ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2011, 11:09:37 am »

อนุโมทนา สาธุค่ะ พี่แป๋ม

 :13:
 
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2011, 09:55:21 am »

 

สำคัญที่สติ  
: พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

สติเป็นธรรมอันเอก ที่จะคอยประคององค์สมาธิให้เดินไป
ในแนวสัมมาปฏิปทา ข้อนี้หลวงพ่อท่านเน้นไว้หนักหนา

“สิ่งที่รักษาสมาธิไว้ได้คือสตินี้ เป็นธรรม เป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง
ซึ่งให้ธรรมอันอื่นๆ ทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง
สตินี้คือชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใด
ก็เหมือนตาย ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เป็นคนประมาท

ในระหว่างที่ขาดสตินั้น พูดไม่มีความหมายการกระทำไม่มีความหมาย
ธรรมคือสตินี้ คือความระลึกได้ในลักษณะใดก็ตาม
สติเป็นเหตุให้สัมปชัญญะเกิดขึ้นมาได้
เป็นเหตุให้ปัญญาเกิดขึ้นมาได้ ทุกสิ่งสารพัด

ธรรมทั้งหลายถ้าหากว่าขาดสติ ธรรมทั้งหลายไม่สมบูรณ์
อันนี้คือการควบคุมการยืน การนั่ง การนอน
ไม่ใช่เพียงขณะนั่งสมาธิเท่านั้น แต่เมื่อเราออกจากสมาธิไปแล้ว
สติยังเป็นสิ่งประจำใจอยู่เสมอ มีความรู้อยู่เสมอ
เป็นของที่มีอยู่เสมอ ทำอะไรก็ระมัดระวัง
เมื่อระมัดระวังทางจิตใจ ความอายก็เกิดขึ้นมา
การพูด การกระทำอันใดที่ไม่ถูกต้อง เราก็อายขึ้น อายขึ้น

เมื่อความอายมีกำลังกล้าขึ้นมา ความสังวรก็มากขึ้นด้วย
เมื่อความสังวรมากขึ้น ความประมาทก็ไม่มี
” นี่ถึงแม้ว่าเราจะ
ไม่ได้นั่งสมาธิอยู่ตรงนั้น เราจะไปไหนก็ตาม อันนี้มันอยู่ใน
จิตใจของตัวเอง
ไม่ได้หนีไปไหน นี่ท่านว่าเจริญสติ ทำให้มาก เจริญให้มาก


อันนี้เป็นธรรมะคุ้มครองรักษากิจการที่เราทำอยู่หรือทำมาแล้ว
หรือกำลังจะกระทำอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นธรรมะที่มีคุณประโยชน์มาก
ให้เรารู้ตัวทุกเมื่อ ความเห็นผิดชอบมันก็มีอยู่ทุกเมื่อ

เมื่อความเห็นผิดชอบมีอยู่เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อ ความละอายก็เกิดขึ้น
จะไม่ทำสิ่งที่ผิดหรือสิ่งที่ไม่ดี เรียกว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว

แม้ในการเจริญปัญญา สติในแง่ของการระลึกรู้อยู่ในความไม่แน่
ก็เป็นปัจจัยอันสำคัญอย่างหนึ่ง “ก็ให้รู้ว่า อันนี้มันไม่แน่นอน
อย่างนี้เรื่อยไปเถอะ แล้วปัญญามันจะเกิดหรอก

แต่อย่าไปคิดออกหน้ามันนะ ให้ดูไปเถอะให้มันรู้
ถ้าหากเรารู้มันจะมารายงานเราหรอก มันก็คล้ายๆ คนเข้าไป
ในบ้านที่มีหน้าต่างอยู่ ๖ ช่องแล้วก็มีคนๆ เดียวอยู่ในนั้น

เราไปดูหน้าต่าง ก็มีคนโผล่ออกไป ทางโน้นก็มีคนโผล่ออกไป
มันก็ไอ้คนๆ เดียวกันนั่นแหละ ไม่ใช่คน ๖ คน คนๆ เดียว
มันไปโผล่ทั่วถึงกันทั้งหมด ๖ ช่อง คนๆ เดียวก็เรียกว่า
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นของไม่แน่ไม่นอนทั้งนั้น

นี้เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา จะตัดความสงสัยทั้งหลายออกไปได้”


(ที่มา : “สำคัญที่สติ” ใน ตามรอยพระอริยเจ้า หลวงพ่อชา สุภทฺโท
พระโพธิญาณเถรแห่งหนองป่าพง, เรียบเรียง โดย ดำรงธรรม, หน้า ๑๖๓-๑๖๕)



http://www.whitemedia.org/wma/content/view/4050/15/
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
สุขใจดอทคอม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ