ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2011, 06:52:14 am »




ปัญญาบารมีช่วยให้พ้นจากบ่วงมาร
 : หลวงปู่หลอด ปโมทิโต

  หลังจากที่หลวงปู่และคณะได้กลับไปบำเพ็ญสมณะธรรมที่พระบาทบัวบกไม่นาน ท่านก็ได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมงานผูกพัทธสีมา ณ วัดป่าบ้านกุดสิม อำเภอโนนสัง อุดรธานี โดยพระอาจารย์ชมเป็นผู้นิมนต์ ครั้นเสร็จงานแล้วหลวงปู่ก็ธุดงค์กลับไปอุดรธานีอีกครั้ง ครั้งนี้ท่านได้แยกธุดงค์กันกับหลวงปู่อ่อนศรีที่นั่น

   หลวงปู่ท่านได้กลับไปพักอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์ และได้พบกับพระอาจารย์คำภา จุนฺโท ครั้งนี้หลวงปู่ได้เขียนเล่าไว้ในอัตโนประวัติว่า

   อาตมาก็ได้มีโอกาสรู้จักและคุ้นเคยกับพระอาจารย์คำภา จุนโท เมื่อเราได้รู้จักสนิทสนมกันแล้วและรู้สึกว่าคุยถูกคอ ท่านก็ได้ชวนอาตมาออกวิเวกไปด้วยกัน ซึ่งท่านชวนให้เดินทางไปแถบตำบลหนองหาร ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน อาตมาก็รับคำ

   พอได้ฤกษ์งามยามดี คณะของพวกเราก็ออกวิเวก ไปทางหนองหาร ผ่านไปจนถึงบ้านเชียง เห็นว่าจวนเข้าพรรษาแล้วเลยตกลงกันอยู่จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านเชียง (พรรษาที่ 7 ) เวลาล่วงเลยไปเกือบพรรษาก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้อาตมาเกือบเสียคน

   คืออาตมาได้เจอมารทางจิตอย่างสาหัส มันโถมเข้าย่ำยีอาตมาจนแทบตั้งตัวไม่ติด
มารที่ว่านั้น คือ กามคุณ 5 (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส)
   ได้เกิดขึ้นก่อกวนอย่างหนัก สาเหตุจากการที่ได้มาอยู่จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านเชียงนี่เอง เพราะในท้องถิ่นนี้มีประเพณีอยู่อย่างหนึ่งคือ จะคัดเลือกสาวๆรุ่นๆ เสียงดีมาทำการหัดสวดมนต์สรภัญญะ ซึ่งเป็นการสวดมนต์ที่คล้ายๆกับร้องเพลง มีท่วงทำนองไพเราะเพราะพริ้งมาก มีบทร้องบรรยายเรื่องราวต่างๆ เท่าที่อาตมาทราบดูเหมือนจะแต่งโดย หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และหลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นทำนองคลองจ้องกันไป เป็นประเพณีของท้องถิ่นที่สืบกันมานาน ใช้ขับร้องในงานต้อนรับแขกต่างถิ่น หรือพระแปลกหน้า โดยมากขับร้องเฉพาะวันพระ

   อาตมาก็เช่นกัน เมื่อเป็นแขกต่างถิ่นเข้ามาพักอยู่ในถิ่นนั้นพวกชาวบ้านก็จัดการเกณฑ์สาวๆรุ่นๆ มาสวดสรภัญญะแทบทุกคืน น้ำเสียงที่ได้ยินได้ฟังประกอบกับรูปร่างหน้าตาของสาวรุ่นได้ก่อให้เกิดไฟในใจคือกามคุณ 5 ขึ้นมารุมเร้าจนเกือบแก้ไขตนเองไม่ได้ มีทั้งรูป เสียง ปรากฏทางนิมิตเสมอ จิตใจของอาตมาทุรนทุราย ร้อนรุ่ม อึดอัด และหนักอึ้งไปหมด เป็นอาการที่แสนจะทรมาน จนเกือบจะรักษาเพศบรรพชิตไปไม่รอด

   แต่แล้วด้วยสติปัญญา (ปัญญาบารมี) ที่ได้รับการอบรมมาจากครูบาอาจารย์ก็ผุดขึ้นมาช่วยแก้ปัญหา ประมาณเดือนหนึ่งที่อาตมาแสนจะทรมาน แต่แล้วก็ปลุกใจตนเองว่าปัญหาคือสิ่งที่ต้องแก้ อุปสรรคคือสิ่งที่ต้องต่อสู้ เราจะหาวิธีแก้มัน สู้กับมันให้สมกับการเป็นลูกผู้ชายและเป็นลูกของพระตถาคตด้วยแล้ว เป็นไงเป็นกันจะไม่ยอมสยบต่อมาร

   อาตมาได้ใช้ความพยายามอยู่หลายวันกว่าจะหาอุบายธรรมมาแก้ไขจิตให้หายจากความผูกติดกับรูปและเสียงที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนั้นตามแต่จะคิดได้ ในใจของอาตมาระลึกอยู่ตลอดว่า เป็นไงเป็นกัน มันจะไม่ยอมสยบต่อมาร ว่าแล้วก็กำหนดหาวิธี หาทางแก้โดยอัตโนมัติ

   ครั้งแรกกำหนดหลักการว่าจะฉันให้น้อยแค่พออยู่ได้ แต่จะเดินจงกรมทั้งวัน เพื่อเป็นการทรมานตนให้เมื่อยเพลีย จิตใจจะได้ไม่มีโอกาสที่จะคิดถึงรูปเสียง ขั้นตอนในการปฏิบัติคือ หลังจากประกอบภัตตกิจเสร็จแล้ว ล้างบาตร เช็ดเก็บเรียบร้อยแล้วก็เข้าห้องไหว้พระให้ใจสบาย พร้อมกับตั้งจิตอธิษบานว่าขอให้บารมีพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณได้ช่วยดลบันดาลให้จิตใจของข้าพเจ้าพบกับความเบา ว่าง กระจ่าง สงบ จนมีกำลังคลายจากกามคุณทั้งหลายด้วยเทอญ

   จากนั้นก็ไปเดินจงกรม ตั้งแต่ 3 โมงเช้า ก็เดินเรื่อยไปเดินไปเดินมาอยู่อย่างนี้จนถึง 5 โมงเย็นจึงหยุด แล้วไปทำกิจวัตรประจำวัน ตั้งใจว่าจะทำอยู่อย่างนี้ ถ้าครบ 15 วันแล้วยังไม่ได้ผลก็จะเปลี่ยนวิธีใหม่ ทำความเพียรเพื่อทรมานตนโดยไม่ยอมสยบ แม้ว่าฝนจะตก แดดจะออก อาตมาก็ได้พยายามทำความเพียรเพื่อทรมานตนด้วยอย่างนั้น โดยไม่ท้อถอยจนกระทั่งครบ 15 วัน แล้วก็ยังไม่ได้ผล กามคุณมิได้ลดน้อยถอยลงเลย แต่มันกลับยิ่งกำเริบมากขึ้นเสียอีก

   หลังจากที่หลวงปู่ท่านทำเพียรทรมานตนจะครบ 15 วัน แต่ก็ไม่ได้ผล ท่านว่า "นั่นเพราะมิใช่หนทางอันประเสริฐ มิใช่หนทางที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้เลย ทุกรกิริยานี้มิใช่ทางที่ประเสริฐเลย เมื่อไม่ใช่ทางที่จะพ้นทุกข์แล้ว จะเอาอะไรกับทางนี้ที่จะมาสู้รบกับกิเลสเล่า กิเลสมารจึงไม่ได้ลดละเลย
"

   หลวงปู่ท่านเล่าต่อไปอีกว่า
   "จากนี้เราควรจะใช้หลักมหาสติปัฏฐานมาแก้ไขปัญหาดู นั่นคือการพิจารณาดูกาย เวทนา จิต ธรรม แต่ในครั้งนี้เห็นทีจะต้องตามพิจารณาดูจิตทุกขณะ
   จิตจะคิดไปไหนก็จะตามกำหนดรู้ จิตอยู่อย่างไรก็รู้อาการทางจิต มีอารมณ์ใดเกิดขึ้นในจิตก็ตามรู้ ถ้ามันร้อน มันร้อนยังไง เพราะอะไร ถ้าจิตรู้สึกสบาย ก็กำหนดดูว่าสบายอย่างไร

   ทำอย่างไรจึงจะทรงอารมณ์นั้นให้นานๆ จำเป็นต้องให้สติสัมปชัญญะคอยควบคุมอยู่กับจิตตลอดเวลาโดยไม่ลดละ
   พอพยายามตามดูอยู่อย่างนั้นทุกขณะเป็นเวลาประมาณ 30 นาที จิตก็เริ่มเบา เย็นและสงบลง อาตมาพบว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้อง ใช่แล้ว วิธีนี้แน่แล้ว...ถูกแล้ว
   
   จากนั้นก็เกิดอาการภูมิใจ อิ่มใจ ปลื้มใจจนขนลุกชันและก็ยิ่งมีกำลังใจ จึงตามดูจิตอย่างหนักยิ่งขึ้นกว่าเดิม ผลก็ยิ่งคืบหน้า คือจิตยิ่งสบายๆ จนในที่สุดก็ปกติเหมือนเมื่อครั้งก่อนๆมา


   สำหรับอาตมาเอง เมื่อมีปัญหาทางจิต ก็ใช้แนวทางของสติปัฏฐานในการแก้ปัญหาและก็ได้ผลดีเสมอมา นี่คือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นโดยตรงกับตนเอง แต่นักปฏิบัติทั้งหลายไม่ควรปลงใจเชื่อข้าพเจ้าทันที เพราะอุปนิสัยและบารมีของแต่ละบุคคลนั้นไม่เหมือนกัน วิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผลจึงอาจจะแตกต่างกันไป ถึงอย่างไรด้วยความหวังดีต่อกัน อาตมาขอโอกาสให้ข้อเสนอแนะต่อผู้ปฏิบัติทั้งหลายว่า เมื่อท่านเจอมารทางกายหรือมารทางใจก็ตาม ท่านจงตั้งสติให้ดี อย่าให้หวั่นไหว อย่าให้สติรวน จงควบคุมความคิดของตนเองให้มั่นคง อย่าให้หวั่นไหว อย่าให้คลอนแคลน แล้วค่อยๆคิดหาวิธีแก้ปัญหานั้นด้วยความใจเย็นและให้สุขุมรอบคอบที่สุด โดยเฉพาะต้องใช้ขันติและความฉลาดให้มากเป็นพิเศษ

   เมื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการแก้ปัญหาได้แล้ว ก็ให้ดำเนินการแก้ปัญหาตามหลักการที่กำหนดไว้นั้นด้วยความมีสัจจะที่แน่นอนและมั่นคงว่า จะทดลองแก้ปัญหานั้นตามหลักการนั้นๆสักกี่วัน ก็พยายามทำให้ได้ตามที่ตั้งใจ ถ้าไม่ได้ผลโดยวิธีปฏิบัติเช่นนี้ ท่านก็จะพบวิธีใดวิธีหนึ่งในใจของท่านเองจนได้ เพราะจิตที่ศึกษาสภาพย่อมเกิดการรู้ผลไปโดยอัตโนมัติ ที่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ก็โดยอาศัยหลักค่อยๆทำ ค่อยๆปฏิบัติ ค่อยๆติดตามดูจิตนั่นเอง เอาจิตศึกษาจิตแล้วก็เกิดความรู้สึกที่เป็นสภาวะธรรมโดยผู้นั้นจะรู้ด้วยตนเองดีว่า สภาพจิตนั้นมันเป็นอย่างไร เพราะมันเป็นปัจจัตตัง เรื่องที่รู้เฉพาะด้าน ใครทำ ใครก็ได้ ใครกินใครก็อิ่ม"



   จาก ปโมทิตเถรบูชา ประวัติหลวงปู่หลอด ปโมทิโต
http://pad.fix.gs/index.php?topic=1166.0
Pics by : Google
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ