ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2011, 04:44:57 pm »


 

 

 

 

 
 

เมื่อเอ่ยถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ ขึ้นมาครั้งใด ความคิดแรกที่เกิดขึ้นในใจคนส่วนใหญ่มักจะเป็นความทันสมัย รวดเร็ว ฉับไว หรืออาจนึกเลยไปถึงพฤติกรรมการจับจ่ายของคนรุ่นใหม่ ที่พร้อมจะควักกระเป๋าซื้ออุปกรณ์ชิ้นใหม่แทนชิ้นปัจจุบันที่ยังไม่ทัน ‘เก่า’ แต่ ‘เอาต์’ เสียแล้ว
       
       ไม่ว่ามุมมองต่อเทคโนโลยีจะเป็นเช่นไร สิ่งหนึ่งที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ล้วนมีส่วนทำให้การติดต่อสื่อสารและรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปได้อย่างง่ายดายกว่าที่เคยเป็นมา ความแตกต่างอยู่ที่ว่าผู้ใช้งานจะนำไปใช้ได้คุ้มค่าแค่ไหน หรือใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตได้อย่างไรนั่นเอง
       
       บริษัท ดิจิทอลล (ประเทศไทย) จำกัด จับจุดนี้มาเป็นโจทย์ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นล่าสุดเพื่อเผยแพร่ผ่านไอแพด อุปกรณ์แท็บเล็ตสุดฮอตที่ได้รับความนิยมจนขาดตลาดอยู่ในตอนนี้
       
       ขณะที่แอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นเกม หรือเน้นเนื้อหาเพื่อความบันเทิง แต่บริษัทดิจิทอลเลือกนำพระธรรมเทศนาขององค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์ ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ ‘ไม่มาเกิดมาตาย เรียกว่า ชาติสุดท้าย’ มาจัดทำใหม่ในรูปแบบหนังสือฉบับดิจิตอล
       
       สำหรับผู้ที่เคยได้อ่านหนังสือดังกล่าวในแบบรูปเล่มมาแล้ว คงนึกสงสัยว่า แอพพลิเคชั่น ‘Luangta Bua’ ต่างจากหนังสือเป็นเล่มๆ หรือกระทั่ง e-book ที่เผยแพร่ กันอย่างแพร่หลายอย่างไร ในส่วนนี้ทีมงานเปิดเผยว่า
       
       “เรานำจุดแข็งของ digital book มาใช้ คือการนำเนื้อหาที่มีอยู่มานำเสนอใหม่ในรูปแบบที่น่าสนใจยิ่งขึ้น หรือใช้สื่อมัลติมีเดียมาช่วยให้ทำความเข้าใจกับเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้การที่เผยแพร่ผ่านไอแพดซึ่งพกพาสะดวก ยังทำให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่และทุกเวลา”
       
       เมื่อได้ทดลองใช้งานแอพพลิเคชั่น พบว่าให้ประสบการณ์ที่ค่อนข้างต่างจากฉบับหนังสือ ด้วยภาพที่คมชัด สวยงาม ลักษณะการอ่านเรื่องที่ไม่ได้พลิกจากซ้ายไปขวา เพียงอย่างเดียว แต่มีการลากขึ้นลง หรือแตะเพื่อเข้าสู่เนื้อหาต่อเนื่อง หรือรับชมภาพเพิ่มเติม
       
       ทั้งนี้ นอกจากการนำเนื้อหาเดิมมาเรียบเรียงใหม่แล้ว แอพพลิเคชั่นดังกล่าวยังเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนของประวัติหลวงตา ภารกิจ ‘ผ้าป่าช่วยชาติ’ และเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘พระธาตุ’ อันเป็นอัศจรรย์แห่งพระผู้เป็นเนื้อนาบุญและเป็นพยานแห่งการบรรรลุธรรมของหลวงตาบัว เพื่อให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
       
       สำหรับผู้ใช้งานไอแพด สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นได้ฟรี โดยเซิร์ชคำว่า Luangta Bua ที่ App Store หรือเข้าสู่ลิงค์ http://itunes.apple.com/th/app/luangta-bua/id441198614?mt=8
       
       นอกจากนี้บริษัทผู้ผลิตยังเปิดเผยว่า มีแผนพัฒนาให้สามารถอ่านหนังสือดิจิตอลฉบับนี้ผ่านอุปกรณ์แบล็กเบอร์รีเพลย์บุ๊ก (BlackBerry PlayBook) ในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย
       
       ไม่ว่าตัวกลางที่เป็นสื่อในการกระจายสารจะเปลี่ยนไปอย่างไร จากหนังสือ สู่เทปบันทึกเสียง รายการโทรทัศน์ มาจนถึงไอแพด สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนเสมอมา คือธรรมะเป็นเรื่องใกล้ตัวและทันสมัยเสมอ ไม่ว่าจะยุคไหนๆ
       
       (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 128 กรกฎาคม 2554 โดย กองบรรณาธิการ)
 
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9540000080641

http://pad.fix.gs/index.php?topic=2379.new#new

http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=2539.0