ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2011, 09:51:48 pm »








เช้าวันหนึ่ง สามเณรราหุลกำทรายขึ้นมาหนึ่งกำมือ ตั้งความปรารถนาว่า

   
   
      “วันนี้ ข้าพเจ้าพึงได้รับคำสั่งสอนจากสำนักพระบรมศาสดา สำนักพระอุปัชฌาย์ แลสำนักพระอาจารย์ทั้งหลายให้ได้ประมาณเท่าเม็ดทรายในกำมือของข้าพเจ้านี้”
     
      เวลาผ่านไปกว่าสองพันห้าร้อยปี...
     
      สามเณรกลุ่มใหญ่เดินลงบันไดโบสถ์มาเป็นแถว จัดแจงใส่สมุดและปากกาลงในย่าม ก่อนเดินเข้าห้องเรียนไปด้วยความปรารถนาเดียวกับสามเณรรูปแรกแห่งพุทธศาสนา นั่นคือ ปรารถนาแห่งปัญญาและการพัฒนาตนเอง
     
      เดือนเมษายน แม่น้ำปัวลดระดับลงตามฤดูกาล ยามน้ำเหือดดินแห้งเช่นนี้เป็นที่รู้กันว่า จะปลูกเมล็ดพันธุ์ใดก็ไม่ใคร่งอกงาม  ยกเว้นการปลูก “เมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะ” ลงในจิตใจของเด็กๆ ลูกหลานไทย
     
      เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กชายตัวเล็กๆ ที่มีใจใฝ่เรียนรู้ ได้บวชเรียนในทางธรรมและทางโลก โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดปรางค์ อ.ปัว จ.น่าน จึงได้จัดโครงการบรรพชาสามเณรศาสนทายาท จำนวน 40 รูปขึ้น โดยถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
     
      เนื่องจากเป็นงานบุญใหญ่ประจำปี บรรยากาศในวัดวันนี้จึงเต็มไปด้วยญาติโยมที่ต่างพาบุตรหลานมาบวชเรียนในสำนักพระบรมศาสดากันอย่างคลาคล่ำ แม้อากาศจะร้อนแดดจะแรง แต่ทุกคนก็ตั้งใจเดินทางมาร่วมงานบุญครั้งนี้ด้วยใบหน้าที่ผ่องใส ส่วนบนศาลาริมน้ำ เด็กชายกลุ่มใหญ่ในชุดขาว ศีรษะเกลี้ยงเกลา กำลังซักซ้อมกล่าวคำขอบรรพชาอย่างพร้อมเพรียงกัน พิธีกรรมทางศาสนาในวันนี้มีความสำคัญต่อพวกเขาและพ่อแม่นัก เพราะเป็นการแสดงถึงช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านจากชีวิต “เด็กชาย” คนหนึ่งที่ชอบวิ่งเล่นสนุกสนาน มาเป็น “สามเณร” ผู้รักษาศีลรักษาธรรมและมุ่งปฏิบัติตนตามธรรมวินัย
     
      เณรคำ หรือ สามเณรพรชัย สมบูรณ์ไพรวัลย์ เล่าย้อนให้ฟังถึงวันแรกที่ตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องแบบชุดนักเรียนมาห่มผ้าไตรจีวรว่า
     
      “ผมเป็นชนเผ่าลั้วะ บ้านผมอยู่บนดอย พอเรียนจบ ป.6 ก็ตั้งใจจะเรียนต่อทางโลก ตอนนั้นพี่ชายเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พ่อแม่เลยไม่มีเงินส่งผมเรียน ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร พอดีอาจารย์มหายุทธนาท่านไปแนะแนวว่า โรงเรียนพระปริยัติธรรมเรียนฟรีทุกอย่าง ขอแค่มาบวชเณร ผมก็ตัดสินใจวันนั้นเลยว่าจะบวช”
     
      เณรมีความใฝ่ฝันไหม โตขึ้นอยากเป็นอะไร
     
      "อนาคตผมอยากเป็นพระที่เรียนมหา อยากบวชเรียนจนถึงที่สุด จะได้ช่วยเผยแผ่พระศาสนาด้วย"
     
      มูลนิธิเด็ก เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาของสามเณร จึงจัดกิจกรรมการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้ดำเนินการร่วมกับวัดและโรงเรียนพระปริยัติธรรมจำนวน 17 แห่ง บรรพชาสามเณรจำนวน 963 รูป และบวชศีลจาริณีอีก จำนวน 900 คน นอกจากนั้นยังกิจกรรมการศึกษาสามเณร ซึ่งมีเป้าหมายปฏิรูปการเรียนรู้ของสามเณร พัฒนาสามเณรให้เติบโตขึ้นเป็นศาสนทายาทที่ดีมีคุณภาพ สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
     
      และเนื่องในวาระเฉลิมอายุ 72 ปี พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ในปี 2554 มูลนิธิเด็กยังได้จัดโครงการ “นิทานธรรมจากหลวงตา...สู่สามเณรในชนบท” ขึ้น เพื่อเชิญชวนให้ผู้มีจิตกุศลซื้อสมุดบันทึกนิทานประจำปี 2554 โดยมีนิทานธรรมประจำเล่มคือ "เด็กชายนกกับคางคกตัวดำ" เพื่อถวายแด่สามเณร ซึ่งขณะนี้สมุดบันทึกนิทานหลายร้อยเล่มได้เดินทางถึงมือน้อยๆ ของผู้รับเรียบร้อยแล้ว
     
      จากประสบการณ์หลายปีที่ทำงานร่วมกับโรงเรียนพระปริยัติธรรมหลายแห่ง ไกรพ วงศ์อมรอัครพันธ์  เจ้าหน้าที่มูลนิธิเด็ก มองภาพรวมการศึกษาของสามเณรด้วยสายตาของพุทธศาสนิกชนและสายตาของผู้ใหญ่คนหนึ่งในสังคมว่า
     
      “สามเณรในชนบทก็เป็นเด็กและเยาวชนกลุ่มหนึ่งที่ขาดโอกาสทางการศึกษา จึงใช้ประเพณีดั้งเดิมของไทยคือการบวชเรียน มาชดเชยโอกาสที่ไม่ได้รับ มูลนิธิเด็กซึ่งทำงานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนมาโดยตลอด ได้ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรของโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งหลาย โดยช่วยเหลือเกื้อกูลสามเณรบนพื้นฐานของการร่วมทำในสิ่งที่เห็นร่วมกัน"
     
      สมาชิกในสังคมทุกคนสามารถให้การสนับสนุนสามเณรได้เช่นกัน โดยเริ่มจากการมีทัศนคติที่ดี มองว่าสามเณรก็คือเด็กและเยาวชนในสังคมที่เข้ามาบวชเพื่อศึกษาวิชาทางโลกและพัฒนาตนเอง รวมถึงศึกษาทางธรรมเพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนา สามเณรจึงต้องอาศัยญาติโยมอุปถัมภ์ค้ำจุน แม้สามเณรจะถือศีลไม่เท่าพระสงฆ์ แต่สามเณรก็กำลังแบกรับภารกิจสำคัญคือการสืบต่อพระศาสนา การอุปถัมภ์สามเณรต้องเริ่มจากทัศนคติที่ดีเป็นพื้นฐานก่อน
     
      หากการบวชคือการปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะในจิตใจของสามเณรน้อย แรงเกื้อหนุนจุนเจือจากผู้คนร่วมสังคมก็คงไม่ต่างอะไรกับการรดน้ำเมล็ดพันธุ์นั้นให้งอกงาม

   
     
      เพราะทุกคนก็คงมีความหวังไม่ต่างกันว่า วันหนึ่งเนื้อนาบุญรูปน้อยๆ เหล่านี้จะเติบโตเป็นเนื้อนาบุญอันไพศาลแห่งพระศาสนา... สืบไป
     
     
     
     
      http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/hi-life/20110525/392200/เนื้อนาบุญน้อยๆ-นาม-สามเณร.html