ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2011, 07:50:43 pm »

อ่านแล้วมึนๆ เหมือนจะรู้เรื่องแต่คล้ายจะไม่เข้าใจ
 :14:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2011, 05:51:23 am »



จงอย่าให้นิสัยความเคยชินเกิดขึ้นเด็ดขาด

บทความวันนี้ เป็นการพูดถึงวิธีเริ่มต้นของการปฏิบัติเพื่อการติดต่อให้เป็นหนึ่งเดียวกันกับ-ที่สตีเฟน ฮอว์กกิ้ง เรียกว่า “จิตของพระเจ้า” (the mind of God) ซึ่งสำหรับผู้ที่นับถือพุทธศาสนาอาจจะไม่เห็นด้วย เพราะพระเจ้าที่คนในศาสนาอื่นที่มีพระเจ้าเคารพบูชานั้น อาจขอให้ช่วยชีวิตคนเป็นปัจเจกบุคคลแต่ละคนก็ได้หรือลงโทษคนแต่ละคนก็ได้ (personal God) นั้นไม่มีจริงที่ไอนสไตน์เห็นด้วยทั้งๆ ที่เป็นคนที่เคร่งศาสนา (cosmic religiousness) อย่างที่สุด นั่นคือการติดต่อเชื่อมโยงกับอภิมหาปัญญาของจักรวาลซึ่งนักฟิสิกส์ระดับโลกหลายๆ คนและผู้เขียนที่ไม่ได้เป็นอะไรเชื่อว่ามีการเชื่อมโยงติดกันจริงทั้งจักรวาล และจะทำให้เรามีการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง (personal transformation) ที่ปัญญาชนนักเขียนนักคิดแทบจะทุกคนในโลกสังเกตเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงนั้น แม้แต่ในประเทศไทยเราเอง เพราะภาวะที่เกิดขึ้นทั่วทั้งโลกในขณะนี้ไม่ว่าจากภัยธรรมชาตินานัปการที่เกิดถี่ขึ้นและรุนแรงมากขึ้นตลอดเวลา และอะไรๆ ก็แพงขึ้นๆ ในขณะที่หากินกลับยากขึ้นๆ และการเปลี่ยนแปลงตัวเองนั้นหากเราใช้คำที่เป็นภาษาอังกฤษดังกล่าวแล้ว ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางจิตเสมอ และการเปลี่ยนแปลงทางจิตนั้น ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของความคิดอันเกิดมาจากการบริหารที่สมองของจิตไร้สำนึกจักรวาลที่เข้ามาอยู่ในสมอง ให้สมองเปลี่ยนจิตไร้สำนึกจักรวาลนั้นเป็นจิตรู้ (ดู Carl Jung ด้วย) ทั้งนี้ ความเคยชินหรือสามัญสำนึกนั้นผู้เขียนเป็นคนพูดเองเออเองที่คิดว่าคงจะเกี่ยวข้องกับอัตตา (self) หรือจิตไร้สำนึกจักรวาล (โดยรวม) ที่เข้ามาอยู่ในสมองของคนผู้นั้นๆ เป็นปัจเจกนิสัยกับความเคยชิน (หรือขี้เกียจ) จึงเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่ได้มาจากสัตว์ - ซึ่งหากปล่อยให้มันเกิดขึ้นมาแล้วและปล่อยให้สมองเปลี่ยนแปลงเดินสายไฟ (wiring) ของเซลล์สมองแล้วก็เป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเปลี่ยนกลับคืนให้มันเหมือนเดิมได้อีกเพราะเวลาจะเป็นตัวกำหนด

บทความของวันนี้จึงไม่ได้ง่ายๆ หรือไร้สาระอย่างที่คิด ศาสดาและปราชญ์ต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงตั้งแต่ในสมัยโบราณกาลจึงไม่ได้ไร้สาระ ซึ่งบทความนี้ก็คาดหวังเช่นนั้น จริงๆ แล้วบทความนี้ได้ตอกย้ำบทความที่ลงในสัปดาห์ก่อนที่ผู้เขียนกล่าวว่า หากไม่นับแมตทีเรียลลิสต์แล้ววิทยาศาสตร์กับศาสนาคือเรื่องเดียวกัน
รู้ว่าความอยากแบบไหนๆ ต่อให้ความอยากนั้นๆ จะเป็นกุศลขนาดไหนก็เป็นตัณหาราคะได้ พูดจริงๆ หลังจากได้ยินลูกสาวบุญธรรมอีกคนได้เล่าเรื่องของความฝันของหลวงพ่อเอี๋ยนแห่งสุราษฎร์ธานีให้ฟังแล้ว รู้สึกอยากฝันเห็นที่หลวงพ่อเห็นซึ่งหลวงพ่อเอี๋ยนฝันเห็นเป็น “ประจำ” มานาน นั่นคือ หลวงพ่อท่านฝันเห็น “ความว่าง” แปลก! แต่จริงเพราะเพิ่งนึกถึงความว่างเมื่อเช้าตรู่ (ตีห้า) ตอนตื่นนอนวันนี้เอง และคิดว่าจะทำสมาธิแต่มัวแต่นึกถึงความว่างเพลินไปหน่อยเพียงสี่-ห้าชั่วโมงมานี้เอง และความว่างก็เกี่ยวข้องกับอัตตา (self) อันเป็นเหตุปัจจัยของนิสัยความเคยชิน ปัญหาที่ยิ่งใหญ่แต่คนทั่วไปไม่ค่อยเอามาคิดกัน ปัญหาที่ยากมากที่จะแก้จริงแต่ก็แก้ได้ ยากลำบากหรือไม่? อยู่ที่เวลาและการเดินสายไฟของสมอง (wiring) จะเป็นเครื่องชี้กำหนดไม่ว่าจะเป็นความเคยชิน ความขี้เกียจ หรือความแตกแยกของคนไทยซึ่งไม่ได้ได้มาง่ายๆ ด้วยการปรองดองสมานฉันท์ ความสามัคคีหรือการปราบปราม

ที่ผู้เขียนพูดว่า ตื่นมาแต่เช้าและนั่งคิดถึงความว่างจนอดทำสมาธินั้น ก่อนอื่นผู้เขียนนึกถึงพุทธศาสนากับเค็น วิลเบอร์ ที่ผู้เขียนได้พูดมาหลายหนแล้ว เค็น วิลเบอร์ จะแบ่งแยกวิวัฒนาการของจิตไปตามสเปกตรัมซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติจนถึงวิวัฒนาการของจิตวิญญาณ (spirituality) ซึ่งแบ่งออกเป็นสี่ระดับขั้น (คือ ระดับ psychic ระดับ subtle ระดับ causal และระดับ non-dual) ซึ่งพุทธศาสนาถือว่าเป็นระดับของจิตระดับสูง ระดับผ่านพ้นตัวตนที่นักปราชญ์ศาสดาต่างๆ กล่าวว่ามันคือเป้าหมายของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณตราบจนปัจจุบันนี้ เช่น ระดับไซคิกที่วิลเบอร์เรียกตามพุทธศาสนาว่านิรมานกาย และระดับก่อนสุดท้าย (causal) คือ ธรรมกายหรือระดับที่รู้ความจริงทั้งหมด (ทั้งความจริงทางโลกและทางธรรม) แต่จิตยังไม่ได้ถึงซึ่งนิพพานที่สมบูรณ์บูรณาการตามที่เค็น วิลเบอร์ แยกแบ่งซึ่งจิตของผู้-หรือที่ได้นิพพานที่สมบูรณ์บูรณาการนั้นจะต้องเป็นแสงที่มีพลังงานในตัวเอง-เป็นของตนเอง (แสงสีทองอันกระจ่างใสที่วิลเบอร์เรียกเสาวภาวิขะ) หรือเป็นความว่างสุญตา ความว่างที่ไม่ใช่เป็นความว่างที่ไม่มีอะไรเลยแต่เป็นความว่างที่คู่กับความเต็ม และระดับนี้ ผู้ที่บรรลุถึงจริงๆ น่าจะเป็นสัพพัญญูเฉกเช่นพระพุทธเจ้าเท่านั้น ผู้เขียนนั่งคิดต่อไปว่าจิตนั้นมีสองอย่างเท่านั้น คือ จิตไร้สำนึก (ตามคาร์ล ซี. จุง ที่เรียกว่าจิตไร้สำนึกร่วมจักรวาลซึ่งเป็นจิตโดยรวมที่เข้ามาอยู่ในที่ว่างของสมองของแต่ละบุคคลเป็นปัจเจก) กับจิตสำนึกหรือจิตรู้ที่สมองของแต่ละคนเป็นปัจเจกนั้นๆ ได้ถูกสมองบริหารจัดการจิตไร้สำนึกจักรวาลที่เข้ามาอยู่ในที่ว่างในสมอง-หรือจิตร่วมโดยรวมซึ่งเข้ามาอยู่ในที่ว่างของสมองของแต่ละบุคคลเป็นปัจเจก-ให้เป็นจิตสำนึกหรือจิตรู้ของปัจเจกบุคคลผู้นั้นๆ ไป

  ที่ว่างในสมองที่กล่าวมากับความว่างหรือความว่างเปล่าหรือสุญตานั้นแตกต่างกันมาก ที่ว่างในสมองเป็นความจริงทางโลกหรือทางวิทยาศาสตร์ที่หมายถึงตำแหน่งที่ว่างอันละเอียด (micro-space) เช่น ที่ว่างในอะตอมระหว่างนิวเคลียสกับวงโคจรของอิเล็กตรอน แต่สุญตาเป็นความจริงทางธรรมที่มองไม่เห็น รู้ได้ด้วยจิตหรือในความฝันเท่านั้น ในทางควอนตัมเม็คคานิกส์นั้นมันมีความว่างเปล่าทางควอนตัม (quantum vacuum) ที่มาจากการไหวสะเทือน (fluctuation) ของพลังงานที่หลงเหลือจากการแตกดับของจักรวาลเก่า ซึ่งผู้เขียนคิดว่าความว่างเปล่านี้น่าจะเป็นอย่างเดียวกันกับสนามที่มีพลังงานเป็นศูนย์ (zero - point energy field) หากว่าจิตปฐมภูมิไม่สามารถที่จะแยกออกจากพลังงานปฐมภูมิได้จริงดังที่ทางพุทธศาสนาบอก (วัชรญานพุทธศาสนา ดู B. Alan Wallace : Hidden Dimensions, 2007) ฉะนั้นพลังงานในสนามความเป็นศูนย์จึงแยกจากความว่างของจิตหรือสุญตาไม่ได้ (ท่านพุทธทาสบอกว่า ความว่างคือความว่างจากกิเลสทั้งหลาย เช่น โลภ โกรธ หลง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นความจริงทางธรรมเพราะผู้เขียนเชื่อว่าอริยสงฆ์โดยเฉพาะในอดีตที่ไม่นานนักและปัจจุบัน อย่างน้อยในเถรวาทของประเทศไทยเช่นหลวงปู่ดูลย์ที่ยอมรับว่าท่านเป็นอริยสงฆ์ ยังยอมรับว่าท่านยังมีโกรธอยู่)

 ในความเห็นของผู้เขียน นิสัยความเคยชิน ความขี้เกียจ ฯลฯ เป็นผลพวงของอัตตา (self) ซึ่งรวมทั้งการ “รู้แล้ว” หรือจิตรู้หรือจิตสำนึกที่บริหารโดยสมองที่ชอบหรือ “พอใจ” (desire) ความสุขทางกายและวัตถุ (bodily physical and matter) เพื่อหนี “ทุกขา” ที่มนุษย์ไม่รู้ว่าเป็นสมบัติของมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาในโลก (ที่ผู้เขียนคิดว่าทั้งจักรวาลด้วย) และยังคิดว่าอัตตาตัวตนนั้นเป็นสิ่งเดียวกันกับจิตไร้สำนึกจักรวาล หรือจิตร่วมโดยรวมจักรวาล (unconscious continuum) ของคาร์ล จุง ที่เข้ามาอยู่ในบุคคลแต่ละคนเป็นปัจเจก อัตตาหรือจิตไร้สำนึกของปัจเจกบุคคล-ซึ่งสมองมีหน้าที่หลักเพียงหน้าที่เดียวในการบริหารจัดการทำให้มันเป็นจิตสำนึกหรือจิตรู้-และมนุษย์ทุกคนโดยไม่ยกเว้นจะต้องเรียนรู้เพื่อจะได้ “ผ่านพ้น” (transcend) - หรือเข้าสู่สภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) เพื่อทำลายอัตตาตัวตนนั้น สำหรับผู้เขียนแล้วความชอบหรือความพอใจต่อความขี้เกียจ นิสัยความเคยชินของสัตว์โลกรวมทั้งมนุษย์ต่อความสบาย สนุก และสะดวกนั้นก็คือความสุขทางกายชั่วครั้งชั่วคราว และความ “รู้แล้ว” ของตัวรู้หรือจิตสำนึกซึ่งถ้าหากเราปล่อยไปเรื่อยๆ เช่นนี้ เซลล์สมองก็จะมีการเดินสายไฟ (wiring) ทำให้ความขี้เกียจและนิสัยความเคยชินนั้น แม้จะแก้ไขได้ก็จริงอยู่ ก็สุดแสนจะยากลำบากยิ่งนักและแก้ไขไม่ได้หมดสิ้นจริงๆ ทั้งนี้และทั้งนั้น ทั้งหมดขึ้นกับเวลาและการเดินสายไฟของเซลล์สมองนั้นๆ ว่าการเดินสายไฟของเซลล์สมองที่ว่านั้นได้เริ่มต้นแล้วหรือยัง? เริ่มต้นเมื่ออายุเท่าไหร่? เป็นเด็กที่เล็กๆ (อายุ 2-11) หรือไม่? และเวลาของความขัดแย้งแตกแยกนั้นยาวนานแค่ไหน? ทั้งหมดนั้นมีความสำคัญทั้งนั้น (ผลของการวิจัยที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียเมื่อปี 2006 ของ Andrew Newberg)

 นิสัยความเคยชิน ความขี้เกียจกับความแตกแยกของประชาชนคนไทยนั้นน่าคิดมากๆ ทั้งสองขึ้นกับการเดินสายไฟของเซลล์สมอง ความขี้เกียจกับความแตกแยกดูเผินๆ จะคิดว่าห่างกันมาก แต่ถ้าหากว่าเราดูให้ลึกและละเอียดลงไปจะมีสาเหตุจำเพาะแตกต่างจากกันน้อยมากทีเดียว นั่นคือ ทั้งสอง-และความขัดแย้งอื่นๆ เป็นผลของความขัดแย้งทางความคิด (conflict) ที่มีอารมณ์เจือปน (โลภ โกรธ หลง) เป็นการก่อ และการหนี “ทุกขา” ที่เวียนวนก่อทุกข์และหนีทุกข์ตลอดเวลาแบบไม่มีที่สิ้นสุด แต่ประเด็นก็คือ “นึกว่าสิ้นสุดแต่จริงๆ แล้วเป็นการยากลำบากมากที่จะให้สิ้นสุดจริงๆ” นอกจากจะตายไปแล้วเท่านั้น พร้อมกับแน่ใจว่าจะไม่ทิ้งมรดกไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลังโดยเฉพาะเด็กที่ยังเล็กๆ

 มองแล้วมีความเห็นเหมือนชื่อของบทความนี้ว่า นิสัยความเคยชินนั้นจงอย่าได้ปล่อยให้มันเกิดขึ้นมาอย่างเด็ดขาด อย่างน้อยก็ก่อนที่เซลล์สมอง (neurons) จะเดินสายไฟ (wiring) แล้วเสร็จ และประเด็นที่สำคัญยิ่ง ต้องไม่ให้เด็กเล็กๆ รู้เห็นนิสัยความขี้เกียจ ความขัดแย้ง (conflicts) ใดๆ ก่อนที่เซลล์สมองจะเดินสายไฟแล้วเสร็จ หรือปล่อยให้เวลามันเนิ่นนานออกไป.   

http://www.thaipost.net/sunday/290511/39336