ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2011, 11:37:39 pm »

 :13: อนุโมทนาครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2011, 05:52:56 pm »

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2011, 05:40:02 pm »




มหาภารตะยุทธ :: มหาสงครามระหว่างธรรมะและอธรรม

… “การอ่าน มหากาพย์มหาภารตะ ช่วยให้จิตใจของเรามีความเข้มแข็ง
วรรณกรรมชิ้นนี้ สอนให้เราตระหนักถึงความจริงที่ว่า เวรย่อมก่อให้เกิดเวร

ความโลภและการใช้ความรุนแรง มีแต่จะนำมนุษย์ไปสู่ความพินาศหายนะ
และการชนะที่แท้จริงนั้น อยู่ที่การชนะธรรมชาติฝ่ายต่ำในตัวของเราเอง” …



กาลเวลาเป็นผู้สร้าง กาลเวลาเป็นผู้ทำลาย
กาลเวลาเป็นเพลิงเผาไหม้ กาลเวลาเป็นเครื่องดับไฟนั้น

กาลเวลาเป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ทั้งความดีและความชั่ว

กาลเวลาฟาดฟันเราให้หมองมัวและมอดม้วย

กาลเวลาช่วยสร้างสรรค์เราขึ้นมาใหม่

กาลเวลาไม่เคยหลับใหลในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างหลับหมด
กาลเวลาเท่านั้นที่ยืนยงคงยศในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างล้มล่ม

ปัจจุบัน อดีต และอนาคต อันอุดม ล้วนเป็นลูกของกาลเวลา

หากจะพรรณนาถึงมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ ชาวไทยมักเคยคุ้นกับมหากาพย์รามายณะ หรือรามเกียรติ์ อันเป็นการต่อสู้ระหว่างพระเป็นเจ้าองค์นารายณ์อวตาร และอสูรนามทศกัณฑ์ เพราะถือเป็นหนึ่งในวรรณคดีชั้นสูงของไทย และเป็นหนึ่งเดียวที่ได้รับการนำมาเนื้อเรื่องสำหรับการแสดงโขน อย่างไรก็ตาม มหากาพย์อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีความยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน นั่นคือ มหาภารตะยุทธ ถึงกับมีคำกล่าวว่า

“โอสถล้างตาช่วยให้นัยน์ตาสว่างขึ้นได้ฉันใด มหากาพย์มหาภารตะก็ช่วยให้โลกเกิดความสว่างไสวขึ้นได้ฉันนั้น จิตใจมนุษย์จักเบิกบานได้ด้วยมหากาพย์มหาภารตะ ดุจเดียวกับที่อัมพุชชาติเบิกบานได้ด้วยแสงพระจันทร์ มหากาพย์มหาภารตะเป็นประทีปที่ทำลายความมืดมนอนธกาล และอำนวยแต่ความสว่างสดใส มหากาพย์มหาภารตะเป็นพฤกษชาติอุดมด้วยดอกใบที่ไม่รู้จักอับเฉา หากมีผลอันหอมหวาน”

หากเป็นดังนี้แล้ว เราหรือควรละเว้น การศึกษามหากาพย์เรื่องนี้

ข้าพเจ้าเริ่มอ่านหนังสือเรื่องมหาภารตะ ที่ได้รับการแปลและเรียบเรียงโดย ท่านกรุณา - เรืองอุไร กุศลาสัย ตั้งแต่อยู่มัธยม และจดจำเรื่องราวได้ดี จนทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม เห็นว่าเนื้อหาที่ท่านทั้งสองได้เรียบเรียงนั้น ค่อนข้างเป็นบทสรุป เพราะหนังสือเล่มไม่ใหญ่เท่าที่ควร ต่อมาได้ฟังเรื่องเล่าจากมหากาพย์มหาภารตะทางรายการคุยกันจันทร์ถึงศุกร์ ของคุณวีระ ธีรภัทร จึงได้ทราบว่า มหากาพย์เรื่องนี้ รายละเอียดมากมายนัก และในเรื่องใหญ่ ๆ นั้น ก็มีเรื่องเล็กย่อย และเป็นเกร็ดความรู้อันประมาณไม่ได้ เมื่อคุณวีระได้ตัดสินในทำหนังสือเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ข้าพเจ้าจึงไม่ลังเลที่จะเป็นเจ้าของ อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ เรื่องที่เป็นเกร็ดความรู้ ที่ท่านผู้เขียนเคยเล่าไว้ในรายการวิทยุ ก็ไม่ปรากฏอยู่ในหนังสือ การเปิดหู เปิดตา จึงเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้ได้ทราบความต่าง ๆ ในเรื่องนี้ได้ครบถ้วน

มหาภารตะ (อักษรเทวนาครี: महाभारत) บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า ภารตะ โดยประพันธ์เป็นโศลกภาษา สันสกฤต ตามตำนานกล่าวว่าผู้แต่งมหากาพย์เรื่องนี้คือ ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส ในขณะที่ท่านดำริที่จะประพันธ์เรื่องมหาภารตะนั้น ท่านต้องการหาผู้จดบันทึกให้มีความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และมีภาษางดงามเหมาะเจาะ ท้ายที่สุด ท่านฤๅษีวยาส ได้อัญเชิญพระคเณศ อันเป็นเทพแห่งความรู้ มาดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ พระคเณศมีข้อแม้ว่า ฤๅษีวยาสจะต้องเล่าเรื่องต่อเนื่องจนจบ ห้ามมีการสะดุดหยุดพักเป็นอันขาด ในขณะเดียวกันฤๅษีวยาส ได้ขอให้พระคเณศรับคำว่า ในการจดบันทึกนั้น พระคเณศจะต้องเข้าใจทุกตัวอักษร และเมื่อฤๅษีวยาสต้องการพักผ่อน ก็จะพรรณนาหลักธรรมอันลึกซึ้ง เพื่อให้พระคเณศใช้เวลาขบคิดไปพลางก่อน จึงนับได้ว่า เรื่องราวมหากาพย์มหาภารตะนี้ ได้มีที่มาจากนักปราชญ์บันลือโลกทั้งสององค์อย่างแท้จริง

มหาภารตะ นับเป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อยๆ แทรกอยู่มากมาย ซึ่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่างๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย

เนื้อหาของเรื่องเป็นการพรรณนาถึงสงครามขับเคี่ยวกันระหว่างพี่น้องสองตระกูล คือตระกูลเการพ กับตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษคนเดียวกัน คือท้าวภรตแห่งกรุงหัสตินาปุระ เหตุการณ์ได้บานปลายจนกลายเป็นมหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร (ซึ่งอยู่ใกล้ๆกรุงเดลฮีในปัจจุบัน) การรบครั้งนี้ ต้องเสียรี้พลไปจำนวนมากสุดจะคณนานับได้ เป็น การต่อสู้ระหว่างฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม ความดีและความชั่ว ตลอดจน ถึงความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์กุรุ (แห่งแคว้นกุรุรัฐ) ความดีงามของนางคานธารี ความปราดเปรื่องด้วยปัญญาของท้าววิทูร ความอดทนหนักแน่นของนางกุนตี ความเป็นเทพเจ้า (ทิพยภาวะ) ของพระกฤษณะ ความซื่อสัตย์ของพี่น้องปาณฑพทั้ง ๕ และกรรมชั่ว (บาปกรรม) ของพี่น้องเการพทั้ง ๑๐๑ คน ของท้าวฤตราษฎร์

แม้ว่าท้ายที่สุดพี่น้องปาณฑพได้ชัยชำนะเหนือสงครามทุ่งกุรุเกษตร แต่ความสูญเสียของพี่น้องทั้งสองฝ่ายสุดพรรณนาได้จริง ๆ แม้ไม่นับเหล่าเสนาระดับพลทหาร แม้แม่ทัพนายกองอันลือชื่อหลายต่อหลายคน ต้องสังเวยชีวิตแก่มหาสงครามนี้ ... อย่างไรก็ตาม ที่ใดมีสงคราม ที่นั่นย่อมมีวีรบุรุษ และไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มหาสงครามสร้างให้อรชุนและพระกฤษณะ เป็นเทพเจ้าไปโดยปริยาย

บทส่งท้าย

การศึกษามหากาพย์มหาภารตะ พึงกระทำด้วยจิตอันมีศรัทธา ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้ว แม้ศึกษาจริง ๆ เพียงหน้าหนังสือหน้าเดียว ก็จะช่วยชำระล้างจิตใจของผู้ศึกษาให้ใสสะอาดได้ มหากาพย์มหาภารตะมีความเลอเลิศอยู่ในท่ามกลางงานวรรณกรรม ดุจเดียวกับเนยใสมีความเลอเลิศอยู่ในท่ามกลางนมเปรี้ยว พราหมณ์มีความเลอเลิศอยู่ในท่ามกลางฝูงชน น้ำอมฤตมีความเลอเลิศอยู่ในท่ามกลางเภสัชทั้งหลาย ผู้ใดที่เข้าถึงมหากาพย์มหาภารตะ ผู้นั้นย่อมปลอดภัย ทั้งนี้ก็เพราะว่าการบำเพ็ญคุณธรรมก็ดี การศึกษาก็ดี การแสวงหาความจริง และการแสวงหาทรัพย์สินก็ดี เหล่านี้ล้วนเป็นกุศลกรรม การนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิดต่างหากที่ก่อให้เกิดภยันตราย

เพราะฉะนั้น สัตบุรุษพึงละทิ้งความเฉื่อยชา แล้วเร่งบำเพ็ญคุณงามความดี ความดีเท่านั้นที่เป็นมิตรของมนุษย์ ก็ใครเล่าจะสามารถครอบครองทรัพย์สิน และลูกเมียไว้ได้ตลอดไป ใครเล่าจะสามารถนำสิ่งเหล่านี้ติดตัวไปได้ในชีวิตข้างหน้า

แนะนำหนังสือ



nelumbo
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑
http://mblog.manager.co.th/nelumbo/th-18540/