ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: เมษายน 23, 2011, 05:30:04 pm »



 
ภายในกับภายนอก

เรื่องราวที่เกี่ยวกับความยึดมั่นถือมั่น เป็นที่เล่าขานกันมากที่สุด คือเรื่องนี้
พระสองรูปกำลังโต้เถียงกันเรื่องธง
พระรูปหนึ่ง พูดว่า " ธงกำลังไหว "
พระอีกรูปหนึ่ง พูดว่า " ลมต่างหากที่กำลังไหว "
พระสังฆปรินายกองค์ที่หกคือ ท่านเว่ยหลางได้ยินเข้า ก็เลยพูดกับพระทั้งสองว่า
" ลมไม่ได้ไหว ธงก็ไม่ไหว จิตของเธอต่างหากที่กำลังไหว "
 
       

ข้อสังเกตของท่านเว่ยหลางตรงนี้ มีความหมายเป็นสองนัย
ประเด็นแรก ท่านเว่ยหลาง ต้องการขจัดความคิดยึดมั่นถือมั่นต่อสิ่งภายนอก
ของพระสองรูป ที่ยึดเอาธงกับลมเท่านั้น ว่าเป็นตัวกำหนดความเคลื่อนไหว
โดยท่านเว่ยหลางชี้ไปที่จิต ซึ่งเป็นสิ่งอยู่ภายในอันตรงข้ามกับสิ่งภายนอก
นั้นว่า จิตต่างหากที่กำลังถูกสั่นไหว
 
ประเด็นนี้ ท่านประสงค์เพียงชี้ให้เห็นความผิดพลาดของทรรศนะการมองโลก
ที่ยึดแต่ภายนอกเพียงด้านเดียว โดยละเลยอีกด้านหนึ่งคือ ด้านที่เป็นภายใน

 ตรงนี้ขอขยายความหน่อยหนึ่งว่า " ภายนอก " ในที่นี้ก็คือทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร
เลย นอกจาก " จิต " และภายในก็คือ " จิต " เท่านั้น

 
ส่วนอีกประเด็นหนึ่งมีนัยลุ่มลึกพิสดารนัก เคยมีเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่ง
ที่พยายามอธิบาย คำพูดของท่านเว่ยหลางประโยคนี้ด้วยเรื่องว่า
 
มีแม่ชีรูปหนึ่ง ครั้นได้ฟังพระสองรูปเล่าถึงเรื่องนี้นางก็กล่าวกับ พระทั้งสองรูปนั้นว่า
" ธงไม่ไหว ลมไม่ไหว จิตก็ไม่ไหว "
 
ตรงนี้แหละสำคัญนัก เพราะตรงเป้าหมายของความไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างถึงที่สุด
คือนอกจากไม่ให้ยึดภายนอกแล้วก็ยังไม่ให้ยึดภายในด้วย
เป็นการ " ปล่อยวาง " อย่างแท้จริง

 


วิธีสอนแบบเซนต้องไม่อธิบาย ปล่อยให้สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลาย ปรากฏตามสภาพ
ความเป็นจริง
ยิ่งให้คำอธิบายยิ่งพรรณาถึงสิ่งนั้น ๆ หรือยิ่งวิเคราะห์ ยิ่งปรุงแต่ง
ก็ยิ่งผิดความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น ๆ มากยิ่งขึ้นไปทุกที
 
ธงก็ตาม ลมก็ตาม จิตก็ตาม ล้วนเป็นสภาพอันปรากฏอยู่เช่นนั้น
ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยให้ดำเนินให้เป็นไปนั้น ๆ
จิตคือสภาพที่รับรู้สภาพอันเป็นจริงอยู่นั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกจากนี้

 
จากเรื่องข้างต้น จิตเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดจากภายนอก กล่าวคือ เพราะลมไหวธงจึงไหว
จิตถูกลมและธงกำหนดให้ไหวตามไปด้วย

 
นี่เป็นเบื้องต้นของวิธีมองโลกแบบเซน คือขจัดความคิดปรุงแต่ง
ปล่อยให้ภายนอกกับภายใน ได้สัมผัสกันอย่างแท้จริง โดยปกติธรรมดาที่สุด
ตามธรรมชาติที่ควรเป็นไปของมัน
 
เซน ถือว่า นี่เป็นวิธีเดียว ที่เราจะประจักษ์ต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวง
อย่างถูกต้องตามเป็นจริงที่สุด
เรามักมองสิ่งต่าง ๆ ด้วยรูปลักษณ์นานา
แตกต่างกันไปตามความยึดมั่นถือมั่นด้วยกันทั้งสิ้น

 


จากหนังสือ มุมที่ไม่มีเหลี่ยม
ของท่าน เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
ใครๆ ก็รู้ว่าในเชิงกวี เขาคือมืออันดับหนึ่ง
แต่ยังไม่มีใครรู้ว่า
ในเชิงปรัชญาเซน เขามิได้เป็นมือสองรองใคร




นิทานเซน ฉบับ เทพยาจก เก็บตกตามทาง ทั้งหมด 26 เรื่อง
รวบรวมนำมาแบ่งปัน โดย
.. คุณ มดเอ๊กซ์ ค่ะ
Pics by : Google
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ