ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 22, 2011, 03:28:36 pm »


   
 
          21. ผู้กลืนกินจักรวาล

วันหนึ่ง ท่านอาจารย์อันมอน กล่าวขึ้นท่ามกลางศิษย์ว่า
" ไม้เท้าของฉันอันนี้ สามารถแปลงร่างเป็นมังกรใหญ่และกลืนกินจักรวาล
ไว้ทั้งหมดได้ โอ ! โอ้.. แล้วแม่น้ำ ภูเขา แผ่นดินอยู่ตรงใหนล่ะ
"

ปริศนาธรรมจากเรื่องนี้มุ่งจะแสดงให้เห็นความสำคัญของการ รวมความสนใจทั้งหมด
ไว้ที่จุดเดียว ซึ่งเป็นอำนาจสมาธิจิตอย่างหนึ่ง


เรื่องนี้ท่านอาจารย์อันมอน แสดงให้เห็นท่ามกลางศิษย์ ด้วยการยกไม้เท้าขึ้นสูงเหนือ
ระดับสายตา ด้วยการยกไม้เท้าขึ้นสูงเหนือระดับสายตาศิษย์ทั้งหมด พลางพูดเหมือน
กับว่าท่านกำลังจับพญามังกรที่มีชีวิตอยู่จริง ๆ

ความสนใจของศิษย์ทั้งหมดย่อมรวมจุดแน่วแน่อยู่ที่ไม้เท้า นั่นคือท่านอาจารย์อันมอน
กำลังควบคุมผู้ฟังไว้ด้วยไม้เท้า จนดูเหมือนว่านอกจากไม้เท้าแล้วก็ไม่มีอะไรอื่นอีก

ไม้เท้าได้ กลืนกิน จักรวาลทั้งหมดไว้แล้วโดยแท้ เพราะมันได้กลืนความสนใจของคนทั้งหมดไว้
มันได้ระงับดับความคิดปรุงแต่งทั้งปวงไว้ ณ ที่นั้นในขณะแห่งนาทีนั้นแล้ว


         

ก็เมื่อความคิดปรุงแต่ง ถูกระงับลงเสียได้ อะไรๆจะเหลืออยู่อีกเล่า
จักรวาลนั้นไม่ใช่อะไรอื่นมันก็คือ โลกแห่งความคิดปรุงแต่งขึ้นมาเป็นอย่างโน้นอย่างนี้
มากด้วยความหมาย มากด้วยสมมุติบัญญัติ เท่าที่แรงแห่งความไม่รู้แจ้งเห็นจริง
จะปรุงไปต่าง ๆ นานา ตามอำนาจของกิเลส

ในทางเซนจะพูดว่า " จิตเกิด สรรพสิ่งเกิด จิตดับ สรรพสิ่งสิ่งดับ "
จักรวาลตั้งอยู่ในจิต เพราะจิตสร้างจักรวาลขึ้นมา

จิตในที่นี้เขาหมายถึง " สังขารจิต " คือจิตปรุงแต่งขึ้นมา หรือสิ่งที่ปรุงเป็นจิตขึ้นมานั่นเอง

จิตในความหมายนี้จึงขึ้นต่อสรรพสิ่ง หรือถูกกำหนดโดยสรรพสิ่งอยู่ตลอดเวลา

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเอ่ยคำว่า " ข้าว " ขึ้นมา หลายคนอาจพูดต่อทันทีว่า " ชักหิวเสียแล้วซี ไปกินกันที่ใหนดีล่ะ "
ขณะที่คำเดียวกันนี้ ถ้าไปเอ่ยปากกับชาวนา เขากลับพูดว่า " เออปีนี้มันแย่จริง น้ำท่วม นาล่มหมด "
ถ้าไปเอ่ยกับพ่อค้าเขาก็อาจพูดว่า " ปีนี้ผลิตได้มากก็จริง แต่มันล้นตลาดโลกเสียแล้ว ราคาแย่ลงอีกตามเคย "

เห็นใหมคำว่า " ข้าว " คำเดียวกัน มันได้เปลี่ยนความหมายไปถึงสามความหมาย
คนหนึ่งนึกถึงเม็ดข้าวในจาน คนหนึ่งนึกถึงข้าวเป็นรวงในนา คนหนึ่งนึกถึงข้าวเป็นกระสอบในโกดัง
ความหมายทั้งหลายนี้ เกิดจากอะไร ตอบว่าเกิดจากความคิดที่ไม่เหมือนกัน ถามต่อไปว่า
ทำไมความคิดจึงไม่เหมือนกัน ตอบว่าเพราะจิตมันปรุงแต่งขึ้นมาไม่เหมือนกัน


ถามว่าไฉนจิตจึงปรุงแต่งไม่เหมือนกัน ก็ตอบได้ว่าเพราะสิ่งที่มาสัมผัสหรือกระทบจิต มันต่างกัน
อ้าวก็ได้ยินคำว่า " ข้าว " คำเดียวกันไม่ใช่หรือ ตอบว่าใช่แล้วแต่ " นัยประหวัด " ของคำเดียวกันนี้ต่างมีไม่เหมือนกัน
นั่นคือ ประสบการณ์ของแต่ละคนทำให้ " นัยประหวัด " ของคำ ๆ เดียวกันนั้นกลับแตกต่างกันไป
ประสบการณ์ก็คือสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น ๆ นั่นเอง


เห็นไหมว่าความคิดหรือจิต ที่ปรุงเป็นความคิด ( สังขาร ) นั้น มันไม่ได้เกิดขึ้น ลอย ๆ
มันเกิดขึ้นจากเหตุแวดล้อมภายนอก
คือสรรพสิ่งนั่นเองบวกกับความรับรู้ ตามธรรมชาติ " รู้ " ( วิญญาณ ) ภายในของเรา
เป็นปัจจัยจึงก่อให้เกิด " จิต " ขึ้นมา

ดังนั้น ในลักษณะนี้ " จักรวาลก็คือจิต จิตก็คือจักรวาล "
เซนมุ่งที่จะเพิกหรือถอน " จิต " ในลักษณะนี้ออกมา โดยมีคำเรียกใหม่ว่า " จิตเดิมแท้ "
ซึ่งเป็นจิตในลักษณะ ที่เปี่ยมอยู่ด้วย " ปัญญา "
คือ ความรู้เท่าทันต่อสรรพสิ่ง ที่มากระทบอย่างถูกต้องตามเป็นจริง

มิใช่จิตที่ถูกกำหนด โดยสรรพสิ่งสถานเดียว หากเป็นจิตที่สามารถจะกำหนดสรรพสิ่งได้ด้วย

เมื่อท่านอาจารย์อันมอน ยกไม้เท้าขึ้นมากำหนดจิต ท่านต้องการให้ศิษย์ทุกคน เอาจิตกำหนดไม้เท้านั้นได้ด้วย

จิตที่สามารถกำหนดสิ่งอื่นได้นี่แหละที่ท่านอุปมาอุปมัยว่าเป็นเหมือนพญามังกร
ที่จะกลืนกินจักรวาลได้ ผันแม่น้ำ ผลีกภูเขา พลิกแผ่นดิน ก็ได้ด้วย
ขอเพียงแต่เข้าใจ และรู้เคล็ดลับของการกำหนดซึ่งกันและกันนี้ให้ได้เท่านั้น

 
         

จากหนังสือ มุมที่ไม่มีเหลี่ยม
ของท่าน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ใครๆ ก็รู้ว่าในเชิงกวี เขาคือมืออันดับหนึ่ง
แต่ยังไม่มีใครรู้ว่าในเชิงปรัชญาเซน เขามิได้เป็นมือสองรองใคร


สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
       ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต