ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2011, 09:41:06 am »






คอลัมน์ หนังช่างคิด โดย Oldboy บางคูวัด Sompratana08@yahoo.com



สงครามเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 หรือการแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองของไทยจบลงไปแล้วและผู้ชนะได้แก่ พรรคเพื่อไทย... ขณะเดียวกันก็ขอแสดงความเสียใจและเป็นกำลังใจให้กับ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพยายามอย่างสุดความสามารถแล้ว
               
เอาละ ล้มแล้วก็ต้องลุกขึ้นใหม่ให้ได้ ทบทวนจากความพ่ายแพ้ เก็บบทเรียนเพื่อนำไปแก้ไข แล้วกลับมาใหม่ในโอกาสหน้า... สู้เขาต่อไปนะ...
               
อ้าวยังครับ...เพิ่งเริ่มทักทายจะทิ้งท้ายกันแบบหนังการ์ตูนญี่ปุ่นดื้อๆ แบบนี้มันก็กระไรอยู่
               
 
ว่าแล้วรอบนี้ขออนุญาตมาแบบโรงหนังชั้น 2 ชานเมือง(ที่เหลือน้อยเต็มที) ฉาย 2 เรื่องควบกันไปเลย
               
 
อันเนื่องมาจากบรรยากาศ อารมณ์ของ ผู้แพ้-ผู้ชนะ ความสำเร็จ-ล้มเหลว ยังกรุ่นๆ กันอยู่ ประกอบกับช่วงนี้กำลังมีมหกรรมการแข่งขันจักรยานทางไกลระดับโลกที่จัดกันมาต่อเนื่องนานเกือบ 100 ปีแล้วนั่นคือ ตูร์ เดอ ฟรองก์ (Tour de France) เปิดฉากซัดกันมาตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 2554 ที่ประเทศฝรั่งเศส (เขาแข่งกันประมาณ 20 กว่าวัน ติดตามชมได้ทางเว็บไซต์ของ ตูร์ เดอ ฟรองก์ หรือทางช่องเคเบิล ค่าย ทรู ก็เอาไฮไลต์มาฉายวันละ 2 รอบ)
               
และประกอบกับผู้เขียนชื่นชอบเรื่องจักรยานเป็นการส่วนตัว จึงถือวิสาสะ หยิบภาพยนตร์ที่ว่าด้วยเรื่องจักรยานทั้งของไทยทำและญี่ปุ่นทำ มาแนะนำในคอลัมน์นี้เสียเลยนั่นคือ  “เพื่อนไม่เก่า” และ “สิงห์นักปั่น”
               
 
จุดร่วมประการหนึ่ง ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องมีพาหนะ 2 ล้อ กับคนปั่นจักรยานเป็นแก่นแกนของเรื่อง อีกประการหนึ่ง มีการจัดฉายรอบพิเศษ ซึ่งทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มผู้นิยมปั่นจักรยานในเมืองไทยเหมือนๆ กันอีก (รวมถึงแตะไปที่เรื่อง เรียกร้องให้ภาครัฐสนับสนุนกิจกรรมจักรยาน เมืองจักรยาน ลดโลกร้อน ฯลฯ)
               
 
กับอีกประการหนึ่งที่สำคัญนั่นคือ ความพยายามในการเล่าเรื่องที่เน้นถ่ายทอด “วิธีการ” หรือการใส่ “ความพยายาม” ความมุ่งมั่น ทุ่มเท ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นกับผู้คนรอบตัว มากกว่าประเด็นว่าที่สุดแล้วจะ แพ้ หรือ ชนะ สำเร็จ หรือ ล้มเหลว
               
 
“เพื่อนไม่เก่า” เป็นผลงานกำกับภาพยนตร์ของ “ปิง” เกรียงไกร วชิรธรรมพร ภายใต้การดูแลอำนวยการผลิตโดย ”มะเดี่ยว” ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ซึ่งออกตัวเอี๊ยด! ว่าเป็นหนังวัยรุ่นรวมหนุ่มหน้าใสมาใส่ในเรื่องราวแบบ “โรดมูวี่” เป็นครั้งแรก(ด้วยความเคารพ ผมยังชอบหนังโรดมูวี่แบบไทยๆ ที่ทำได้อย่างลงตัวอย่าง “กอด” มากกว่าอยู่พอสมควร)
               
 
ซึ่งก็ถือว่าตอบโจทย์ได้พอสมควรแม้จะไม่โดนถึงขนาดทำรายได้ถล่มทลายก็เถอะ
 
"เพื่อนไม่เก่า" เล่าเรื่องของ นัท,ต๋อย,ข้าว,โป้ และ กี กลุ่มเพื่อนสนิทสมัยมัธยม ที่ไปบนบานไว้กับพระธาตุลำปางหลวงว่า ถ้าเอ็นทรานซ์ติด  พวกเขาทั้ง 5 คนจะปั่นจักรยานจากกรุงเทพ ขึ้นมาที่ลำปางเพื่อแก้บน
 
โดยพล็อตเรื่องเปิดกว้างแบบนี้ ผู้กำกับจึงสามารถเลือกแง่มุมที่จะเล่าเรื่องระหว่างการเดินทางของทั้ง 5 หนุ่มได้ตามแต่จะอยากใส่อะไรลงไปบ้าง ความหมายของมิตรภาพระหว่างเพื่อนผู้ชายวัยห้าว ความรับผิดชอบ การแก้ไขปัญหาอุปสรรค ตลอดจนความขัดแย้ง ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน อันเป็นปัจจัยที่จะเข้ามาทดสอบว่า ถึงที่สุดแล้ว พวกเขาจะบรรลุภารกิจที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่
 
นอกจากนี้ การเลือกบทสรุปตามมุมมองของผู้กำกับ ก็เน้นย้ำในประเด็นที่ผมพูดถึงตั้งแต่ต้นว่า หลายๆ ครั้ง เราอาจตัดสินหรือประเมินคุณค่าในการลงมือทำอะไรสักอย่างหนึ่ง โดยวัดที่ “สำเร็จ” หรือ “ล้มเหลว” โดยหลงลืมไปว่า โดยเนื้อแท้แล้ว มันมีองค์ประกอบ มีแง่มุมอื่นๆ ให้เก็บกลับไปคิดได้อีกไม่น้อยเหมือนกัน
 
เช่น การตั้งคำถามกับคำว่า “พยายาม” หรือกลับมาทบทวนดูอีกครั้งว่า จริงๆ แล้ว เพื่อนแต่ละคนก็คือ และให้ความสำคัญกับแต่ละเรื่องไม่เท่ากันเสมอ ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องยาก หากจะหลอมรวมให้ทุกคนคิดเหมือนกัน เชื่อเหมือนกัน หรือ “พยายาม” ให้เท่ากัน ทั้งที่แต่ละคนก็มีพื้นฐาน มีที่มา และมีเงื่อนไขส่วนตัวแตกต่างกันไป
เป็นเรื่องที่ดูได้เพลินๆ แม้จะไม่เข้มข้นมากเท่าที่คาดหวังไว้ล่วงหน้าก็ตาม
 
ส่วน “SHAKARIKI สิงห์นักปั่น” ภาพยนตร์สัญชาติญี่ปุ่นที่สร้างจากอภิมหาอมตะการ์ตูนแนวกีฬาระดับตำนานที่แม้จะไม่ดังในวงกว้างเหมือน กัปตัน ซึบาสะ การ์ตูนเกี่ยวกับฟุตบอล แต่คอการ์ตูนในวัยเลขหลัก 3 ขึ้นไปมักไม่พลาดเรื่องนี้ ยิ่งถ้าชอบกีฬาจักรยาน ยิ่งต้องขวนขวายหามาอ่านให้จงได้
 
สิงห์นักปั่นเล่าเรื่องราวของ โนโนมูระ  เทรุ ซึ่งมีคาแรกเตอร์ชัดเจนแบบในการ์ตูนนั่นคือ เป็นเด็กหนุ่มเงียบ ไม่ค่อยพูดจา ไม่ตั้งใจเรียน แต่บ้านปั่นจักรยานสุดชีวิตจิตใจ
 
จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการเอาชนะเนินเขาสูงตระหง่านในเมือง ด้วยจักรยานก๊องแก๊งของเขา “เด็กบ้า” ที่เอาแต่ปั่นจักรยานเพื่อพิชิตเนินเขาคนนั้นก็เติบโต และเรียนรู้เกี่ยวกับการแข่งขันจักรยานมากขึ้นๆ ได้เจอกับเด็กหนุ่มนักปั่นในวัยเดียวกันที่ฝึกซ้อมอย่างถูกวิธี กับจักรยานสำหรับแข่งขันที่มีประสิทธิภาพดีกว่า มีเกียร์ทดรอบ ฯลฯ
 
 
และก็เป็นไปตามขนบของภาพยนตร์ดราม่าสปอร์ต “เทรุ” ที่บ้าพลังและทะนงตนว่าฉันปั่นขึ้นเนินเก่งที่สุดก็เจอของจริง ต้องถอยกลับมาตั้งหลักฝึกฝนใหม่ ซึ่งนอกจากจะเริ่มเรียนรู้วิธีการซ้อมที่ถูกต้องและเป็นระบบแล้ว เขายังต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจคนอื่น การเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การทำงานเป็นทีม(หลังจากเริ่มต้นได้อย่างเลวร้าย ร่วมทีมลงแข่งครั้งแรกก็ทำให้ทีมของโรงเรียนแพ้ จนชมรมจักรยานถูกสั่งยุบ!)
 
กระทั่งท้ายที่สุดคือ เรื่องของการ “เสียสละ” การไปสู่เป้าหมายของส่วนตัวและส่วนรวม ซึ่งในเรื่องการแข่งขันจักรยานแบบทีมจะมีประเด็นการเชื่อฟัง/ปฏิบัติตามแผนของโค้ช รวมถึงการยอมรับ “หัวหน้าทีม” ที่ท้าทายความคิด ความเชื่อและความมุ่งมั่นพยายามในส่วนปัจเจกด้วย
 
ดูทั้ง 2 เรื่องแล้ว ได้มุมคิดที่หลากหลาย และชวนให้นึกถึงการให้ความหมายต่อคำว่า ชนะ-แพ้, สำเร็จ-ล้มเหลว ที่คนไทย สังคมไทยก็กำลังเรียนรู้กันอย่างเคร่งเครียด
 
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ กีฬา, การเรียน, อาชีพการงาน, สถาบันครอบครัว ไปจนถึง การเมือง การปกครอง
เพราะทุกเรื่อง ก็หนีไม่พ้นการชี้วัดด้วยคำว่า ชนะ-แพ้, สำเร็จ-ล้มเหลว จนกระทั่งลืมคิด ลืมมองเรื่องคุณค่าของ “วิธีการ” ตลอดจน “ความพยายาม” ที่เกิดขึ้นในระหว่างทาง ในระหว่างการแข่งขัน
 
 
ซึ่งสำหรับผมแล้ว มันสำคัญ และมีคุณค่าให้เก็บ-จดจำ ไม่น้อยไปกว่าชัยชนะที่หอมหวานหรือ บทเรียนจากความพ่ายแพ้ที่แสนเจ็บปวดเลย
...............................
 
“เพื่อนไม่เก่า” ยังไม่เห็นวางจำหน่ายในรูปแบบ DVD  / VCD อาจต้องรออีกสักระยะหนึ่ง
“SHAKARIKI สิงห์นักปั่น” มีแผ่น DVD และ ค่ายโรส ผลิต หาซื้อได้ตามร้านชื่อดังทั่วไป

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310020524&grpid=01&catid=&subcatid=


鐵馬頑童 SHAKARIKI