ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 09:09:23 pm »

 :13: อนุโมทนาครับผม
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 04:50:32 pm »



การส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งความเพียรของตนไม่นิยมทางลัด
ควรเป็นวาระแห่งชาติ แต่มิอาจทำได้ด้วยการรณรงค์ตามสื่อ
หรือเทศนาสั่งสอน และสร้างคำขวัญกินใจเท่านั้น
หากต้องรวมไปถึงการปฏิรูประบบต่าง ๆ ในสังคมมิให้เอื้อต่อการใช้ทางลัด
ไม่ว่า ติดสินบนหรือใช้เส้นสาย
รวมไปถึงการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมให้น้อยลงด้วย
หาไม่แล้วทางลัดที่ผู้คนคิดค้นและใช้กันจนขวักไขว่นั้นแหละ
จะกลายเป็นทางลัด พาสังคมไทยสู่ความหายนะในเร็ววัน................................



โดย…...........พระไพศาล วิสาโล

มติชน ฉบับวันที่ 16 สิงหาคม 2552



ความก้าวหน้าที่เราทำในวันนี้

ตัดสินชัยชนะที่เราได้รับในวันพรุ่งนี้

จงให้ความสำคัญกับแต่ละวันๆ

โดยทำอย่างดีที่สุดในสิ่งที่เรากำลังทำให้สำเร็จ

อย่าเหลือความเสียใจไว้ภายหลัง

ในขณะที่เราเขียนประวัติศาสตร์ทองคำ
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 04:47:45 pm »



ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่ชาวบ้านทุกวันนี้
พร้อมจะเป็นหัวคะแนนให้แก่นักการเมือง
ซึ่งหมายถึงการช่วยแจกเงินซื้อเสียงในหมู่บ้าน
และทำให้เจ้าพ่อท้องถิ่นได้กลายเป็นส.ส. ก่อนจะเป็นรัฐมนตรี
หลายคนส่ายหัวกับพฤติกรรมแบบนี้
แต่เราก็ต้องยอมรับว่านี้คือทางออกของชาวบ้านในยามที่หวังพึ่งข้าราชการไม่ได้
ในเมื่อข้าราชการ พ่อค้านักธุรกิจและชนชั้นกลางใช้เส้นสายกันทั้งนั้น
ทำไมตนจะมีเส้นสายกับเขาไม่ได้บ้าง
เส้นสายที่ว่านอกจากช่วยปกป้องตนเองจากข้าราชการที่ชอบใช้อำนาจแล้ว
ยังช่วยดึงงบประมาณของรัฐตกมาถึงชาวบ้านได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
{นอกเหนือจากผ่าน อ.บ.ต.แล้ว}

มองให้ลึกลงไปการวิ่งเต้นหาเส้นสายกันขวักไขว่
มิใช่เป็นแค่ผลพวงของระบบอำนาจนิยมที่รวมศูนย์อยู่กับตัวบุคคล
และมุ่งสนองผลประโยชน์ส่วนบุคคล
โดยไม่คำนึงถึงกฎเกณฑ์และความถูกต้องเท่านั้น
กล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นระบบแบบอัตตาธิปไตย มิใช่ธรรมาธิปไตย
แต่ยังเป็นภาพสะท้อนของสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงมาก
ทั้งในทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางอำนาจ
ในด้านหนึ่งประชาชนระดับล่างไม่สามารถตรวจสอบทัดทานผู้ที่มีอำนาจได้
ฝ่ายหลังจึงใช้อำนาจตามอำเภอใจผ่านระบบเส้นสาย
ในอีกด้านหนึ่งความยากไร้ทำให้ประชาชนต้องพึ่งพิงหรือรับใช้ผู้มีอำนาจ
เพื่อความอยู่รอดของตน ผลก็คือผู้มีอำนาจ
เดิมคือเจ้าพ่อ ปัจจุบันคือนักการเมืองระดับชาติ
ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือตักตวงผลประโยชน์เข้าตัว
จนเกิดความขัดแย้งกับกลุ่มอำนาจเดิมกระทั่งทุกวันนี้
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 04:46:40 pm »



ระบบแบบนี้เองที่ทั้งส่งเสริมทั้งผลักดันผู้คนให้ขวนขวายหาเส้นสาย
เพื่อเชื่อมโยงไปถึง ผู้ใหญ่ หรือผู้มีอำนาจ
แต่ก่อนก็มักได้แก่ข้าราชการระดับสูง โดยเฉพาะตำรวจและทหาร
ปัจจุบันก็รวมถึงนักธุรกิจ เศรษฐี และที่ขาดไม่ได้คือนักการเมืองโดยเฉพาะซีกรัฐบาล
ใครที่เป็นพ่อแม่ก็ต้องหาทางส่งลูกไปเรียนในโรงเรียนดังที่อุดมด้วยลูกท่าน หลานเธอ
ใครที่เป็นข้าราชการก็ต้องประจบผู้บังคับบัญชา
ฝากตัวเป็นเครือข่ายของเจ้านาย หาไม่ก็ต้องมีสายสัมพันธ์กับนักการเมืองที่มีอำนาจ
ส่วนนักธุรกิจก็ต้องผูกมิตรกับข้าราชการระดับสูงหรือส.ส.และรัฐมนตรี

ในอดีตการใช้เงินและเส้นสายเป็นทางลัดสู่ความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
ดูเหมือนจะเป็นอภิสิทธิของคนชั้นกลางที่มีการศึกษาหรือสถานภาพเท่านั้น
ดังนั้นจึงทำให้คนชั้นกลางสามารถถีบตัวได้รวดเร็ว
เพราะมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะได้มากกว่าชาวบ้าน
ไม่ว่าสถาบันการศึกษาของรัฐ งบประมาณแผ่นดิน ป่า แหล่งน้ำ
รวมทั้งอำนาจในการจัดสรรผลประโยชน์
แต่ในปัจจุบันชาวบ้านก็เริ่มมีช่องทางในการเข้าถึงเส้นสายที่สำคัญได้
จากเดิมที่หวังได้อย่างมากก็แค่ส่งลูกเรียนสูง ๆ จะได้เป็นข้าราชการ
หรือ เจ้าคนนายคน หาไม่ก็เข้าสู่เครือข่ายเจ้าพ่อท้องถิ่น
เพื่อปกป้องมิให้ข้าราชการมาเอาเปรียบ
ปัจจุบันชาวบ้านพบว่าการมีเส้นสายกับ ส.ส. โดยเฉพาะพรรครัฐบาลนั้น
ก็สามารถทำให้ตัวเอง{เบ่ง}กับข้าราชการได้
แค่เป็นหัวคะแนนให้ส.ส.พรรครัฐบาล ก็ทำให้นายอำเภอเกรงใจแล้ว
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 04:45:49 pm »



ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น คำตอบส่วนหนึ่ง คือ ระบบเหล่านี้ไม่โปร่งใส
ปราศจากการตรวจสอบที่มีคุณภาพ
จึงเอื้อให้เจ้าหน้าที่ทุจริตหรือปล่อยปละละเลยได้ง่าย
ถึงนาย ก.จะขับรถไม่เป็น แต่เจ้าหน้าที่ผ่อนผันให้ใบขับขี่ไป
จะเพราะสงสารหรือเพราะรับเงินเขามาก็แล้วแต่
แม้นาย ก. จะขับรถชนคนตายในเวลาต่อมา
เจ้าหน้าที่ผู้นั้นก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร เพราะไม่มีใครจะมาตามเอาผิดเขาอยู่แล้ว

ความไม่โปร่งใสเมื่อผนวกกับระบบอำนาจนิยม
ซึ่งแพร่กระจายไปทั่วทั้งสังคม
ยังเอื้อให้เกิดการใช้เส้นสายกันในทุกเรื่องทุกระดับจนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว
ใครก็ตามที่มีสายสัมพันธ์กับ{ผู้ใหญ่}จึงไม่มีความจำเป็น
ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์
ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและความเพียรทั้งสิ้น
อยากได้อะไรก็เพียงแต่ใช้แรงบีบของผู้ใหญ่เพื่อกดดันให้เจ้าหน้าที่ระดับล่างยินยอม
ใช่ว่าคนไทยจะไม่มีครูหรือเจ้าหน้าที่ที่ซื่อสัตย์
แต่เมื่อระบบนั้นให้อำนาจแก่ผู้บังคับบัญชามาก
สามารถให้คุณให้โทษแก่ครูหรือเจ้าหน้าที่ได้ง่าย
ฝ่ายหลังก็จำต้องยอมตามบัญชาของผู้ใหญ่ ซึ่งหมายถึงทำผิดให้เป็นถูกได้
กฎหมายและกฎเกณฑ์จึงไม่ศักดิ์สิทธิ์ในเมืองไทย
อย่าว่าแต่ขับรถผิดกฎจราจรเลย
แม้แต่ฆ่าคนตายก็ยังสามารถใช้เส้นสายที่มีอยู่ เป่าคดี จนพ้นผิดได้
จึงไม่น่าแปลกใจว่าการลอบฆ่าคนกลางเมืองจึงเกิดขึ้นไม่หยุดหย่อน
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 04:44:57 pm »



การนิยมทางลัดของคนไทยนั้นก่อปัญหาแก่สังคมไทยในทุกด้านก็ว่าได้
อาทิ คุณภาพการศึกษาตกต่ำ สินค้าไม่ได้มาตรฐาน
แข่งสู้ตลาดโลกไม่ได้ ข้าราชการไร้ประสิทธิภาพ คอร์รัปชั่นแพร่ระบาด
อาชญากรรมเกลื่อนเมือง สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
อุบัติเหตุจราจรเพิ่มสูงขึ้น ฯลฯ เป็นเพราะค่านิยมและพฤติกรรมดังกล่าว
การขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีมาตรฐานสูงขึ้นไม่ว่าด้านใดจึงเป็นเรื่องยากมาก
อาทิ การผลักดันให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ
รัฐบาลจะกระตุ้นให้คนไทยขยันอ่านหนังสือได้อย่างไร
ในเมื่อใคร ๆ ก็รู้ว่าไม่ต้องขยันเรียนก็สอบได้แถมได้เกรดสูงด้วย
นอกจากนั้นถึงอ่านช้าก็ดูหนังต่างประเทศได้เพราะพากย์ไทยกันทั้งนั้น
ว่ากันว่าตามต่างจังหวัดภาพยนตร์ที่ไม่พากย์ไทยแม้จะมีคำบรรยายภาษาไทย
มักจะขายตั๋วไม่ค่อยได้ แม้ในกรุงเทพ ฯ เองซีดีหรือดีวีดีหนังต่างประเทศ
ที่ไม่พากย์ไทยก็ขายได้น้อย

อย่างไรก็ตาม การนิยมทางลัดมิใช่เป็นเรื่องของค่านิยม
ทัศนคติ หรือวัฒนธรรมเท่านั้น หากยังสัมพันธ์กับบริบททางสังคมด้วย
การที่คนไทยนิยมทางลัดกันจนเป็นวิถีชีวิต
ก็เพราะระบบต่าง ๆ ในสังคมเอื้อหรือผลักดันด้วย
ขอให้ย้อนกลับไปกรณีคุณยายเกาหลีที่สอบตกถึง ๗๗๑ ครั้ง
การที่คุณยายต้องพากเพียรพยายามขนาดนั้น
เพราะระบบการสอบไม่เอื้อให้คุณยาย{หรือลูกหลานเพื่อนพ้อง}ใช้ทางลัดได้
ไม่ว่าจะยัดเงินใต้โต๊ะ ใช้เส้น หรือวิงวอนขอความกรุณา
นี้ตรงข้ามกับระบบการสอบใบขับขี่รวมทั้งระบบอื่น ๆ ของไทย
ตั้งแต่ระบบการศึกษา ระบบราชการ ไปจนถึงระบบการเมือง
ซึ่งทั้งอนุญาตทั้งเอื้อให้มีการติดสินบนและใช้เส้นได้ตั้งแต่บนลงมาข้างล่าง
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 04:43:57 pm »



ถ้าอยากรวย ไม่ต้องขยันทำงานหรือหมั่นอดออมก็ได้
เพราะมีทางลัดคือ เล่นหวย เล่นหุ้น เล่นการพนัน
หนักกว่านั้นก็คือโกง คอร์รัปชั่น หรือลักขโมย
การเติบใหญ่ขยายตัวของการพนันและอาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน
บ่งชี้ว่าคนไทย นิยมรวยทางลัดมากขึ้น แต่สำหรับคนที่ยังเกรงกลัวกฎหมาย
ทางลัดที่นิยมกันมากก็คือไสยศาสตร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเครื่องรางของขลัง
ดังสมัยหนึ่งใคร ๆ ก็อยากได้จตุคามรามเทพไว้บูชา
เพราะเชื่อว่าจะทำให้รวยได้ โดยไม่มีเหตุผล
แม้จตุคาม ฯ จะตกกระแสไปแล้ว แต่เครื่องรางของขลัง
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์นานาชนิดก็ยังเป็นความหวังของผู้คนจำนวนมาก
ที่อยากรวยและมีโชคลาภโดยไม่ต้องขยัน

น่าแปลกที่เราชอบอ้างว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ
แต่แก่นแท้ของพุทธศาสนาที่เน้นความเพียรและการพึ่งตนนั้น
คนไทยเป็นอันมาก{หรือส่วนใหญ่ก็ว่าได้}กลับไม่สนใจเอาเลย
จริงอยู่เราชอบทำบุญกันเป็นชีวิตจิตใจ
แต่นั่นเป็นเพราะเราเชื่อว่าถ้าสะสม{บุญ}ได้มากพอ
ก็จะบันดาลให้เรามั่งมีศรีสุขและได้รับโชคลาภ เช่น ถูกหวยหรือถูกลอตเตอรี่
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในทัศนะของชาวพุทธไทย
การทำบุญก็คือทางลัดสู่ความร่ำรวยนั่นเอง
ดังนั้นจึงขวนขวายทำบุญมากกว่าขยันทำมาหากิน

คนไทยทุกวันนี้พึ่งโชคมากกว่าพึ่งความเพียร
เพราะเราเชื่อว่าโชคจะทำให้เราได้รับความสำเร็จโดยไม่ต้องเหนื่อย
คนไทยเมื่อจะล่ำลากันจึงมักให้พรว่า{ขอให้โชคดี}
ซึ่งตรงข้ามกับคนญี่ปุ่น คำอวยพรของพ่อแม่ที่ให้แก่ลูกครูให้แก่ศิษย์
ก็คือ{ขอให้เพียรพยายาม} หรือ{อย่ายอมแพ้}
ทั้ง ๆ ที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่รู้สึกห่างไกลจากพุทธศาสนา
แต่คำอวยพรและพฤติกรรมของเขานั้น
ใกล้เคียงกับแก่นของพุทธศาสนามากกว่าคนไทยเสียอีก
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 04:43:06 pm »






ที่จริงไม่ใช่แค่สอบใบขับขี่ แทบทุกเรื่องใคร ๆ ก็รู้ว่ามีทางลัด
และนิยมใช้ทางลัดทั้งนั้น ตั้งแต่เด็กเราก็รู้แล้วว่าหากจะทำการบ้านส่งครู
ก็ไม่จำเป็นต้องทำเองให้เหนื่อยยาก ก็แค่ลอกการบ้านจากเพื่อน
หรือไม่ก็ตัดแปะจากเว็บไซต์ต่าง ๆ อยากได้เกรดสูง ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องขยันเรียน
แค่หาเวลาติวก่อนสอบไม่กี่วัน ใครที่ใจกล้ากว่านั้นก็แอบดูเพื่อนในห้องสอบ
หรือทุจริตด้วยวิธีซับซ้อนกว่านั้น หาไม่ก็บากหน้าไปขอเกรดครู
เดี๋ยวนี้นักเรียนมัธยมกล้าถามครูแล้วว่าครูอยากได้อะไร เขาจะหามาให้
ขอเพียงให้เกรดดี ๆ แก่เขาหากขาดเรียนเป็นนิจ
ไม่เชื่อฟังครู จนถูกครูดุด่าว่ากล่าวหรือลงโทษ แทนที่จะทำตัวให้ดี
วิธีแก้ปัญหาที่ง่ายกว่านั้นก็คือ ไปฟ้องพ่อแม่เพื่อให้พ่อแม่ไปร้องเรียน
กับผู้อำนวยการหรือโทรศัพท์ไปข่มขู่ครู

จบแล้วอยากได้งานดี ๆ ก็ไม่ต้องเตรียมตัวสอบให้เหนื่อย
แค่ใช้{เส้น}ของพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ก็พอแล้ว
ทำงานแล้วอยากได้ตำแหน่งดี ๆ ไม่ต้องขยันทำงานก็ได้
แค่หมั่นวิ่งเต้นหรือประจบประแจงเจ้านาย ก็พอ
ถ้าเป็นนักธุรกิจอยากขายของให้ได้เยอะ ๆ
ก็ไม่จำต้องพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ
แค่จ่ายเงินใต้โต๊ะเพื่อให้ได้สัมปทานหรือชนะการประมูลก็สำเร็จแล้ว
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 04:42:12 pm »




น่าคิดต่อไปว่าไม่ใช่แต่เจ้าหน้าที่เกาหลีเท่านั้นที่ซื่อตรง
และต้องการให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎเกณฑ์
คนเกาหลีก็ดูเหมือนจะซื่อตรงด้วย
หรืออย่างน้อยก็เห็นว่าที่เจ้าหน้าที่ทำกับคุณยายนั้นถูกต้องแล้ว
ไม่เช่นนั้นก็คงกดดันเจ้าหน้าที่ทั้งทางตรงและทางอ้อม
หรือผ่านผู้บังคับบัญชาจนเจ้าหน้าที่ต้องยอมปล่อยให้คุณยายสอบผ่าน
แต่ฟังจากคำพูดของเจ้าหน้าที่ เขาไม่มีทีท่าว่ารู้สึกถูกกดดันเลย
ถ้าเป็นที่เมืองไทย แค่ทำให้คุณยายสอบตกถึง ๕๐ ครั้งก็มากพอแล้ว
ที่เจ้าหน้าที่จะถูกผู้คน{มิใช่แค่ญาติพี่น้องเท่านั้นแต่อาจรวมถึงสื่อมวลชนด้วย}
รุมประณามว่าไร้เมตตาต่อคนแก่ แค่ใบขับขี่ใบเดียว จะเอาอะไรกันนักกันหนา

สรุป..................ก็คือข่าวแบบนี้ไม่มีวันเกิดขึ้นในเมืองไทยยุคนี้ได้อย่างแน่นอน
ไม่ใช่เพราะว่าเมืองไทยไม่มีเจ้าหน้าที่แบบนั้น
หากยังเป็นเพราะคนที่จะเพียรสอบร่วมพันครั้งอย่างคุณยาย ก็ไม่มีด้วยเช่นกัน
พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าคนไทยไร้ความอุตสาหะ
แต่เป็นเพราะเรารู้ดีว่าเรื่องแบบนี้ไม่จำต้องเพียรพยายามถึงขนาดนั้นก็ได้
ใคร ๆ ก็รู้ว่ามี{ทางลัด}ที่ง่ายและเร็วกว่านั้น
นั่นคือ จ่ายเงินเป็นสินน้ำใจ หรือยื่นนามบัตรของใครบางคนให้กับเจ้าหน้าที่
หรือผู้บังคับบัญชาของเขาพร้อมกับขอให้ช่วย{ดูแล}คุณยายให้ด้วย
ถ้าไม่มีทั้งเงินและ{เส้น}ก็ยังมีอีกวิธีคือ เจรจาขอความกรุณาจากเจ้าหน้าที่
ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 04:41:07 pm »



มีประโยชน์มาก ๆ  :20:


มีข่าวเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งจากเกาหลีใต้เมื่อต้นปีนี้
หากจะมีใครสนใจก็เพราะเป็นเรื่องแปลก นั่นคือ
ข่าวหญิงชราผู้หนึ่งสอบใบขับขี่มาแล้วถึง ๗๗๑ ครั้ง แต่ไม่เคยสอบได้เลย
ตัวเลขดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างปี ๒๕๔๘จนถึงต้นปีนี้เท่านั้น
แสดงว่าคุณยายเข้าสอบเฉลี่ย ๒ วันครั้งเลยทีเดียว
แม้จะสอบตกทุกครั้ง แต่ก็ไม่ละความพยายาม
ผ่านมาแล้วหลายเดือนจนถึงปัจจุบัน ไม่ทราบว่าคุณยายสอบได้แล้วหรือยัง
แต่ก็เป็นไปได้ว่าคุณยายอาจสอบตกอีกนับสิบครั้งแล้วก็ได้
เจ้าหน้าที่จราจรที่คุมการสอบทั้งเห็นใจทั้งชื่นชมคุณยาย
ถึงกับเอ่ยปากว่าหากคุณยายสอบได้เขาจะทำโล่เกียรติคุณให้เลย

ข่าวนี้มองให้ดีนับว่าน่าสนใจมาก
เพราะไม่ได้บอกถึงความอุตสาหะอย่างยิ่งยวดของคุณยายเท่านั้น
แต่ยังสะท้อนสังคมเกาหลีใต้ในบางแง่ได้อย่างชัดเจนมาก
เช่น ความเคร่งครัดและเข้มงวดในกฎเกณฑ์และกติกา
แม้เจ้าหน้าที่จราจรจะเห็นใจคุณยายเพียงใด
ก็ไม่ยอมอะลุ้มอล่วยหรือโอนอ่อนให้ง่าย ๆ ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก
คุณยายซึ่งคงมีปัญหาบางอย่างในการขับขี่ จึงไม่เคยสอบผ่านเลยสักครั้ง
นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็คงมีความซื่อตรงชนิดที่เงินซื้อไม่ได้ด้วย
เพราะหากเป็นที่เมืองไทย ลูกหลานของคุณยาย
หรือเพื่อน ๆ ของลูกหลานที่เห็นใจคุณยาย คงหาทางวิ่งเต้น
หรือ {ยัด}เงินให้เจ้าหน้าที่ที่คุมการสอบไปแล้ว
ใคร ๆ ก็รู้ว่าเรื่องแบบนี้ไม่ยากเลย ใช้เงินไม่ถึงพันบาทก็สำเร็จแล้ว
ไม่จำต้องที่คุณยายต้องมาเหนื่อยยากขนาดนี้
สอบตกอย่างมากแค่ ๕ - ๖ ครั้ง ก็ได้ใบขับขี่สมใจแล้ว