ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2011, 04:55:07 pm »

   
   
 
นักธุรกิจจากตระกูลจิราธิวัฒน์ ลงทุนลงแรงรับเป็น “อาสาสมัคร”ของมูลนิธิพุทธฉือจี้ที่โด่งดังสุดๆในไต้หวัน ระบุเริ่มเข้ามาเผยแผ่ในไทยแล้ว 17 ปี เน้นคำสอนตามหลักของพรหมวิหาร4 พร้อมเน้นช่วยเหลือ 4 ด้าน ทั้งผู้ประสบภัยพิบัติ โรงพยาบาล การศึกษาและเผยแผ่ศาสนา
     
      ทุกครั้งที่เกิดปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลกจะเห็นองค์กร มูลนิธิต่างๆจากทั่วโลกระดมสรรพกำลังเข้าไปช่วยเหลือหนึ่งในองค์กรที่ให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องคือมูลนิธิพุทธฉือจี้ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศไต้หวันและที่สำคัญเพราะองค์กรนี้มีสาขากระจายอยู่ถึง 200 แห่งทั่วโลก
     
      นักธุรกิจชื่อดัง
      โดดเป็นอาสาสมัคร
     
      วัฒน์ จิราธิวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัทเซ็นทรัล บอกกับ “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์” ว่า ในช่วงที่เกิดภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเพื่อเรี่ยไรเงินไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยในครั้งนั้นเกิดความรู้สึกว่าคนที่ทุกข์ร้อนจากภัยธรรมชาติมีมากมายแต่เราในฐานะมนุษย์ร่ววมโลกและไม่มีปัญหาดังกล่าวจะช่วยเหลือเขาได้อย่างไร จุดนี้กลายเป็นคำถามที่เราต้องการจะหาคำตอบมาก
     
      ล่าสุดได้มีโอกาสเดินทางไปดูงานที่มูลนิธิพุทธฉือจี้ที่ประเทศได้หวัน ปรากฏว่ามูลนิธินี้เขาได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์มานานโดยเฉพาะผู้ประสบภัยพิบัติจึงเกิดความศรัทธาและเมื่อกลับมายังเมืองไทยซึ่งก็มีสาขาของมูลนิธิอยู่ด้วยจึงอาสาเข้าไปช่วยงานโดยในตอนแรกอาจจะช่วยเป็นอาสาสมัครและงานแรกที่ได้ทำคือการเป็นอาสาสมัครเพื่อเรี่ยไรเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในประเทศญี่ปุ่น จากนั้นก็เรี่ยไรเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
     
      “ผมว่ามูลนิธินี้เขาทำงานเป็นระบบมีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนว่าจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในช่วงที่เดินทางไปไตหวันมีโอกาสได้เข้าไปกราบท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน ผู้ก่อตั้งมูลนิธินี้แล้วท่านก็สอนหลักการใช้ชีวิตว่าควรเมื่อเรามีมากกว่าคนอื่นๆก็ควรที่จะหยิบยื่นโอกาสให้กับคนที่เขาเดือดร้อน ซึ่งมูลนิธิฉือจี้ได้ให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ใน 4 ด้านหลักๆคือการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทั่วโลก การช่วยเหลือเรื่องการรักษาพยาบาลซึ่งที่นี่เขามีโรงพยาบาลที่ใหญ่มาก การช่วยเหลือเรื่องการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายมหายานที่เน้นการใช้หลักพรหมวิหาร 4 คือมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเป็นหลักใหญ่”
     
      วัฒน์ อธิบายต่อว่า เมื่อมีโอกาสใช้หลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา การให้ความสุขโยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติและศาสนา กรุณา คือการปลดทุกข์ด้านการรักษาพยาบาลกล่าวคือความเจ็บป่วยคือบ่อเกิดแห่งความยากจน มุทิตา คือความยินดีในธรรมะและความสงบสุขที่ปลูกฝังสู่สังคมและ อุเบกขา คือการเกิดปัญญายินดีเสียสละแบบไม่หวังผลตอบแทน ทำให้รู้สึกว่าหนทางแห่งความสุขกับการช่วยเหลือผู้คนทั่วโลกมันทำให้เราเกิดความสุขไปด้วยจึงเห็นว่าน่าจะชักชวนเพื่อนๆในแวดวงการค้า และการศึกษาโดยฌแพาะในกลุ่มนักเรียน วปอ.เข้าร่วมด้วยเพราะนี่คือการเสียสละมากเพราะไม่มีค่าตอบแทนแต่เราทำเพราะอยากให้คนอื่นพ้นทุก เพื่อนๆจำนวนหนึ่งตอบรับและกำลังจะเข้ามาสมัครเป็นอาสาสมัครในมูลนิธินี้ด้วย
     
      “ผมไม่อยากให้ภัยพิบัติเกิดขึ้นกับที่ไหนๆในโลกนี้แต่เราจะหลีกเลี่ยงได้หรือไม่เป็นเรื่องของอนาคตแต่หากถ้าเกิดขึ้นแล้วมีคนเดือดร้อนผมจะเป็นผู้ชักชวนเพื่อนๆใกล้ชิดและคู่ค้าทางธุรกิจเข้ามาช่วยเหลือที่ทำได้ดีที่สุดคือการร่วมกับมูลนิธิเป็นอาสาสมัครลงไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่แล้อาจจะมีการถือกล่องบริจาคทรัพย์ตามแหล่งธุรกิจการค้าซึ่งผมกำลังติดต่อกับคุณธนินทร์ เจียรวนนท์ เพื่อให้ร่วมโครงการนี้ด้วย”
     
      ระบุนักธุรกิจไต้หวัน
      แห่เป็นอาสาสมัครเพียบ
     
      อย่างไรก็ตามในเมืองไทยถือว่ามูลนิธินี้ไม่ค่อยจะเป็นที่รู้จักนักเพราะไม่ได้เน้นการประชาสัมพันธ์แต่ถ้าอยู่ในประเทศไต้หวันแล้วมูลนิธินี้ใหญ่มากๆเป็นที่รู้จักกันทั้งประเทศ และที่สำคัญการดำเนินงานที่ผ่านมานั้นได้รับความร่วมมืออย่างดีจากประชาชนชาวไต้หวันรวมไปถึงนักธุรกิจชั้นนำที่มีชื่อเสียงของประเทศไต้หวัน บางรายถึงขั้นเปิดสถานีโทรทัศน์เพื่อให้มีการเผยแผ่ธรรมะ บางรายบริจาคเงินและทรัพย์สินจำนวนมหาศาลเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
     
      วัฒน์ อธิบายต่อว่า มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน เป็นมูลนิธิการกุศลที่วางรากปักฐานที่มณฑลไต้หวันและได้แผ่กิ่งก้านสาขาไปยังทั่วทุกมุมโลก ก่อตั้งโดยท่านธรรมจารย์เจิ้งเอี๋ยน ที่อำเภอ “ฮวาเหลียน” มณฑลไต้หวัน ระยะเวลากว่า45 ปี ได้ให้บริการแก่สังคม ก่อสร้างโรงพยาบาล ก่อสร้างโรงเรียน และงานปณิธานด้านวัฒนธรรมสังคม เป็นต้น เงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของ “ฉือจี้” นั้นได้มาจากการบริจาคของประชาชน อาสาสมัคร "ฉือจี้” นั้น ก็คือผู้ปฏิบัติงานให้บริการตามกิจกรณีที่แตกต่างกัน ดังนั้น การใช้จ่ายเงินบริจาคนั้นจะได้รับการควบคุมตรวจสอบโดยละเอียด จึงได้รับความไว้วางใจและสนับสนุนจากผู้คนภายในและต่างประเทศชาว “ฉือจี้” ที่พำนักยังต่างประเทศก็ยังได้นำเอางานปณิธานของ “ฉือจี้” ติดตามไปที่ประเทศนั้น ๆ พร้อมยังรวมน้ำใจร่วมพลังกับผู้คนเจ้าของประเทศ ผลักดันงานด้านการกุศลบรรเทาภัยขึ้น ปัจจุบันมีสาขาและสาขาย่อย จุดประสานงานของ “ฉือจี้” กระจายอยู่ 60 ประเทศทั่วโลก และให้ความช่วยบรรเทาทุกข์แล้วกว่า 65 ประเทศ
     
      ขณะที่ประเทศไทยมูลนิธิแห่งนี้ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2537 และได้ดำเนินกิจกรรม 4 ประการหลักอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการให้อาสาสมัครเข้าไปช่วยเหลือตามโรงพยาบาลต่างๆหลายแห่ง การให้ทุนการศึกษากับนักเรียนยากจนและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทั่วทุกภาคของประเทศ
     
      “เราไม่ได้ให้การช่วยเหลืออย่างเดียวแต่เรายังซ่อมสุขภาพด้วยการฟื้นฟูจิตใจจากทีแพทย์อาสาสมัครที่ตอนนี้มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ และสอนให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนสามารถพึ่งพาตนเองได้ด้วยการส่งเสริมให้มีการปลูกผัก ปลูกพืชเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น ฝึกอาชีพเพื่อหารายได้เสริมเป็นต้น”วัฒน์กล่าวในที่สุด

http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9540000076560