ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2011, 10:34:23 pm »

ขอเป็นสะเดา น้ำปลาหวาน ไม่เอาปลาดุก ได้ป่าว :03: :03:


จัดให้ชุดใหญ่เลยยยย ส่วนปลาดุกเดี๋ยวต้องเคลียเอง อิ อิ
ข้อความโดย: Siranya
« เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2011, 10:52:53 pm »

ขอเป็นสะเดา น้ำปลาหวาน ไม่เอาปลาดุก ได้ป่าว :03: :03:
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 11:35:21 pm »

บำรุงสุขภาพกันซะหน่อย ด้วยรักและห่วงใยอ่ะค่ะ :12:
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 09:14:03 pm »

 :45: -ขอบคุณครับพี่ต้องช่วงนี้อาหารเกี่ยวกับปลาเยอะนะครับ ^^
น่าทานครับพี่ต้องขอบคุณครับ
ข้อความโดย: สายลมที่หวังดี
« เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 11:17:18 pm »




สะเดาเป็นผักพื้นบ้านที่มีรสขม ซึ่งคนไทยนิยมรับประทานเป็นผักตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น คนไทยชอบรับประทานดอกสะเดาในช่วงต้นของฤดูหนาว เนื่องจากเชื่อว่า การกินสะเดาก่อนที่จะเป็นไข้ป้องกันได้ แต่ถ้ากินเมื่อเป็นแล้ว สามารถรักษาให้หายได้ (แต่ต้องเป็นไข้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ อุตุสมุฎฐานที่ร่างกายปรับไม่ทัน) จะทำให้มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกใส คนโบราณเรียกว่า ?ไข้หัวลม ?การรับประทานสะเดานั้นคนภาคกลางนิยมรับประทานกับน้ำปลาหวานและปลาดุกย่าง เนื่องจากรสหวานของน้ำปลาหวานจะช่วยกลบรสขมของสะเดาได้ จึงทำให้รู้สึกรสชาติกลมกล่อม(อร่อย) เจริญอาหารยิ่งขึ้น


เครื่องปรุง

น้ำตาลปีบ 2 ถ้วย (200 กรัม)
น้ำมะขามเปียกข้น ๆ 1 ถ้วย (80 กรัม)
น้ำปลา 1 ถ้วย (80 กรัม)
หอมแดงเจียว 1 ถ้วย (50 กรัม)
กระเทียมเจียว 1 ถ้วย (50 กรัม)
พริกขี้หนูแห้งหั่นบางๆทอดกรอบ 1 ถ้วย (50 กรัม)
ดอกสะเดาอ่อน 5-10 กำ (500 กรัม)
ปลาดุกอุย 2 ตัว (400 กรัม)
น้ำมันพืชสำหรับทา 1-2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)


วิธีทำ

น้ำเครื่องปรุงน้ำปลาหวาน
1. ล้างสะเดาให้สะอาด อย่าให้ช้ำ ต้มน้ำให้เดือดเทใส่ภาชนะที่ใส่สะเดาไว้ให้ท่วม ปิดฝา
2. ผสมน้ำตาล น้ำมะขาม น้ำปลา เข้าด้วยกัน ตั้งไฟกลางค่อนข้างเคี่ยวจนเหนียวพอเคลือบพายติด ยกลง
3. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยหอมแดง กระเทียม พริกเสิร์ฟพร้อมสะเดา และปลาดุกย่าง



เครื่องปรุงปลาดุกย่าง
1. ล้างปลาให้สะอาด ผ่าท้อง ควักไส้ออก ล้างให้สะอาด บั้งปลาเฉียงๆ ทั้งสองด้าน
2. นำปลาขึ้นย่างบนตะแกรงที่ทาน้ำมันไว้แล้ว หรือจะทาที่ตัวปลาก็ได้ ย่างไฟกลาง จนสุกเหลืองทั้งสองด้าน



วิธีการลวกสะเดา
ให้นำดอกสะเดาลวกในน้ำเดือด หรืออาจใช้วิธีต้มลงในน้ำเดือดหรือน้ำข้าวร้อนๆ เพื่อลดความขมลงก็ได้ มรกรณีที่ดอกสะเดาออกมาก รับประทานไม่ทัน ชาวบ้านจะมีวิธีเก็บสะเดาไว้รับประทานนานๆ (การถนอมอาหาร) โดยการเก็บดอกสะเดามาลวก 1 ครั้ง แล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท เก็บไว้ในที่สะอาดและโปร่ง เมื่อต้องการจะรับประทานก็นำดอกสะเดาแห้งมาลวกน้ำร้อนอีกครั้งหนึ่งก็จะได้สะเดาที่มีรสจืด (ไม่ขมหรือขมน้อย) ลักษณะเช่นเดียวกับสะเดาสดทุกประการ




สรรพคุณทางยา
1. ดอกสะเดา รสขมจัด ช่วยเจริญอาหาร บำรุงธาตุ แก้ไข้หัวลม
2. น้ำมะขามเปียก รสเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ เป็นยาระบายแก้ท้องผูก
3. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
4. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมี      ฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
5. พริกขี้หนูแห้ง รสเผ็ด ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย



ประโยชน์ทางอาหาร
สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่าง นิยมใช้เป็นผักในช่วยฤดูหนาว โดยการนำมาลวกกับน้ำร้อน รับประทานกับน้ำปลาหวานและปลาดุกย่าง เพื่อช่วยบรรเทาความร้อนและเจริญอาหาร พร้อมๆ กับการป้องกันการเกิดไข้หัวลมในช่วงที่ธาตุน้ำกระทบธาตุไฟในต้นฤดูร้อน สะเดารสขมจึงบำรุงธาตุไฟและธาตุน้ำเป็นอย่างดี ปรับธาตุทั้งสองเป็นลำดับใครรู้สึกว่าธาตุใดแปรปวนก็แต่งรสให้สอดคล้องตามธาตุของตัวเอง บางครั้งมีปลาเผา ปลาดุดย่าง รับประทานร่วมด้วยก็ยิ่งเสริมธาตุดินมากยิ่งขึ้น

คุณค่าทางโภชนาการ
สะเดา-น้ำปลาหวาน-ปลาดุกย่าง 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 1938 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

- น้ำ 96 กรัม
- โปรตีน 27.8 กรัม
- ไขมัน 16.1 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 331.3 กรัม
- กาก 24.6 กรัม
- ใยอาหาร 8 กรัม
- เถ้า 2.5 กรัม
- แคลเซียม 2038.2 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 751.7 มิลลิกรัม
- เหล็ก 72.5 กรัม
- เรตินอล 2.2 ไมโครกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 18055 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 25388 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 139.34 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 1.2 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 24.85 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 984.40 มิลลิกรัม


ขอขอบคุณที่มา  http://www.samunpri.com/food/?p=50