ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2011, 01:21:22 am »

 :13: ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2011, 03:46:04 pm »





ความไม่ต้องคิด

กายสังขารอันประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลมไฟ ย่อมมีกำเนิดมาจากพ่อแม่ ซึ่งเป็นมนุษย์เหมือนกัน จุดสิ้นสุดของร่างกายนี้เป็นไปตามกฎแห่งอนิจจัง เกิด แก่ เจ็บ ตาย กลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ ไปตามธรรมชาติ ส่วน "ธรรมญาณ" ซึ่งอาศัยอยู่ในตัวปลอมมีต้นกำเนิดมาจากอนุตตรภูมิอันเป็นศูนย์พลังแห่งธรรมชาติซึ่งก่อให้เกิดสรรพสิ่งได้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่เมื่อมาอาศัยกายมนุษย์ได้สูญเสียศักยภาพไปตามอายตนะหก คือ ตา หู จมูก ปาก กาย และ จิต

ดังนั้น "ธรรมญาณ" จึงไม่สามารถคืนกลับสู่ต้นกำเนิดเดิมได้ ถ้าเปรียบเทียบ "ธรรมญาณ" เป็นเช่นกระแสไฟฟ้าซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ก็ทำหน้าที่ให้ความเย็น หรือเข้ามาสู่หลอดไฟฟ้าก็ให้แสงสว่าง เช่นเดียวกับ "ธรรมญาณ" ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในมนุษย์ซึ่งมีความสามารถแตกต่างกัน จึงทำหน้าที่ไม่เหมือนกัน กระแสไฟฟ้าไม่อาจกลับคืนสู่ต้นกำเนิดเดิมได้เพราะมีการ "ช็อต" ทำให้ไฟฟ้ารั่วจึงอ่อนกำลังลงเช่นเดียวกับ "ธรรมญาณ" ไม่อาจคืนกลับแดนอนุตตรภูมิได้เพราะศักยภาพเดิมสูญเสียไปตามกิเลสที่ยั่วย้อมทำลายความสามารถดั้งเดิมลงไปนั่นเอง

ความสมบูรณ์ของ "ธรรมญาณ" อยู่เหนือสภาวะแห่งความคิดเห็นใดๆ ทั้งสิ้น ธรรมญาณ จึงอยู่เหนือปัญญา ธรรมญาณ อยู่เหนือ "จิต" ถ้านำเอาคำกล่าวของเหลาจื่อมาเทียบเคียงแล้วก็จะให้ความหมายอันแท้จริงของ "ธรรมญาณ" กล่าวคือ "ความไม่มีคือภาวะที่แท้ของธรรมะ แต่ความมีเป็นบทบาทของธรรมะ" ธรรมะ คือความว่างอันไร้ขอบเขต แต่สามารถสร้างสรรพสิ่ง แต่สรรพสิ่งทั้งปวงมิใช่ธรรมะ สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" จึงไม่มี แต่เมื่อเกิดอาการเคลื่อนไหวจึงเป็นจิตที่คิดได้มากมายจนมีสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งมิใช่ธรรมะ

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า "บุคคลผู้เข้าถึงวิถีทางแห่ง "ความไม่ต้องคิด" จึงรู้แจ้งในสรรพสิ่งและได้ดื่มรสที่พระพุทธเจ้าทุกข์พระองค์ได้ดื่มมาแล้ว และย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลข้างหน้าต่อไป" การเข้าถึงสภาวะแห่ง "ความไม่ต้องคิด" ก็คือการคืนสู่สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันเป็นธรรมชาติเดิมแท้และเป็นตัวตนที่แท้จริงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปลักษณ์ใดๆ เลย ความไม่มีอันแท้จริงเท่านั้นจึงทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของอนิจจังแต่สิ่งที่เป็นบทบาทของ "ธรรมญาณ" อันมีสภาวะเป็น "จิต" นั้นจึงตกอยู่ในกฎแห่งการเกิด-ดับ ไม่มีที่สิ้นสุด เหตุไฉน "ความไม่ต้องคิด" จึงรู้แจ้งในสรรพสิ่ง เหตุเพราะ "ความไม่ต้องคิด" เป็นสภาวะแห่งความว่างดั้งเดิมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดสรรพสิ่งอันประมาณมิได้

                             

สรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมีรากฐานมาจากความว่างอันเดียวกัน เพราะฉะนั้นใครเข้าถึง "ความไม่ต้องคิด" ก็คือ การคืนสู่สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" ของตนซึ่งตรงต่อสภาวะของต้นกำเนิดเดิม จึงได้ดื่มรสเดียวกันกับพระพุทธเจ้าทั้งปวงเช่นกัน ผู้ที่คืนสู่สภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" ของตนย่อมบรรลุถึงความเป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อไปนั้น ถ้านำเอา ปณิธาน ของพระพุทธองค์ในสมัยที่เกิดเป็น สุเมธดาบส มาเทียบเคียงก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนเพราะในครั้งนั้น พระพุทธทีปังกร พุทธเจ้าเสวยอายุปกครองธรรมกาลอยู่นั้นได้เสด็จไปพร้อมกับสาวกสู่นครแห่งหนึ่ง ชาวพระนครกำลังตระตรียมปัดกวาดบ้านเมืองเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า สุเมธดาบสรู้ข่าวจึงเข้าร่วมงานบุญนี้ด้วย พอดีพระพุทธทีปังกรเสด็จมาถึง แต่หนทางยังไม่เสร็จ สุเมธดาบส จึงสละกายตนทอดเป็นสะพานให้พระพุทธทีปังกรเสด็จเหยียบไปบนหลังของตนเอง พร้อมกันนั้น ได้ตั้งปณิธานจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง พระพุทธทีปังกรทรงทราบได้ด้วยพระญาณจึงทรงพยากรณ์ไว้ว่า ดาบสผู้นี้จักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์

ถ้าสุเมธดาบสได้ดื่มรสแห่ง "ความไม่ต้องคิด" ซึ่งหมายถึง "ธรรมญาณ" ของตนเองแล้ว เหตุไฉนจึงมีจิตตั้งปณิธานจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "ผู้ที่ได้รับคำสอนของอาตมาจะให้สัจปฏิญาณในท่ามกลางหมู่ศิษย์ด้วยกันว่าจะอุทิศชีวิตตนเองทั้งหมดเพื่อปฏิบัติตามคำสอนแห่ง "สำนักฉับพลัน" โดยไม่ย่อท้อถอยหลังอันเป็นความตั้งใจขนาดเดียวที่จะปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้าแล้วไซร้ เขาก็จักบรรลุถึง วิสุทธิมรรคาโดยไม่มีความล้มเหลวเป็นแน่แท้"

ในขณะเดียวกันพระธรรมมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ถ่ายทอดคำสอน "รู้อย่างฉับพลัน" ต่อๆ กันไป โดยไม่มีการปิดบังซ่อนเร้นแม้แต่น้อยแต่สำหรับบุคคลผู้อยู่ในนิกายอื่นซึ่งมีความเห็นและจุดมุ่งหมายผิดไปจากนี้ไม่ควรถ่ายทอดหลักธรรมะนี้ให้ เพราะจักเกิดผลร้าย เพราะเกรงว่าพวกคนเขลาเหล่านี้ นอกจากไม่เข้าใจแล้วยังจะให้ร้ายป้ายสีหลักธรรมะ อันจักเป็นผลร้ายทำลายเมล็ดพืชแห่งความเป็นพุทธะให้เหือดแห้งเป็นหมันไปหลายร้อยกัลป์พันชาติ "ความไม่ต้องคิด" จึงเป็น "ความว่างอันสมบูรณ์" เพราะฉะนั้นจึงเป็นการยากนักที่ผู้ไม่ใช้ปัญญาจะทำความเข้าใจได้ และยังหัวเราะเยาะทำลายคุณธรรมของตนลงไป แต่กลับสร้างบาปกรรมโดยไม่รู้ตัวด้วย



Pics by : Google
Credit by : http://www.baanjomyut.com/pratripidok/wenglang/21.html

ขอบพระคุณที่มาทั้งหมดมากมาย
อนุโมทนาสาธุค่ะ