ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2011, 10:54:12 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2011, 11:47:27 am »





อาจคลาดเคลื่อน ต้องเตือนให้ระวัง ( ๑ )
พระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต )

ลักษณะของหลักกรรมนี้ เป็นเรื่องที่น่าพิจารณา เพราะกรรมเป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนาจะต้องมีการเน้นอยู่เสมอ หลักการของศาสนานั้น ก็เหมือนกับหลักการปฏิบัติทั่วไปในหมู่มนุษย์ เมื่อเผยแพร่ไปในหมู่มนุษย์วงกว้าง ซึ่งมีระดับสติปัญญาต่างกัน มีความเอาใจใส่ต่างกัน มีพื้นเพภูมิหลังต่างๆกัน นานๆเข้าก็มีการคลาดเคลื่อนเลือนลางไปได้ จึงจะต้องมีการทำความเข้าใจกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ

     เรื่องกรรรมนี้ก็เหมือนกัน เมื่อเผยแพร่ไปในหมู่ชนจำนวนมากเข้า ก็มีอาการที่เรียกว่าเกิดความคลาดเคลื่อน มีการเฉไฉ ไขว้เขวไปได้ ทั้งในทางการปฏิบัติและความเข้าใจ หลักกรรมในพระพุทธศาสนานี้ ท่านสอนไว้เพื่ออะไร ที่เราเห็นชัดก็คือ เพื่อไม่ให้แบ่งคนโดยชาติกำเนิด ให้แบ่งโดยความประพฤติ โดยการกระทำ นี่เป็นประการแรก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าประพฤติดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ"

     คนไม่ใช่ต่ำทรามเพราะชาติกำเนิด แต่คนจะเป็นคนต่ำทราม ก็เพราะกรรมคือการกระทำคน มิใช่จะเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิด แต่เป็นพราหมณ์ คือผู้บริสุทธิ์ คือคนดีคนประเสริฐ ก็เพราะกรรมคือการกระทำตามหลักการนี้ พระพุทธศาสนายึดเอาการกระทำ หรือความประพฤติมาเป็นเครื่องแบ่งแยกมนุษย์ ในแง่ของความประเสริฐหรือความเลวทราม ไม่ให้แบ่งแยกโดยชาติกำเนิด ความมุ่งหมายในการเข้าใจหลักกรรมประการที่สองที่ท่านเน้น ก็คือการรับผิดชอบต่อตนเอง คนเรานั้นมักจะซัดทอดสิ่งภายนอกซัดทอดปัจจัยภายนอก ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง เวลามองหาความผิดต้องมองไปที่ผู้อื่นก่อน มองที่สิ่งภายนอกก่อน แม้แต่เดินเตะกระโถน ก็ต้องบอกว่าใครเอากระโถนมาวางซุ่มซ่าม ไม่ว่าตนเดินซุ่มซ่าม เพราะฉะนั้นจึงเป็นลักษณะของคนที่ชอบซัดทอดปัจจัยภายนอก แต่พระพุทธศาสนาสอนให้รับผิดชอบการกระทำของตนเองให้มีการสำรวจตนเองเป็นเบื้องต้นก่อน

     ประการต่อไป ท่านสอนหลักกรรม เพื่อให้รู้จักพึ่งตนเอง ไม่ฝากโชคชะตาไว้กับปัจจัยภาย
นอก ไม่ให้หวังผลจากการอ้อนวอนนอนคอยโชค ให้หวังผลจากการกระทำ หลักกรรมในพระ
พุทธศาสนาสอนว่า "ความสำเร็จเกิดขึ้นจากการกระทำตาม ทางของเหตุผล"

http://dhammathai.org/store/karma/view.php?No=4