ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 12:17:26 pm »

 :45: ขอบคุณครับพี่มด เคยฟังอาจารย์แกบรรยายเหมือนกันครับ เข้าใจง่ายดี ไม่ได้ฟังยากอย่างที่คิด
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 09:02:22 am »

สุดท้ายแล้วการศึกษาธรรมะคือ การศึกษาใจของตน ศึกษาว่า ทำไม เมื่อไร อย่างไร ใจของเราจึงเกิดอาการ และอาการของใจนั้น หายไป ดับไป ได้อย่างไร
ดังนั้น ต่อให้อ่านตำราเป็นล้าน ๆ เล่ม ท่องพระไตรปิฏกได้ทั้งหมด ก็สู้ตามรู้ ตามดู ตามวางที่ใจไม่ได้ครับ



 :13: :19: :13:
               :25:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 08:49:02 am »

สุนทรียสนทนา (Dialogue) กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (Secret)


"การดูจิตขณะสนทนานี่แหละคือการปฏิบัติธรรม การเฝ้าระวังความคิด (พิพากษา เพ่งโทษ อคติ ฯลฯ) ที่เป็นเสียงภายในนี่แหละคือ การฝึกสติ"
 
เมื่อวานในบันทึก "ไร้กรอบ" ของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (หนุ่มเมืองจันท์) ... ผมเล่าให้ฟังว่า ด้วยความบังเอิญที่ผมซื้อหนังสือ 1 เล่ม และ นิตยสาร 1 เล่ม ด้านในมีเรื่องราวของอาจารย์ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ทั้งสองเล่ม อย่างไม่น่าเชื่อ
 
บันทึก "ไร้กรอบ" ของ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ ... (หนุ่มเมืองจันท์) ที่ผมได้เล่าวิธีคิด "ไร้กรอบ" ตามที่หนุ่มเมืองจันท์เล่าไว้ได้สนุกมากครับ
 
ดังนั้น บันทึกนี้จึงขอเล่าถึงอีกบทความในนิตยสาร Secret เรื่อง "สุนทรียสนทนา กับ ดร.วรภัทร ภู่เจริญ"
 
 
"การดูจิตขณะสนทนานี่แหละคือการปฏิบัติธรรม การเฝ้าระวังความคิด
(พิพากษา เพ่งโทษ อคติ ฯลฯ) ที่เป็นเสียงภายในนี่แหละคือ การฝึกสติ"


จากหนังสือ Learn How to Learn ... ให้ความรักก่อนให้ความรู้ ของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ

 
คงไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ ถ้าคุณจะไม่รู้จักผมเลย แม้แต่นิด และหากคุณมีคำถามว่า ผมเป็นใคร ทำอะไร ผมก็จะมีคำตอบกวน ๆ กลับไปว่า "ถ้าอยากรู้จักฉัน หาตัวเธอให้เจอก่อน" ครับ
 
แต่ถ้าให้ตอบจริง ๆ ในโลกสมัยสมมตินี้ผมคือ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ผู้เคยนับถือศาสนาคริสต์มา 39 ปี ก่อนจะมาเพิ่มศาสนาเป็นพุทธ และต่อไปก็คิดว่าจะเพิ่มศาสนาไปเรื่อย ๆ จนไม่มีศาสนาเลย เพราะความจริงแล้วไม่มีศาสนาอะไรทั้งนั้น เราอยู่กับความไม่มี แต่เราไปบอกว่ามีเท่านั้นเอง
 
ผมเคยทำงานกับองค์การนาซา (NASA) วิจัยเกี่ยวกับการแตกหักของวัสดุจนได้รับรางวัล หลังจากนั้นกลับมาเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน บูรณาการศาสนากับชีวิตการทำงาน เพื่อพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืนและพอเพียง
หลังจากลาออกจากการเป็นอาจารย์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมได้ไปบวชที่วัดป่าเขาน้อย อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ซึ่งมี หลวงปู่จันทา ถาวโร เป็นหัวหน้าสงฆ์ เมื่อบวชผมก็ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติธรรม หลวงปู่สอนอะไรก็ทำตาม ท่านให้วางตำราและให้กำหนดพุท-โธให้มาก ๆ บวชได้ 13 วันผมก็เข้าใจเรื่องของการทำสมาธิ
 
หลังจากนั้นผมไปศึกษาธรรมกับ หลวงพ่อสำราญ ธัมมธุโร (หลวงพ่อกล้วย) วัดธรรมอุทยาน จังหวัดขอนแก่น ท่านสอนไม่ให้ติดในภาษาสมมติ ไม่ให้ติดว่าเป็นนักปฏิบัติ ท่านให้นำกายมาปฏิบัติ มาปล่อยวางไม่ให้ยึดแม้แต่ครูบาอาจารย์ ท่านสอนให้ฝึกสติด้วยการไปนั่งสมาธิในป่าช้า เพราะที่ป่าช้าจะมีความคิดแบบเดียวผุดมาให้ฝึก ทำให้แยกได้ทันทีว่า นี่สัญญาหนอ นี่สังขารหนอ จิตเกิดแล้วหนอ
 
หลายคบอกว่าผมสอนธรรมะแบบนอกกรอบ ที่ต้องนอกกรอบเพราะแบบเดิม ๆ นั่นไม่มีคนอยากฟัง หน้าที่การงานของผมอย่างหนึ่ง คือ การไปบรรยายให้ผู้บริหารที่มีการศึกษาสูง ๆ ฟัง และท่านเหล่านี้ส่วนหนึ่งเบือนหน้าหนีทันทีที่ได้ยินว่า ศีลห้า นรก สวรรค์ ผมเลยต้องหาวิธีหารอื่นมาหลอกล่อ อย่างเช่น เมื่อสอนเรื่องการบริหารจัดการให้ผู้บริหารฟัง ในระหว่างสอนผมก็สอดแทรกธรรมะไปเรื่อย ๆ แบบ "แนบเนียนนุ่มลึก" โดยที่เขาไม่รู้ตัว หลังจากนั้นให้เขาฟังตามไปเรื่อย ๆ จนตอนท้ายจะขมวดให้ฟังว่า ทั้งหมดที่สอนมาอยู่ในพระไตรปิฏก ฟังอย่างนี้เขาก็จะ "ปิ๊ง" ได้เอง และไม่ตั้งแง่ปฏิเสธตั้งแต่แรก
 
ทุกวันนี้ผมสอนธรรมะแบบ "ไดอะล็อก" (Dialogue) หรือเรียกเป็นไทยว่า "สุนทรียสนทนา" สอนธรรมะแบบล้อมวงคุยกันในระหว่างคุยกันก็เป็นเจริญวิปัสสนาแบบหนึ่ง สนทนาไปด้วย ดูจิตไปด้วย เป็นการสนทนากันแบบฟังเชิงลึก (Deep Listensing) ที่เรียกได้ว่าต้อง open mind, open heart, open will เพื่อให้เห็นตัวตนที่แท้จริงของเราเอง ฟังเพื่อเก็บเกี่ยว ฟังเพื่อให้เกิดความไว้วางใจกัน ฟังเพื่อให้เกิดความเคารพในความแตกต่างกัน ทั้งทางความคิดและจิตใจ บางทีเราก็เรียกการพูดคุยแบบนี้ว่า "วงเล่าเร้าพลัง" คือมาคุยกัน เปิดหู เปิดตา เปิดใจ รับฟังกัน อย่าเพิ่งไปเถียงกัน อย่ารีบร้อน "สวน" หรือ "สอดแทรก" ซึ่งเป็นการสอนให้เราฟังอย่างมีสติ อย่าไปเพิ่งโทษ อคติ ลำเอียง คิดเอาเอง ซึ่งการฟังเชิงลึกได้ดีต้องฝึกฟังเสียงภายใน (Inner Voice) ของตัวเองให้ได้เสียก่อน เสียงที่ขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ หมั่นไส้ อิจฉา ด่าทอ ยินดี กังวล นึกไปถึงเรื่องอื่น ไปนอกเรื่อง ฯลฯ เมื่อมีเสียงภายในหรือความคิดแทรกแซงก็หัดดับ หัดระงับ หัดข่ม แล้วมาจดจ่อ มีสมาธิ น้อมใจเข้าไปฟังคนพูดพูดต่อไป
เราอาจจะนั่งล้อมวงกันในสถานที่สบาย ๆ นั่งสบาย ๆ ปูเสื่อแจกหมอน นอนเอนหลังก็ได้ ไม่ต้องกังวลเรื่องใด หรือวิ่งเข้าวิ่งออกจนพลังของวงเสียสมดุลไป "พลัง" ในที่นี้คือ พลังที่ดีในการกระตุ้นต่อมความคิด เป็นพลังที่จะสร้างงาน สร้างปีติ สร้างสติ เรียนรู้ด้วยในที่เป็นกลาง ฯลฯ
 
หลักการดูจิตขณะสนทนาของผมคือ ถ้าจิตของเราเกิดอาการ กายจะเปลี่ยนแปลง เลือดลมจะวิ่ง กล้ามเนื้อน้อยใหญ่จะเกร็งกลางอกจะหด ๆ หู่ ๆ เต้น ๆ เสียว ๆ เราก็หายใจลึก ๆ ดึงกำลังสติขึ้นมาคิดในแง่ดี ๆ เข้าไว้ หากจิตยังไม่ปกติ พึงสังวรว่า "อย่าได้ออกอาการทางวาจาทางกาย" นะครับ สมมติว่าเป็นสุนัข เวลาที่จิตเกิดอาการเราจะเห็นชัด คือกายจะฟ้อง เช่น กระดิกหางหรือหดหาง สำหรับเราซึ่งเป็นคน ก็ควรจะดูกายของเราให้ทันด้วย จะได้รู้ว่าจิตเกิดหนอ ดังนั้น ถ้าเราสนทนากับใคร ก็ฟังเขาพูดไป สำเหนียกไปที่จิตด้วย จะเห็นความคิด "วิตก" (ขึ้นขบวนรถไฟความคิดแห่งอนาคต) "วิจารณ์" (ขึ้นขบวนรถไฟความคิดแห่งอดีต) ผุดขึ้น ขอให้รู้เท่าทัน วิตกหนอ วิจารณ์หนอ
 
อย่างไรก็ตาม ในการพูดคุยผมไม่คิดว่าตัวเองเป็นอาจารย์ แต่ผมเป็นกระบวนการนำพาผู้ร่วมเรียนรู้ไปเข้ากระบวนการ ไปเจอประสบการณ์ ไปค้นพบด้วยตนเอง ไปพิสูจน์ความเชื่อกัน ผมมิบังอาจไปสั่งสอนใครนะครับ แต่ยั่วให้คิด ตั้งคำถามให้คิด แหย่ ๆ เพราะถ้าไม่แบ่งแยก นั่นผู้เรียน ฉันผู้สอน เจ้าตัว "อัตตา" จะแทรกได้ง่าย ๆ
 
นอกจากนั้นผมยังมีกติกาว่า จะไม่บรรยายแบบที่มีผู้ฟังเยอะ ๆ แต่จะให้การพูดคุยแบบสุนทรียสนทนาร่วมกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดินป่า เยี่ยมบ้านพักคนชรา เยี่ยมผู้ป่วยระยะสุดท้าย นั่งคุยกันที่สวนสาธารณะ นั่งดูหนังด้วยกัน แล้วมาคุยกันในบรรยากาศสบาย ๆ ฯลฯ
 
สุดท้ายแล้วการศึกษาธรรมะคือ การศึกษาใจของตน ศึกษาว่า ทำไม เมื่อไร อย่างไร ใจของเราจึงเกิดอาการ และอาการของใจนั้น หายไป ดับไป ได้อย่างไร
ดังนั้น ต่อให้อ่านตำราเป็นล้าน ๆ เล่ม ท่องพระไตรปิฏกได้ทั้งหมด ก็สู้ตามรู้ ตามดู ตามวางที่ใจไม่ได้ครับ
 
http://gotoknow.org/blog/scented-book/253599