังสีแบบโบราณที่มีผลข้างเคียงมาก  แม้แต่แมรี่ คูรี ผู้ค้นพบและนำแร่โคบอลล์มาใช้รักษาโรคมะเร็ง ก็เสียชีวิตโดยโรคไขกระดูกฝ่อจากพิษของรังสี อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้นวัตกรรมใหม่ของรังสีรักษา เช่น การฉายแสงสี่มิติ การฉายรังสีแบบพุ่งเป้า ได้ทำให้การรักษาด้วยรังสีรักษามีความปลอดภัย สาเหตุที่สามคือ การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์
 
การตรวจหาสารกัมมันตรังสี.



ผลของรังสีต่อร่างกายขึ้นกับชนิดของรังสีที่ได้รับ เช่น ถ้าเป็นรังสีแอลฟา รังสีเบต้า มีอำนาจทะลุทะลวงตํ่า แต่ถ้าเป็นรังสีแกมม่า จะมีอำนาจเจาะลึกได้มาก จึงมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อภายในร่างกายได้มากกว่า และยังขึ้นกับปริมาณรังสีที่ได้รับ ระยะห่างจากบริเวณที่รังสีรั่วไหล ระยะเวลาที่สัมผัสกับกัมมันตภาพรังสี

ถ้าอยู่ใกล้กับการระเบิดของสาร กัมมันตรังสี อาจเสียชีวิตจากความร้อน เปลวไฟ และแรงระเบิด ความร้อนทำลายผิวหนัง เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายในได้ เช่น รังสีขนาด 3-4 เกรย์ อาจทำให้ผิวหนังอักเสบ 2-3 สัปดาห์ รังสีขนาด 100 เกรย์ ทำให้ผิวหนังเน่าเป็นตุ่มนํ้าใน 1-2 สัปดาห์ รังสีมีผลต่อเนื้อเยื่อที่แบ่งตัวเร็ว เช่น เส้นผม ทางเดินอาหาร ไขกระดูกที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือด และระบบสืบพันธุ์ ดังนั้น อาการเฉียบพลันอาจเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มักเกิดอาการเมื่อได้รับรังสีขนาดตั้งแต่ 1 เกรย์ขึ้นไป โดยอาจเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนร้อยละ 10 ของผู้ที่สัมผัสกับสารรังสี และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากได้รับรังสีขนาดมากกว่า 30 เกรย์ทั้งร่างกาย จากภาวะหัวใจล้มเหลวและระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลาย โดยเสียชีวิตภายใน 24-72 ชั่วโมง

ระหว่างสงครามเย็นที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศทุนนิยมที่มี สหรัฐอเมริกาเป็นพี่เบิ้ม และประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีรัสเซียเป็นหัวหน้า ก่อให้เกิดความกังวลใจไปทั่วโลกว่า โลกนี้ อาจพินาศย่อยยับจากสงครามนิวเคลียร์ จนทำให้สหรัฐอเมริกาต้องเร่งสร้างแผนป้องกันโดยด่วน ทั้งที่ทำบังเกอร์หลบภัยใต้ดิน และยาป้องกันกัมมันตภาพรังสี ชื่อดับเบิลยู อาร์ 2721 หรืออะมิฟอสดีน ซึ่งต่อมาองค์กรอาหารและยาสหรัฐอเมริกาอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ เพื่อป้องกันและลดผลข้างเคียงจากการฉายแสงรังสีรักษาในผู้ป่วยมะเร็ง
 
 




ในขณะนี้ยังมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าพลัง นิวเคลียร์ที่เมืองฟุกุชิมา ประเทศญี่ปุ่น จนตรวจพบสารกัมมันตรังสีจากสิ่งแวดล้อม อาหาร อากาศ และนํ้า ในบริเวณใกล้เคียง จนต้องอพยพผู้คนโดยรอบบริเวณที่รั่วไหล สารกัมมันตรังสีที่ ปนเปื้อนมีหลายชนิด ที่พบบ่อยคือสารกัมมันตรังสีไอโอดีน และซีเซียม โดยเฉพาะซีเซียม 137 มีค่าครึ่งอายุมากกว่า 30 ปี คงทำให้ต้องกักบริเวณรอบโรงไฟฟ้าดังกล่าวอีกหลายปี

ถ้าได้รับรังสี ขนาดสูงอาจเกิดอาการเป็นพิษเฉียบพลัน (acute radiation syndrome) ซึ่งวินิจฉัยไม่ยาก จากประวัติทางสัมผัสอาการ และอาการแสดง แต่ที่วินิจฉัยยากคือ อาการแบบเรื้อรังค่อยเป็นค่อยไป คือได้รับรังสีในปริมาณไม่มาก แต่สามารถทำลายดีเอ็นเอของมนุษย์ เกิดจากกลายพันธุ์ของยีน และตายผ่อนส่งด้วยโรคมะเร็ง

จากการติดตาม ผู้ ที่รอดชีวิตจากรังสีจากระเบิดปรมาณู ที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น พบว่าเกิดโรคมะเร็งที่ได้แทบทุกอวัยวะ และหลายคนเป็นหมันหลังการสัมผัสกับรังสี ซึ่งการเกิดโรคมะเร็งหรือไม่นั้น ไม่ได้เกิดจากดวงหรือชะตาฟ้าลิขิต แต่เกิดขึ้นจากไตรภาคี คือความรุนแรงของยีนที่ถูกทำลาย โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ของยีนก่อมะเร็ง และการยับยั้งยีนต้านมะเร็ง การที่ยีนซ่อมแซมดีเอ็นเอไม่ทำงาน และความล้มเหลวของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในการทำลายเซลล์แปลกปลอม

หาก ท่านผู้อ่านสงสัยว่าจะสัมผัสสารกัมมันตรังสี ต้องทำการชำระล้างการปนเปื้อนทั้งภายนอกและภายในร่างกาย การทำความสะอาดภายนอกมีความสำคัญมาก ประกอบด้วย การถอดเสื้อผ้า เครื่องแต่งตัวทั้งหมดใส่ในถุงที่ปลอดภัยปิดสนิท เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำไปตรวจสอบและทำลายอย่างถูกต้อง อาบน้ำชำระล้างร่างกายทั้งหมดให้สะอาดด้วยน้ำเย็นและสบู่อ่อน ถ้ามีบาดแผลต้องชำระล้างให้สะอาดและปิดบาดแผลป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสาร รังสีอีก รายงานจากคนงานในเหตุการณ์การรั่วของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย พบว่าการทำความสะอาดภายนอกอย่างถูกต้องสามารถลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยสัมผัส ลงเหลือต่ำกว่า 10 มิลลิเกรย์ได้
 
 
ความเสียหายที่โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุกุชิมา.



การล้างภายในร่างกายใช้ในกรณีที่สัมผัสกับฝุ่นกัมมันตรังสี สูดแก๊สหรืออากาศหรือแม้แต่การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารรังสี การรักษาที่ได้ผลต้องทราบว่าได้รับสารกัมมันตรังสีชนิดใด จะได้ผลดีที่สุด วิธีการทั่วไปที่ใช้ คือ ลดการดูดซึมของสารรังสี เจือจาง และแทนที่สารรังสีด้วยสารอื่นที่ปลอดภัย กำจัดสารรังสีออกจากร่างกายหรือใช้ยายับยั้งสารรังสีในร่างกาย ตัวอย่างเช่น ถ้าได้รับไอโอดีน-125 หรือ 131 อาจใช้ยา SSKI หรือโปแตสเซียมไอโอไดด์ ยับยั้งไม่ให้ต่อมไทรอยด์จับกับไอโอดีนรังสี ซึ่งเป็นเหตุผลว่า ทำไมจึงมีผู้คนแห่กันไปซื้อโปแตสเซียมไอโอไดด์มากักตุนเอาไว้ใช้ ซึ่งจะได้ประโยชน์ในการป้องกันสารกัมมันตรังสีชนิดไอโอดีนเท่านั้น ป้องกันสารกัมมันตรังสีชนิดอื่นไม่ได้ ส่วนการนำเบตาดีนมาทาคอหรือผิวหนังเพื่อป้องกันรังสีนั้นเป็นความเชื่อที่ ไม่ถูกต้อง

ถ้ารับประทานสารซีเซียม-134 หรือ-137 อาจลดการดูดซึมสารดังกล่าวด้วยปรัสเซี่ยนบลูได้ ถ้าเป็นสะตรอนเตียม 89 หรือ 90 อาจลดการดูดซึมในทางเดินอาหารด้วยการรับประทานยาลดกรด (อะลูมิเนียมฟอสเฟต) ยับยั้งแทนที่ด้วยการรับ ประทานฟอสเฟต หรือใช้การแย่งที่แอมโมเนียมคลอไรด์ หรือฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ถ้าเป็นสารพลูโตเนียม หรือยูเรเนียม สามารถจับด้วยแร่สังกะสี หรือแคลเซียม ไดเอทิลลีนไตรเอมีน เพนตาอาซีติกเอซิต เป็นต้น

ถ้ามีอาการทางระบบทาง เดินอาหารมาก เช่น คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาจต้องให้น้ำเกลือทดแทน ให้ยาแก้อาเจียน ถ้าเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ต้องให้ยาลดกรด หรืองดอาหารทางปากชั่วคราว  ถ้าเป็นมาก เฝ้าระวังภาวะเม็ดเลือดต่ำจากรังสี เช่น เม็ดเลือดขาวต่ำ จะติดเชื้อง่าย อาจฉีดยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ถ้าโลหิตจางต้องบำบัดอาการ และพิจารณาให้ยาเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดง หรืออาจต้องให้เลือด ถ้าเกิดภาวะโลหิตจางรุนแรง มีอาการโลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ ต้องระวังเลือดออก ถ้าต่ำมาก อาจต้องเติมเกล็ดเลือด ป้องกันไม่ให้เลือดออก ซึ่งยาเพิ่มเกล็ดเลือด อินเตอร์ลิวคินทูมีประสิทธิภาพไม่ค่อยดีในการเพิ่มเกล็ดเลือด

เนื่องจาก การบำบัดรักษาพิษจากรังสีได้ผลไม่ดี ดังนั้น การป้องกันจึงดีกว่าการรักษามาก การป้องกันแบบเบื้องต้นคือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารกัมมันตรังสี จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันภัยจากกัมมันตภาพรังสี

สำหรับ เครื่องมือตรวจสารกัมมันตรังสีมีหลายวิธี ที่นิยมใช้คือ ตรวจด้วยเครื่องไกเกอร์ เคาน์เตอร์ ซึ่งเป็นกล่องมีเข็มวัด และมีกระบอกจี้ไปใกล้บริเวณที่สงสัยเพื่อตรวจสอบ ถ้ามีรังสีเข็มจะกระดิกขึ้นและเสียงเตือนภัยดังถี่ขึ้น อาจใช้แผ่นฟิล์มตรวจ ถ้ามีรังสี ฟิล์มจะเปลี่ยนเป็นสีดำและเครื่องมือที่เปลี่ยนสีหรือเรืองแสงเวลามีรังสี เป็นต้น
 
 
โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุกุชิมาจากภาพ ถ่ายทางอากาศ.



ความจริงกัมมันตรังสีมีอยู่ในธรรมชาติ แต่ในปริมาณน้อยจนไม่มีผลต่อสุขภาพมนุษย์ การพัฒนาการของมนุษยชาติทำให้เกิดวัฒนธรรมบริโภคนิยม จนต้องเอาเปรียบธรรมชาติ เมื่อสมดุลแห่งธรรมชาติเสียไป แผ่นดินไหว สึนามิ และการรั่วของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์โรงไฟฟ้าของญี่ปุ่น น่าจะเป็นสัญญาณเตือนภัยให้มนุษย์รับทราบถึงมหันตภัยที่อาจกำลังจะเกิดขึ้น และสิ่งที่น่าหวั่นใจมากกว่านั้นคือเทคโนโลยีของเราในปัจจุบันนี้มักไม่ทัน ที่จะแจ้งเตือนภัยได้ทันท่วงที ถ้าเรายังไม่หยุดการทำลายธรรมชาติ พสุธาพิโรธ วาตภัย มหันตภัย กัมมันตภาพรังสี และภัยพิบัติอื่นๆอาจเข้าแถวเรียงคิวรอมาเยือนโลกเราอีกต่อเนื่องไปนานแสน นาน ดังคำทำนายของวันโลกาวินาศ หรืออามาเกดอน ก็อาจเป็นไปได้ในที่สุด.

โดย รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
 
ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน

http://pad.fix.gs/index.php?topic=405.new#new

http://pad.fix.gs/index.php?board=18.0