ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ซุปเปอร์เบื๊อก
« เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 02:13:19 am »



คำแผ่เมตตา

แผ่เมตตา
   
   อิ ทัง ปุญญะผะลัง อานิสงส์อันใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญไปแล้วนี้ ขอผลบุญนี้จงแผ่ไปถึง เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ได้มาอนุโมทนา เมื่ออนุโมทนาแล้ว ขอให้อโหสิกรรมกันตั้งแต่บัดนี้ เวลานี้เป็นต้นไป
   
   ขอแผ่บุญ กุศลนี้ ไปถึงเทพเจ้าทั้งหลาย ที่รักษาตัวข้าพเจ้าอยู่ก็ดี นอกจากนี้ก็ดี ทั่วสากลพิภพ จงมีความสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทพพรหมทั้งหลาย ภูผีปีศาจทั้งหลายที่อยู่ในนี้ก็ดี อยู่บ้านของข้าพเจ้าก็ดี ขอให้ทุกท่านจงมีความสุข
   
   และขอแผ่บุญกุศลนี้ ไปถึงสัพพะสัตว์ทั้งหลาย มีบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ญาติพี่น้อง มิตรสหาย ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี ขอให้ทุกท่านจงมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสยามเทวาธิราชทุกท่าน ขอให้ทุกท่านจงมีความสุข
   
   ขอผลานิสงส์นี้ จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้อยู่ดีกินดี มีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป และได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ด้วยเทอญฯ

แผ่เมตตาให้ตนเอง
   
   อะหัง สุขิโต โหมิ
   
   ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
   
   อะหัง นิททุกโข โหมิ
   
   ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
   
   อะหัง อะเวโร โหมิ
   
   ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
   
   อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ
   
   ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรค อันตรายทั้งปวง
   
   สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
   
   ขอให้ข้าพเจ้าจงมีสติสัมปชัญญะ อยู่ทุกเมื่อ รักษากาย วาจา ใจ ให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

 บทแผ่เมตตา
   
   สัพเพ สัตตา:
   
   สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้งสิ้น
   
   อะเวรา โหนตุ:
   
   จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย
   
   อัพยาปัชฌา โหนตุ:
   
   จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียน ซึ่งกันและกันเลย
   
   อะนีฆา โหนตุ:
   
   จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
   
   สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ:
   
   จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้น จากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเถิด.

แผ่เมตตาพรหมวิหารสี่

               เมตตา
               
               สัพเพ สัตตา
               
               สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์   เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
               
               อะเวรา โหนตุ
               
               จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกัน
               
               อัพยาปัชฌา โหนตุ
               
               จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียน ซึ่งกันและกัน
               
               อะนีฆา โหนตุ
               
               จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจกันเถิด
               
               สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
               
               จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเถิด
                   

                กรุณา
               
               สัพเพ สัตตา
               
               สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
               
               สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ
               
               จงพ้นจากทุกข์เถิด           
           

               มุทิตา
               
               สัพเพ สัตตา
               
               สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
               
               มา ลัทธะสัมปัตติโต วิมุจจันตุ
               
               จงอย่าไปปราศจากสมบัติ  อันตนได้แล้วเถิด         
           

               อุเบกขา
               
               สัพเพ สัตตา
               
               สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
               
               กัมมัสสะกา
               
               เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
               
               กัมมะทายาทา
               
               เป็นผู้รับผลของกรรม
               
               กัมมะโยนิ
               
               เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
               
               กัมมะพันธุ
               
               เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
               
               กัมมะปะฏิสะระณา
               
               เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย
               
               ยัง กัมมัง กะริสสันติ
               
               กระทำกรรมอันใดไว้
               
               กัลยาญัง วา ปาปะกัง วา
               
               ดีหรือชั่ว
               
               ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
               
               จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น         

   
   สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ จงอย่าได้มีเวรเบียดเบียนกันและกัน จงอย่าได้มีความลำบากเจ็บไข้เลย จงเป็นผู้มีสุขพ้นทุกข์ภัยทั้งสิ้น กับขอจงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยผลบุญ อันเราได้กระทำแล้วทุกเมื่อเถิด.
   
   http://www.baanjomyut.com/library/thammaraksa/mercy.html
   http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=3180.0