ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 10, 2011, 10:28:12 pm »




:45: :07: :45:

อนุโมทนาสาธุธรรมค่ะ คุณหนุ่ม


ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 10, 2011, 10:44:28 am »

คำวัด - ญาณ-ฌาน


คมชัดลึก :จริต คือ ลักษณะนิสัยพื้นฐานที่ประพฤติปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมตามสภาพของจิตใจอันเป็นปกติของบุคคลนั้น โดยแบ่งออกเป็น ๖ แบบ คือ ๑.ราคจริต ๒.โทสจริต ๓.โมหจริต ๔.วิตกจริต ๕.ศรัทธาจริต และ ๖.พุทธิจริต





การรู้จริตของ ตน ทำให้เกิดการรับรู้ว่า จะต้องพัฒนาตนเองอย่างไร มีสิ่งใดที่เหมาะสมอยู่แล้ว มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ในด้านการปฏิบัติธรรมนั้น การรู้จริตสามารถเลือกแนวทางการปฏิบัติธรรมได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตน

อย่าง ไรก็ตาม ในการปฏิบัติธรรมมีคำอยู่ ๒ คำ ที่ออกเสียงคล้ายหรือใกล้เคียงกัน รวมทั้งมีคนมักเข้าใจมีความหมายคล้าย หรือเหมือนกัน คือ คำว่า "ญาณ" และ "ฌาน"

ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "ญาณ" อ่านว่า “ยาน” ไว้ว่า ความรู้ คือปรีชาหยั่งรู้ หรือกำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการบำเพ็ญวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา
วิชชา แปลว่า ความรู้แจ้ง คือ ความรู้แจ่มแจ้ง ความรู้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ตรัสรู้” ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจากการบำเพ็ญวิปัสสนา มิใช่ความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน หรือ การนึกคิดคาดคะเนเอา

คำว่า “ญาณ” ในความหมายเฉพาะ หมายถึง พระปรีชาหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้า ความรู้แจ้งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกเต็มว่า โพธิญาณ หรือ สัมมาโพธิญาณ ซึ่งมีอยู่ ๓ อย่าง คือ

๑.บุพเพนิวาสานุสสติญาณ หมายถึง ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ในอดีตได้ คือ ระลึกชาติได้นั่นเอง

๒.จุตูปปาตญาณ หมายถึง ความรู้ในจุติและอุบัติของสัตว์โลกได้ เรียกว่า ทิพพจักขุญาณ หรือ ทิพยจักษุญาณ

๓.อาสวักขยญาณ หมายถึง ความรู้ในการกำจัดอาสวกิเลสให้สิ้นไป

ส่วนคำว่า “ฌาน” อ่านว่า “ชาน” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า การเพ่ง ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนจิตสงบนิ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ หรือ ภาวะที่จิตสงบนิ่งอันเนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์

ฌาน แบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ รูปฌาน และอรูปฌาน ซึ่งมีความหมายดังนี้
รูปฌาน คือ การเพ่งรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ ระดับ ตามอารมณ์ที่ประณีตขึ้นไปตามลำดับ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน

อรูปฌาน คือ การเพ่งอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ ระดับ คือ อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

เรียกการที่ผู้ได้ฌานนั่งสงบจิตเพ่งอารมณ์นิ่งแนวอยู่ว่า เข้าฌาน

"พระธรรมกิตติวงศ์ "


http://www.komchadluek.net/detail/20110408/94207/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%8C%E0%B8%B2%E0%B8%99.html


.