ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 09:56:58 pm »


 

 

 
 

 

 

 

 
ทักษะหนือชั้น...นำมาประยุกต์ใช้!
ไม่รู้ว่าเป็นเพราะภาพยนตร์เรื่อง “นักเตะเสี้ยวลิ้มยี่” ที่ “โจวซิงฉือ” นำแสดง และกวาดความฮาของคนไทยไปอย่างท่วมท้นเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เมื่อเร็ว ๆ นี้ “วัดเส้าหลิน” ได้จัดตั้งทีมฟุตบอลเพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีของนักเตะแดนมังกรหรือไม่...แต่ถึงกระนั้น พวกเขาได้กลายเป็นความหวังเมื่อทางวัดเตรียมคัดตัวลูกศิษย์ที่ฝึกวิชากังฟูกว่าสองพันคนเพื่อหาดาวเด่นมาประดับ วงการแถวหน้า!
 
หลายคนมองเป็นเรื่องที่ไกลความคาดหวัง แต่ด้วยสปริงเท้าและกล้ามเนื้ออันทรงพลังทำให้นักเตะจาก “วัดเส้าหลิน” ถือว่าได้เปรียบ ซึ่งทุกอย่างยังต้องมีการฝึกฝนให้มีความเป็นสากลอีกมาก โดยทางวัดได้จ้าง โค้ชแคเมอรูน มาฝึกฝนให้อยู่ใน “ขั้นเทพ”
 
สำหรับลูกศิษย์ที่เคยผ่านการฝึกอันหนักหน่วงอย่าง เฉิน ลี่ อาจารย์สอนกังฟูเส้าหลินที่โรงเรียนไทย–จีนเส้าหลินกังฟู ให้ทรรศนะถึงเรื่องนี้ว่า ที่ผ่านมามีการปรับนำวิทยายุทธ์กังฟูไปใช้ในสิ่งต่าง ๆ มากมาย เช่น การแสดง การทำอาหาร หรือแม้กระทั่งการวาดรูป ศิลปะกังฟูเป็นสิ่งที่อยู่กับคนจีนมานาน แต่การนำวิทยายุทธ์ไปใช้ในการเล่นฟุตบอลถือเป็นอีกความท้าทาย เนื่องจากโดยปกติที่วัดพอว่างจะมีวิชาเลือกให้ได้ผ่อนคลายซึ่งฟุตบอลก็ได้รับความนิยมอย่างมาก
 
ถ้ามองในการไปแข่งระดับโลกตนยังไม่แน่ใจว่าทีมฟุตบอลเส้าหลินจะชนะหรือไม่ เพราะต้องยอมรับว่านี่คือสิ่งใหม่ แต่หากมองในมุมกลับกันก็จะเป็นการเล่นฟุตบอลที่สวยงามก่อให้เกิดสไตล์การเล่นเฉพาะตัวที่เปี่ยมด้วยความแข็งแกร่ง
 
สิ่งที่เป็นจุดเด่นของผู้ที่ฝึกกังฟูเส้าหลินจะสามารถกระโดดได้สูงโดยไม่ต้องใช้มือช่วย และสิ่งเหล่านี้ทำให้ความแรงในการเตะฟุตบอลค่อนข้างมีมากในลูกกลางอากาศ เช่น การตีลังกาเตะ การกระโดดเตะ หรือจะตีลังกาแล้วกระโดดเตะยังได้ ถือเป็นความคล่องตัวในทักษะเฉพาะตัวสูง แต่สิ่งที่ห่วงอย่างหนึ่งคือวิชากังฟูส่วนใหญ่เน้นใช้พลังในการต่อสู้ซึ่งมองในด้านเทคนิคฟุตบอลจึงเป็นเรื่องยากที่จะครองบอลอยู่กับตัว โดยการครองบอลถือเป็นเรื่องสำคัญของกีฬาที่เล่นเป็นทีม
 
ตำแหน่งผู้เล่นในสนามที่เหมาะกับคนซึ่งผ่านการฝึกกังฟูแบบเส้าหลินควรอยู่ในตำแหน่งกองกลางและกองหน้าที่สามารถยิงบอลได้ด้วยกำลังขาที่แข็งแรง หากให้ดีควรมีการผสมผสานผู้เล่นที่เป็นกังฟูและไม่เป็นเข้าด้วยกัน เนื่องจากต้องยอมรับว่าการผสมผสานแบบใหม่กับแบบเก่าสามารถสร้างทีมให้สู่ความสำเร็จได้
 
ในส่วนของทักษะการฝึกแบบเส้าหลินสามารถนำมาปรับใช้กับฟุตบอลได้คือ 1. ท่าเตะข้าง ที่จะใช้การกระโดดขึ้นและเตะไปด้านข้าง 2. กระโดดหมุนตัวเตะเข้าและออก คล้ายกับท่าแรกแต่มีการหมุนตัวซึ่งต้องใช้ความรวดเร็วอย่างมาก 3. เตะหลังจระเข้ฟาดหาง ถ้าหากนำไปใช้ในการเล่นฟุตบอลต้องมีการกะระยะเตะให้แม่นยำอย่างมาก 4. เตะหมุนตัวออก เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ลูกบอลโด่งด้วยกำลังอย่างมาก 5. โหลวฮ้วนจ้วงจง เป็นวิชาเส้าหลินที่ใช้หัวโหม่งซึ่งต้องมีการฝึกฝนความแข็งแรงของหัว โดยสามารถนำไปใช้ในการโหม่งบอลได้แต่ต้องมีการฝึกกำหนดทิศทาง 6. ไท้เก๊ก เป็นอีกส่วนสำคัญที่สร้างกำลังแขนเหมาะสมกับการเป็นผู้รักษาประตูทั้งปัดและชกบอลออกไปได้ ขณะเดียวกันกำลังการกระโดดสูงก็เป็นอีกส่วนสำคัญให้กระโดดปัดได้สูง
 
“ความยืดหยุ่นของร่างกายหรือการกางขาได้กว้างจะเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญของนักเตะเส้าหลิน นอกจากนี้กำลังขาในการวิ่งย่อมเป็นส่วนดีเพราะศิษย์ส่วนใหญ่ฝึกกำลังขาตั้งแต่เด็ก”
 
ที่ผ่านมายังไม่เคยมีนักฟุตบอลทีมชาติจีนเคยฝึกกังฟูจากวัดเส้าหลิน ซึ่งหากการฝึกครั้งนี้ประสบความสำเร็จอาจเห็นนักฟุตบอลทีมชาติจีนที่มีการเล่นสวยงามจากวัดเส้าหลิน อย่างไรก็ดีโครงการฝึกฟุตบอลของวัดเส้าหลินครั้งนี้เพียงแค่ 2–3 เดือนก็จะรู้ผลว่าจะดีหรือไม่ดี
 
สำหรับนักฟุตบอลไทยแล้วสามารถนำมาปรับใช้ได้ ถ้ายิ่งฝึกกังฟูตั้งแต่เด็กยิ่งทำให้กล้ามเนื้อสัดส่วนต่าง ๆ แข็งแกร่ง ทำให้เมื่อนำไปปรับใช้กับการเล่นบอลจะเป็นผู้เล่นที่แข็งแกร่ง
 
ข้อมูลวิกิพีเดียระบุว่า วิทยายุทธ์วัดเส้าหลินเป็นการฝึกฝนและเสริมสร้างกายภาพของร่างกายที่ดีที่สุดทางหนึ่งของหลวงจีน เป็นการฝึกฝนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย เสริมสร้างสมาธิ สติปัญญา ความมีระเบียบวินัยและคุณธรรม มีความรุนแรงในการปะทะเป็นอย่างมาก เกิดจากลมปราณภายในร่างกายที่ผ่านการฝึกมาเป็นเวลานาน สามารถเจาะทะลวงพื้นอิฐให้เป็นรอยยุบได้อย่างง่ายดาย สามารถเพิ่มความรุนแรงในการต่อสู้ด้วยกำลังภายในหรือลมปราณที่หมั่นฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา
 
จุดเริ่มต้นจากรากฐานของวิทยายุทธ์มีความแตกต่างจากสำนักอื่น โดยเฉพาะศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า เป็นที่เลื่องลือมากที่สุดในกระบวนท่าทั้งหมด เกิดจากการประยุกต์ขึ้นจากธรรมชาติแวดล้อมผนวกกับวิทยายุทธ์ลมปราณที่เกิดจากการนั่งสมาธิวิปัสสนา กลายเป็นกำลังภายในที่มีองค์ประกอบพื้นฐานอยู่หลายอย่างอันเป็นเอกลักษณ์ได้แก่ เพลงหมัดอรุโณทัย เป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่มีความรวดเร็วในการโจมตี เร็วกว่าศัตรูเมื่อปล่อยหมัดออกพร้อมกัน
 
วิทยายุทธ์ตัวเบาเส้าหลิน เป็นพื้นฐานเพื่อใช้สำหรับหลบหนีสัตว์ร้ายในป่า เช่น เสือ หมาป่า ที่วิ่งได้เร็วกว่า เมื่อใช้วิทยายุทธ์ตัวเบา ทำให้สามารถลอยตัวกลางอากาศได้ในระยะหนึ่ง
 
วิทยายุทธ์คงกระพันเส้าหลิน หลวงจีนวัดเส้าหลินมักใช้ว่านชนิดหนึ่งผสมน้ำอาบชำระล้างร่างกายทุกวัน ซึ่งว่านที่ใช้ผสมน้ำอาบนั้นมีสรรพคุณทางการป้องกันร่างกายจากอาวุธทุกประเภทได้เป็นอย่างดี ขณะที่ วิทยายุทธ์ลมปราณ เกิดจากการกำหนดจิตและกายรวมเป็นหนึ่ง ลมปราณจากการกำหนดพลังแฝงภายในร่างกายจะแสดงออกมาในรูปของเพลงหมัดและเพลงเตะที่มีความหนักแน่นและดุดัน
 
ถือเป็นอีกเรื่องที่ต้องติดตามว่า การใช้วิทยายุทธ์ของเส้าหลิน จะสามารถนำมาโลดแล่นบนผืนหญ้าและเรียกศรัทธาจากแฟนบอลจีนกลับมาได้หรือไม่!?.
 
...........................................
18 อรหันต์
 
18 อรหันต์ ในวัดเส้าหลินเมื่อกล่าวถึงด่าน 18 อรหันต์, ค่ายกล 18 อรหันต์, 18 ด่านมนุษย์ทองคำและการฝึกเพลงหมัดมวยในสมัยโบราณ เมื่อหลวงจีนสำเร็จวิชาถึงขั้นสูงสุด จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องฝ่าด่าน 18 อรหันต์ให้ได้เสียก่อน จึงจะถือว่าสำเร็จวิชากังฟูจากวัดเส้าหลินอย่างแท้จริง และสามารถเดินทางลงจากเทือกเขาซงซานได้ แท้จริงแล้วคำว่า “18 อรหันต์” ที่ปรากฏในภาพยนตร์จีนและนวนิยายกำลังภายในในวัดเส้าหลินคือพระพุทธรูปจำนวน 18 องค์ที่ประดิษฐานล้อมองค์พระประธานในอารามหลวง
 
ในอารามหลวงต้าโสวงเป่าเตี้ยนหรือพระอุโบสถใหญ่ในพระพุทธศาสนานิกายอาจริยวาท หรือมหายาน บริเวณกึ่งกลางของอุโบสถ จะประดิษฐานพระประธานสามองค์คือ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์มัญชุศรี และพระโพธิสัตว์โลเกศวร บริเวณด้านขวามือของพระประธานทั้งสามองค์ จะเรียงรายด้วยรูปสลักของพระจำนวน 18 องค์ ซึ่งคือ 18 อรหันต์ โดยคำว่า อรหันต์ หมายถึงสาวกจำนวน 16 รูปของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระอรหันต์ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาสายมหายาน.
 
ทีมวาไรตี้
 
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=486&contentID=139542
 
http://pad.fix.gs/index.php?topic=1314.0

http://www.youtube.com/watch?v=bREfcVPssiE#ws