ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: mmm
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 05:15:50 pm »

สาธุครับ

 :07: :07: :07:
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2011, 02:48:50 pm »





“เป็นไปตามกรรม”

เมื่อพระเทวทัต   ตกอเวจีมหานรกแล้ว   ภิกษุผู้เป็นพวกของพระเทวทัต     และพวกอัญญเดียรดีย์ทั้งหลาย    ได้พากันโพนทะนาว่า พระเทวทัตถูกพระสมณโคดมสาปแช่ง  จึงถูกแผ่นดินสูบ.  คนทั้งหลายได้ฟังดังนั้นแล้ว   พวกที่ไม่เลื่อมใสในพระศาสนา  เกิดความสงสัยขึ้นว่า  ข้อนี้จะพึงเป็นเหมือนที่คนทั้งหลายพูดหรือไม่.    ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเหตุการณ์นั้น  แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.  ครั้งนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้า  เมื่อจะตรัสปฏิเสธความเข้าใจผิดของคนเหล่านั้นว่า  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ตถาคตไม่ให้การสาปแช่งแก่ใคร ๆ     เพราะฉะนั้น  พระเทวทัตจึงไม่ใช่ถูกเรา(ตถาคต)สาปแช่ง    พระเทวทัตตกนรก     โดยกรรมของตนนั่นแหละ    ดังนี้   จึงตรัสพระสูตรนี้โดยเป็นเหตุเกิดแห่งเรื่องนี้.

(ข้อความบางตอนจาก ... ปรมัตถทีปนี  อรรถกถา  ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ  เทวทัตตสูตร)


 พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงนั้น  เป็นความจริง  เป็นสัจจธรรม     ที่ทำให้ผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษา   มีความเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง เป็นปัญญาของตนเอง,    ธรรมไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน  เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย  ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร  สำหรับเรื่องกรรม และผลของกรรมนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียด ควรที่จะศึกษาให้เข้าใจ เพราะเหตุว่าไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวัน   ซึ่งจะเห็นได้ว่าแต่ละบุคคลย่อมมีกุศลกรรม  อกุศลกรรม ตามการสะสม    และมีการได้รับผลของกรรม ด้วย    เมื่อศึกษาพระธรรมไปตามลำดับก็จะมีความเข้าใจ ว่า  เจตนาเป็นกรรม    เป็นสภาพธรรมที่มีจริง    เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่สะสมอยู่ในจิตทุก ๆ ขณะ    กรรมที่ได้กระทำแล้ว ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม เมื่อได้โอกาสที่จะทำให้ผลเกิดขึ้นผลก็เกิดขึ้น ตามสมควรแก่เหตุ      เริ่มตั้งแต่จิตขณะแรกในภพนี้ชาตินี้(ปฏิสนธิจิต) ก็เป็นผลของกรรม      ถ้าเกิดเป็นมนุษย์   ก็เป็นผลของกุศลกรรม    แต่ถ้าเกิดในนรก อย่างเช่นพระเทวทัต เป็นต้น  ย่อมเป็นผลของอกุศลกรรม ซึ่งไม่มีใครทำ ให้เลย  แต่ต้องเป็นไปตามกรรมที่ตนเองได้กระทำไว้    นอกจากนั้นแล้ว ขณะที่ได้เห็น  ได้ยิน   ได้กลิ่น  ลิ้มรส    รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส   ที่น่าปรารถนาบ้าง   ไม่น่าปรารถนาบ้าง     ล้วนเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว ทั้งนั้น

            เมื่อได้ศึกษาอย่างนี้แล้ว  ควรอย่างยิ่งที่จะสะสมแต่สิ่งที่ดีงามในชีวิตประจำวัน  ไม่ละเลยโอกาสของการทำความดี  แม้ว่าจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม    ในทางตรงกันข้าม  อกุศล  ซึ่งเป็นความชั่วทั้งหลาย ไม่ควรที่จะสะสมให้มีมากขึ้น  ควรถอยกลับจากอกุศลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้      ประการที่สำคัญต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน    จึงจะเป็นเหตุให้กุศลธรรมเจริญขึ้น  และทำให้อกุศลเสื่อมลงได้.

 
**ท่านที่สนใจสามารถติดต่อสอบถาม สนทนาธรรมเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น
ได้ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา   
เลขที่ ๑๗๔/๑ ซอยเจริญนคร ๗๘  แขวงดาวคะนอง เขตธนบุรี  กรุงเทพมหานคร  ๑๐๖๐๐
โทรศัพท์ ๐๒๔๖๘ ๐๒๓๙  และที่ www.dhammahome.com  **