ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: Pure+
« เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2011, 09:31:39 am »

ตกลงเราบ้า หรือคนใส่สูทบ้า..???? :15:
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2011, 05:32:36 am »



 ที่สุดแห่งการถือสา...

 

เคยมีคนกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า 
ถ้าหากจะย่อหลักธรรมของพระองค์ให้เหลือเพียงสั้นๆ
ทว่าครอบคลุมใจความทั้งหมดแห่งพระพุทธศาสนา
จะสรุปได้ว่าอะไร  พระองค์ตรัสว่า  หากจะให้สรุปเช่นนั้น   
ก็ขอสรุปว่าใจความแห่งคำสอนของพระองค์ขึ้นอยู่กับประโยคที่ว่า 

‘สัพเพ   ธัมมานาลัง   อะภินิเวสายะ   
ใดใดในโลกอันบุคคลไม่ควรยึดติดถือมั่น’ 
ทำไมจึงไม่ควรยึดติดถือมั่น 
เพราะที่ใดมีความถือมั่น   ที่นั่นก็มีความทุกข์ 
ความทุกข์ขยายตัวตามระดับความเข้มข้นของความยึดติด
ยึดมาก  ติดมาก   จึงทุกข์มาก   ไม่ยึด   ไม่ติด   จึงไม่ทุกข์ 
ความไม่ยึดติดถือมั่น  กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า  ‘การปล่อยวาง’

ทำไมจึงต้องปล่อยวาง เพราะทุกอย่าง ‘มีความว่าง’ มาแต่เดิม
คนที่หลงกอด ‘ความว่าง’ โดยคิดว่าเป็น  ‘ความมี’
ทำไมจะไม่ทุกข์ล่ะหลายคนชอบกอดไว้หมดทุกเรื่อง
ทุกปัญหา ทุกคน แล้วยกขึ้นไปแบกไว้บนบ่า
จากนั้นก็มานั่งเป็นทุกข์ว่าทำไมชีวิตถึงได้เหนื่อยล้าขนาดนี้ 
หมดเรี่ยวหมดแรงเหมือนโลกทั้งโลกกำลังกดทับ
ก็เล่นถือเอาทุกเรื่องเป็นเรื่องของตัวหมดเลยนี่
ถ้าไม่แบกเอาไว้ก็คงไม่หนัก ถ้าไม่ถือเอาไว้ก็คงไม่เหนื่อย
แต่ก็นั่นแหล่ะ บางคน  ‘วาง’ ไม่เป็น มีจิตฟุ้งซ่าน
ต้องการจะเป็นธุระไปเสียทั้งหมด   
ก็ต้องแลกเอากับผลลัพธ์ที่ทำให้เหน็ดเหนื่อย
 
มีเรื่องเล่าชวนคิดเรื่องหนึ่งว่า 
พระบวชใหม่รูปหนึ่งเดินบิณฑบาตผ่านชุมชนแห่งหนึ่ง
ซึ่งมีผู้คนจอแจ  ขณะเดินสำรวมก้มหน้าแต่พอประมาณ
เพื่อเดินผ่านชุมชนไปอย่างช้าๆ  นั่นเอง จู่ๆ   
มีชายผู้หนึ่งใส่สูท   ผูกเนคไท   สวมแว่นตาดำ   
เดินเข้ามาหาท่าน   พร้อมชี้หน้าด่าท่านอย่างสาดเสียเทเสีย 
พระรูปนั้นตกตะลึง รีบเดินหนี  แต่แม้ท่านจะเดินหนีชายคนนั้นพ้นแล้ว
แต่เสียงด่าทอของเขายังก้องอยู่ในโสตประสาทของท่าน
อย่างชัดถ้อยชัดคำเมื่อกลับมาถึงวัด พลันที่คิดถึงเหตุการณ์
ที่ตนถูกชี้หน้าด่ากลางฝูงชน พระหนุ่มก็รู้สึกโกรธจนหน้าแดงก่ำ
ยิ่งคิดต่อไปว่าชายคนนั้นมาชี้หน้าด่าตนซึ่งเป็นพระ
และตนก็จำได้ว่าตั้งแต่บวชเข้ามาในพระธรรมวินัย
ก็ยังไม่เคยทำอะไรผิดคิดมาถึงขั้นว่าตนไม่ผิด
แต่ทำไมตนต้องถูกด่า ยิ่งเจ็บ ยิ่งแค้น
วันที่ท่านถูกด่ากลางชุมชนนั้นเป็นวันศุกร์
แต่ตกถึงเช้าวันจันทร์ท่านก็ยังไม่หายโกรธ
เช้าวันจันทร์นั้น พระบวชใหม่ประคองบาตรเดินผ่านชุมชนนั้นเหมือนเดิม
ท่านพยายามสอดส่ายสายตามองหาชายคนเดิม
ตั้งใจว่าวันนี้จะต้องถามให้รู้เรื่องว่าเหตุใดจึงมาชี้หน้าด่าตน
เมื่อวันศุกร์ที่แล้วยิ่งพยายามค้นหา  กลับยิ่งไม่พบ
ท่านจึงเดินสำรวจรับอาหารบิณฑบาตต่อไป
จนได้อาหารเต็มบาตรแล้วจึงเดินกลับวัด
ระหว่างทางกลับวัด โดยไม่คาดฝัน
พระหนุ่มทอดสายตาไปพบกับชายคนหนึ่ง
สวมสูท ผูกเนคไท ใส่แว่นตาดำ  ท่านอุทานในใจว่า
“ อ๋อ   เจ้าคนนี้เองที่ด่าฉันเมื่อวันศุกร์ ”
ภาพที่เห็นคือ ชายแต่งตัวดีคนนั้น
นอนหลับหมดสติอยู่ข้างศาลเจ้าแม่แห่งหนึ่ง
ข้างๆ ตัวเขามีขวดเหล้าล้มกลิ้งอยู่
พอท่านพยายามเดินเข้าไปมองใกล้ๆ เขาจึงเริ่มรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา
พอเห็นท่านเท้านั้นชายคนนั้นก็ร้องขึ้นมาว่า
“ ขอเดชะ   พระอาญาไม่พ้นเกล้าฯ   
บัดนี้พระองค์ทรงกลับมาครองพาราณสีอีกครั้งหนึ่งแล้วกระนั้นหรือ …
” ว่าแล้วก็ลุกขึ้นรำเฉิบๆ พลันที่ท่านประเมินได้ว่าชายแต่งตัวดี 
คนที่ชี้หน้าด่าท่านเมื่อวันศุกร์ที่แล้วเป็นคนบ้าที่มาในร่างของคนแต่งตัวดีเท่านั้น
ความโกรธที่ก่อตัวเป็นเมฆดำทะมึนอยู่ในใจของท่าน
มานานถึงสามวันก็อันตรธานไปอย่างง่ายดายชนิดไร้ร่องรอย
ทำไมเราจึงปล่อยวางต่อคนบ้าได้ง่ายดายเหลือเกิน แต่กับคนปกติ 
ทำไมเราจึงมีความรู้สึกว่าต้อง...เอาเรื่องราว...ให้...ถึงที่สุด

เราบ้าหรือเปล่า?


ขอบพระคุณที่มา http://www.athingbook.com/detail.php?dd=300