ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 10:23:41 pm »อานิสงส์ดอกเบี้ยแบงก์ฟันกำไรเละ
ธุรกิจ-ลูกหนี้บ้านกระอักจ่ายเพิ่ม
-http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentID=152919-
ท่ามกลางสารพัดปัจจัยเสี่ยงที่ถาโถมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของไทย ทั้งความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมองไม่เห็นว่าจะหยุดยั้งอยู่ ในระดับใดกันแน่ ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศที่ยังไม่นิ่งไม่เงียบอย่างแท้จริง แม้จะได้รัฐบาลชุดใหม่ที่มีผู้นำเป็นผู้หญิงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติตาม ที่คนไทยส่วนใหญ่ต้องการแล้วก็ตาม
ที่สำคัญนโยบายซื้อใจรากหญ้าของรัฐบาลชุดใหม่ที่ต้องใช้เงินมหาศาล เพื่อให้คนไทยมีเงินจับจ่ายใช้สอยได้อย่างคล่องมือ โดยเฉพาะการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท การเพิ่มเงินเดือนให้กับผู้จบปริญญาตรีที่ระดับ 15,000 บาท รวมไปถึงการรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาทุกเม็ดในราคาตันละ 15,000 บาท กลับกลายเป็นดาบสองคมที่เพิ่มแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้นมากไปอีก
ด้วยความเสี่ยงเหล่านี้จึงทำให้ผู้คุมนโยบายด้านการเงินอย่างธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) ออกมาส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินเฟ้อไม่ให้พุ่งทะยานเพิ่ม ขึ้น จนกลายเป็นอุปสรรคซ้ำเติมให้เศรษฐกิจไทยถลำลึกลงอีก โดยธปท.ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กลางปี 53 ที่ผ่านมา
ที่สำคัญ ธปท.ยังได้ตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจน!! ที่จะให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ภาวะปกติภายในปี 54 เพราะทุกวันนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงยังคงติดลบอยู่ที่ 0.7% ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 54 ธปท.โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือกนง.ได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 3.25% ตามการคาดหมายของทุกฝ่าย แถมยังคาดหมายกันอย่างต่อเนื่องด้วยว่า นับจากนี้ไปจนถึงสิ้นปีหรืออาจไปจนถึงกลางปีหน้า กนง.จะตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยไปจนถึง 4% เพื่อให้ดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับปกติอย่างที่ธปท.ตั้งเป้าหมายไว้
อัตราดอกเบี้ยที่เป็นช่วงขาขึ้นเช่นนี้ ต่างซ้ำเติมให้ผู้ที่มีภาระสารพัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดามนุษย์เงินเดือน ทั้งหลายที่ยังต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือแม้แต่เด็กนักเรียนที่พ่อแม่ต้องกู้เงินเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมไปถึงภาคเอกชนที่ต้องกู้เงินแบงก์มาลงทุน มาทำธุรกิจ มาต่อชีวิตให้ตัวเอง ก็ต้องมีภาระเรื่องดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แม้ในด้านของผู้ที่มีเงินฝากที่มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก จะออกอาการยิ้มร่าเพราะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็ตาม แต่รายได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็ไม่ทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำปรับเพิ่มมาก ขึ้นนัก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ฝากเงินช่วงหลังจึงหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภท อื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า บางรายหันไปลงทุนในตั๋วแลกเงินเพิ่มมากขึ้นแทนแม้จะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า แต่ก็ได้รับดอกเบี้ยที่งอกเงยกว่า
ขณะเดียวกันหากกลับไปพินิจพิเคราะห์ให้ดีแล้ว ต้องถามกลับไปว่ารายได้จากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นคุ้มค่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นให้กับธนาคารพาณิชย์หรือไม่
เพราะนับตั้งแต่ต้นปี 54 เป็นต้นมา ธปท.ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 5 ครั้ง รวม 1.5% แต่ปรากฏว่าบรรดาธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายต่างปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย เพียง 0.10-0.50% เท่านั้น แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ต่างเฮโลปรับขึ้นเฉลี่ยไปจนถึงระดับ 1.5% ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นดอกเบี้ยเงินฝากที่ปรับขึ้นเฉลี่ย 0.50% กลายเป็นดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบัญชีเงินฝากประจำที่มีเงื่อนไขการฝากเงิน ขั้นต่ำ ขณะที่เงินฝากประเภทออมทรัพย์หรือเผื่อเรียกยังคงต่ำเตี้ยติดดิน เพราะจนถึงขณะนี้ยังมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยเพียง 0.875% เท่านั้น
แต่เมื่อหันมาดูที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แล้วต่างกลับกันอย่างสิ้นเชิง เพราะทุกครั้งที่ กนง. มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์ต่างพร้อมใจกันปรับขึ้นสูงในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทันทีคือที่ระดับ 0.25% และเป็นการปรับขึ้นในทุกประเภทของเงินกู้ จนทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ในเวลานี้ต่างทะยานสูงถึง 7.125 -7.875%
อย่างครั้งล่าสุดที่กนง.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ปรากฏว่าธนาคารพาณิชย์ก็พาเหรดกันขึ้นดอกเบี้ยตามกันไปด้วย โดยธนาคารกรุงเทพ ปรับขึ้นดอกเบี้ยออมทรัพย์ 0.125% ส่วนเงินฝากประจำปรับขึ้นสูงสุดที่ 0.50% ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ ปรับขึ้นทันที 0.25% เช่นเดียวกับธนาคารกรุงไทย ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.125% เงินฝากประจำ 0.125-0.25%
ด้านธนาคารธนชาตและธนาคารนครหลวงไทย ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำอีก 0.10-0.45% ส่วนธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทเพิ่มขึ้น 0.15% ต่อปี ส่วนเงินกู้ปรับเพิ่ม 0.25% แม้ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารพาณิชย์จะถือว่าเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะเมื่อมีธนาคารคู่แข่งปรับขึ้น ก็ต้องปรับขึ้นตามไปด้วย เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและการทำกำไรของตัวเอง
เหตุนี้เรื่องของ ’ส่วนต่างดอกเบี้ย“ จึงกลายเป็นประเด็นร้อนทุกครั้งเมื่อมีการขึ้นดอกเบี้ยว่า ธนาคารพาณิชย์ฟันส่วนต่างดอกเบี้ยสูงเกินไปเพื่อรักษากำไรของตัวเองให้เติบ โตอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกธนาคารต่างมีส่วนต่างดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า 3%
ด้านธนาคารพาณิชย์เองต่างพยายามชี้แจงว่า ไม่สามารถนำดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไปลบกัน แล้วถือเป็นกำไรที่ธนาคารได้จากการนำเงินชาวบ้านไปปล่อยกู้ไม่ได้ แต่ต้องหักค่าใช้จ่ายค่าบริหารจัดการ การกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญ จ่ายเงินสมทบเข้า สำนักงานคุ้มครองเงินฝาก 0.4% และยังค่าใช้จ่ายอีกสารพัด ดังนั้นรายได้จากส่วนต่างดอกเบี้ยไม่ได้สูงมาก และธนาคารเองมีกำไรต่างกันตามประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ
แต่หากย้อนกลับไปดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 50 พบว่าธนาคารพาณิชย์มีส่วนต่างดอกเบี้ยรับสุทธิหรือนิมอยู่ที่ 3.05% ปี 51 อยู่ที่ 3.51% ขณะที่ปี 53 อยู่ที่ 3.25% ส่วนในปี 54 แต่ละธนาคารต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องรักษาส่วนต่างนี้ให้ได้ที่ระดับ 4%
ดังนั้น…จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในงวดครึ่งปีแรก ของปี 54 ที่จะพากันโกยกำไรเป็นกอบเป็นกำกว่า 42.25% เพราะจากการรายงานผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 9 แห่ง ที่แจ้งงบการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่า มีกำไรสุทธิรวม 70,821.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21,036.38 ล้านบาท หรือ 42.25% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 49,785.12 ล้านบาท
ส่วนในงวดไตรมาสสองปี 54 มีกำไรสุทธิรวม 34,079.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,570.38 ล้านบาท หรือ 33.60% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรรวม 25,509.03 ล้านบาท ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่มีกำไรในงวดไตรมาสสองเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น และบางแห่งยังสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะมีรายได้จากนิมและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น
จากข้อมูล พบว่าธนาคารกรุงไทยมีกำไรถึง 5,241.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55.36% ส่วนใหญ่มาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 2,737 ล้านบาท หรือ 29% ขณะที่ส่วนต่างดอกเบี้ยรับ เพิ่มขึ้นเป็น 2.68% ตามด้วยธนาคารไทยพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 8,132.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,816.78 ล้านบาท หรือ 52.99% ถือเป็นผลประกอบการที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 29.7% เป็นต้น
แม้ว่าธนาคารพาณิชย์เองจะปรับกลยุทธ์ทางการตลาดของตนเองโดยหันมาใช้นโยบาย แจกของแถมมาล่อใจ ทั้งไอโฟน ไอแพด ทองคำ ซึ่งคนไทยกำลังนิยมอย่างบ้าคลั่ง เพื่อดึงเงินฝากเข้ากระเป๋ามารองรับกรณีที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะลดวงเงิน คุ้มครองกรณีสถาบันการเงินถูกปิดกิจการเหลือเพียงแค่ 50 ล้านบาท และจะลดลงเหลือเพียง 1 ล้านบาทในปี 55 ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. นี้เป็นต้นไป แทนให้ดอกเบี้ยแบบตรง ๆ ชัด ๆ กันไป ซึ่งธนาคารพาณิชย์อ้างว่าสิ่งของเหล่านี้มีค่าเสมือนกับเป็นดอกเบี้ยเช่นกัน
แต่หากทุกฝ่ายคำนึงถึงความถูกต้องและเป็นธรรมกับผู้ฝากเงินแล้วเห็นได้ชัด ว่าการจะได้รับสิ่งของล่อตาล่อใจแทนดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคาร อีกเช่นกัน ที่สำคัญสิ่งของเหล่านี้หากนำมาคิดแบบเป็นชิ้นเดียวอาจมีมูลค่าสูงบางครั้ง หากเทียบกับดอกเบี้ยแล้วอาจสูงกว่าก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการสั่งซื้อสินค้าลอตใหญ่เช่นนี้ราคาย่อมถูกกว่าการ ซื้อแยกชิ้นหรือราคาที่ปรากฏอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปอยู่แล้ว นั่นหมายความว่า ผู้ฝากเงินที่ควรจะได้รับผลตอบแทนแบบเต็ม ๆ อาจได้เพียงครึ่งเดียวก็เป็นได้เช่นกัน
แม้ว่าที่ผ่านมา ธปท.จะออกหนังสือเวียนเพื่อท้วงติงการใช้โปรโมชั่นแจกของแถมของบรรดาธนาคาร พาณิชย์ว่าธปท.ไม่สนับสนุนให้แจกผลตอบแทนเป็นอย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย แต่ถูกตอกกลับโดยฉับพลันเพราะธนาคารพาณิชย์ต่างนำมูลค่าของแจกมาเทียบเป็น ดอกเบี้ยให้ ธปท. เห็นกันชัด ๆ ไปเลย สุดท้ายธปท.ต้องกำหนดให้ธนาคารบอกอัตราผลตอบแทนที่ชัดเจนและต้องแจกให้กับ ทุกคนแบบไม่มีเงื่อนไข เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่ลูกค้า แต่ก็เหมือนเดิมเพราะไม่มีธนาคารพาณิชย์แห่งใดที่อดทนต่อศึกแย่งเงินฝากได้ เพราะทุกค่ายต่างต้องเร่งทำผลกำไรด้วยกันทั้งนั้น
สุดท้ายผลกำไร…ที่เกิดขึ้นมากมายจนทำให้ธนาคารพาณิชย์ “พุงปลิ้น” ต่างมาจากรายได้ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และอื่น ๆ โดยที่รายได้ดอกเบี้ยยังคงเป็นรายได้หลักของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ซึ่งเรื่องนี้ทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธปท. เป็นการช่วยผู้ออมเงินจริงหรือไม่ หรือเป็นการผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์กอบโกยรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้อย่าง เป็นกอบเป็นกำกันแน่!!!.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentID=152919
.
ธุรกิจ-ลูกหนี้บ้านกระอักจ่ายเพิ่ม
-http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentID=152919-
ท่ามกลางสารพัดปัจจัยเสี่ยงที่ถาโถมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของไทย ทั้งความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมองไม่เห็นว่าจะหยุดยั้งอยู่ ในระดับใดกันแน่ ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศที่ยังไม่นิ่งไม่เงียบอย่างแท้จริง แม้จะได้รัฐบาลชุดใหม่ที่มีผู้นำเป็นผู้หญิงครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติตาม ที่คนไทยส่วนใหญ่ต้องการแล้วก็ตาม
ที่สำคัญนโยบายซื้อใจรากหญ้าของรัฐบาลชุดใหม่ที่ต้องใช้เงินมหาศาล เพื่อให้คนไทยมีเงินจับจ่ายใช้สอยได้อย่างคล่องมือ โดยเฉพาะการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท การเพิ่มเงินเดือนให้กับผู้จบปริญญาตรีที่ระดับ 15,000 บาท รวมไปถึงการรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาทุกเม็ดในราคาตันละ 15,000 บาท กลับกลายเป็นดาบสองคมที่เพิ่มแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อของประเทศมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้นมากไปอีก
ด้วยความเสี่ยงเหล่านี้จึงทำให้ผู้คุมนโยบายด้านการเงินอย่างธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) ออกมาส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินเฟ้อไม่ให้พุ่งทะยานเพิ่ม ขึ้น จนกลายเป็นอุปสรรคซ้ำเติมให้เศรษฐกิจไทยถลำลึกลงอีก โดยธปท.ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่กลางปี 53 ที่ผ่านมา
ที่สำคัญ ธปท.ยังได้ตั้งเป้าหมายไว้ชัดเจน!! ที่จะให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ภาวะปกติภายในปี 54 เพราะทุกวันนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงยังคงติดลบอยู่ที่ 0.7% ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 54 ธปท.โดยคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือกนง.ได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 3.25% ตามการคาดหมายของทุกฝ่าย แถมยังคาดหมายกันอย่างต่อเนื่องด้วยว่า นับจากนี้ไปจนถึงสิ้นปีหรืออาจไปจนถึงกลางปีหน้า กนง.จะตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยไปจนถึง 4% เพื่อให้ดอกเบี้ยเข้าสู่ระดับปกติอย่างที่ธปท.ตั้งเป้าหมายไว้
อัตราดอกเบี้ยที่เป็นช่วงขาขึ้นเช่นนี้ ต่างซ้ำเติมให้ผู้ที่มีภาระสารพัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดามนุษย์เงินเดือน ทั้งหลายที่ยังต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือแม้แต่เด็กนักเรียนที่พ่อแม่ต้องกู้เงินเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมไปถึงภาคเอกชนที่ต้องกู้เงินแบงก์มาลงทุน มาทำธุรกิจ มาต่อชีวิตให้ตัวเอง ก็ต้องมีภาระเรื่องดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แม้ในด้านของผู้ที่มีเงินฝากที่มีรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก จะออกอาการยิ้มร่าเพราะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็ตาม แต่รายได้ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นก็ไม่ทำให้ดอกเบี้ยเงินฝากประจำปรับเพิ่มมาก ขึ้นนัก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผู้ฝากเงินช่วงหลังจึงหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภท อื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า บางรายหันไปลงทุนในตั๋วแลกเงินเพิ่มมากขึ้นแทนแม้จะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า แต่ก็ได้รับดอกเบี้ยที่งอกเงยกว่า
ขณะเดียวกันหากกลับไปพินิจพิเคราะห์ให้ดีแล้ว ต้องถามกลับไปว่ารายได้จากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นคุ้มค่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ต้องเสียเพิ่มขึ้นให้กับธนาคารพาณิชย์หรือไม่
เพราะนับตั้งแต่ต้นปี 54 เป็นต้นมา ธปท.ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 5 ครั้ง รวม 1.5% แต่ปรากฏว่าบรรดาธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายต่างปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย เพียง 0.10-0.50% เท่านั้น แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ต่างเฮโลปรับขึ้นเฉลี่ยไปจนถึงระดับ 1.5% ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นดอกเบี้ยเงินฝากที่ปรับขึ้นเฉลี่ย 0.50% กลายเป็นดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบัญชีเงินฝากประจำที่มีเงื่อนไขการฝากเงิน ขั้นต่ำ ขณะที่เงินฝากประเภทออมทรัพย์หรือเผื่อเรียกยังคงต่ำเตี้ยติดดิน เพราะจนถึงขณะนี้ยังมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยเพียง 0.875% เท่านั้น
แต่เมื่อหันมาดูที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แล้วต่างกลับกันอย่างสิ้นเชิง เพราะทุกครั้งที่ กนง. มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพาณิชย์ต่างพร้อมใจกันปรับขึ้นสูงในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทันทีคือที่ระดับ 0.25% และเป็นการปรับขึ้นในทุกประเภทของเงินกู้ จนทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ในเวลานี้ต่างทะยานสูงถึง 7.125 -7.875%
อย่างครั้งล่าสุดที่กนง.ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ปรากฏว่าธนาคารพาณิชย์ก็พาเหรดกันขึ้นดอกเบี้ยตามกันไปด้วย โดยธนาคารกรุงเทพ ปรับขึ้นดอกเบี้ยออมทรัพย์ 0.125% ส่วนเงินฝากประจำปรับขึ้นสูงสุดที่ 0.50% ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ ปรับขึ้นทันที 0.25% เช่นเดียวกับธนาคารกรุงไทย ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ 0.125% เงินฝากประจำ 0.125-0.25%
ด้านธนาคารธนชาตและธนาคารนครหลวงไทย ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากประจำอีก 0.10-0.45% ส่วนธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทเพิ่มขึ้น 0.15% ต่อปี ส่วนเงินกู้ปรับเพิ่ม 0.25% แม้ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารพาณิชย์จะถือว่าเป็นไปตามธรรมชาติ เพราะเมื่อมีธนาคารคู่แข่งปรับขึ้น ก็ต้องปรับขึ้นตามไปด้วย เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและการทำกำไรของตัวเอง
เหตุนี้เรื่องของ ’ส่วนต่างดอกเบี้ย“ จึงกลายเป็นประเด็นร้อนทุกครั้งเมื่อมีการขึ้นดอกเบี้ยว่า ธนาคารพาณิชย์ฟันส่วนต่างดอกเบี้ยสูงเกินไปเพื่อรักษากำไรของตัวเองให้เติบ โตอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกธนาคารต่างมีส่วนต่างดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า 3%
ด้านธนาคารพาณิชย์เองต่างพยายามชี้แจงว่า ไม่สามารถนำดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไปลบกัน แล้วถือเป็นกำไรที่ธนาคารได้จากการนำเงินชาวบ้านไปปล่อยกู้ไม่ได้ แต่ต้องหักค่าใช้จ่ายค่าบริหารจัดการ การกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญ จ่ายเงินสมทบเข้า สำนักงานคุ้มครองเงินฝาก 0.4% และยังค่าใช้จ่ายอีกสารพัด ดังนั้นรายได้จากส่วนต่างดอกเบี้ยไม่ได้สูงมาก และธนาคารเองมีกำไรต่างกันตามประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ
แต่หากย้อนกลับไปดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 50 พบว่าธนาคารพาณิชย์มีส่วนต่างดอกเบี้ยรับสุทธิหรือนิมอยู่ที่ 3.05% ปี 51 อยู่ที่ 3.51% ขณะที่ปี 53 อยู่ที่ 3.25% ส่วนในปี 54 แต่ละธนาคารต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าต้องรักษาส่วนต่างนี้ให้ได้ที่ระดับ 4%
ดังนั้น…จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ในงวดครึ่งปีแรก ของปี 54 ที่จะพากันโกยกำไรเป็นกอบเป็นกำกว่า 42.25% เพราะจากการรายงานผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 9 แห่ง ที่แจ้งงบการเงินต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่า มีกำไรสุทธิรวม 70,821.50 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21,036.38 ล้านบาท หรือ 42.25% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 49,785.12 ล้านบาท
ส่วนในงวดไตรมาสสองปี 54 มีกำไรสุทธิรวม 34,079.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,570.38 ล้านบาท หรือ 33.60% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรรวม 25,509.03 ล้านบาท ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่มีกำไรในงวดไตรมาสสองเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น และบางแห่งยังสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะมีรายได้จากนิมและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น
จากข้อมูล พบว่าธนาคารกรุงไทยมีกำไรถึง 5,241.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55.36% ส่วนใหญ่มาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 2,737 ล้านบาท หรือ 29% ขณะที่ส่วนต่างดอกเบี้ยรับ เพิ่มขึ้นเป็น 2.68% ตามด้วยธนาคารไทยพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 8,132.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,816.78 ล้านบาท หรือ 52.99% ถือเป็นผลประกอบการที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 29.7% เป็นต้น
แม้ว่าธนาคารพาณิชย์เองจะปรับกลยุทธ์ทางการตลาดของตนเองโดยหันมาใช้นโยบาย แจกของแถมมาล่อใจ ทั้งไอโฟน ไอแพด ทองคำ ซึ่งคนไทยกำลังนิยมอย่างบ้าคลั่ง เพื่อดึงเงินฝากเข้ากระเป๋ามารองรับกรณีที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะลดวงเงิน คุ้มครองกรณีสถาบันการเงินถูกปิดกิจการเหลือเพียงแค่ 50 ล้านบาท และจะลดลงเหลือเพียง 1 ล้านบาทในปี 55 ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. นี้เป็นต้นไป แทนให้ดอกเบี้ยแบบตรง ๆ ชัด ๆ กันไป ซึ่งธนาคารพาณิชย์อ้างว่าสิ่งของเหล่านี้มีค่าเสมือนกับเป็นดอกเบี้ยเช่นกัน
แต่หากทุกฝ่ายคำนึงถึงความถูกต้องและเป็นธรรมกับผู้ฝากเงินแล้วเห็นได้ชัด ว่าการจะได้รับสิ่งของล่อตาล่อใจแทนดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคาร อีกเช่นกัน ที่สำคัญสิ่งของเหล่านี้หากนำมาคิดแบบเป็นชิ้นเดียวอาจมีมูลค่าสูงบางครั้ง หากเทียบกับดอกเบี้ยแล้วอาจสูงกว่าก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วการสั่งซื้อสินค้าลอตใหญ่เช่นนี้ราคาย่อมถูกกว่าการ ซื้อแยกชิ้นหรือราคาที่ปรากฏอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปอยู่แล้ว นั่นหมายความว่า ผู้ฝากเงินที่ควรจะได้รับผลตอบแทนแบบเต็ม ๆ อาจได้เพียงครึ่งเดียวก็เป็นได้เช่นกัน
แม้ว่าที่ผ่านมา ธปท.จะออกหนังสือเวียนเพื่อท้วงติงการใช้โปรโมชั่นแจกของแถมของบรรดาธนาคาร พาณิชย์ว่าธปท.ไม่สนับสนุนให้แจกผลตอบแทนเป็นอย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย แต่ถูกตอกกลับโดยฉับพลันเพราะธนาคารพาณิชย์ต่างนำมูลค่าของแจกมาเทียบเป็น ดอกเบี้ยให้ ธปท. เห็นกันชัด ๆ ไปเลย สุดท้ายธปท.ต้องกำหนดให้ธนาคารบอกอัตราผลตอบแทนที่ชัดเจนและต้องแจกให้กับ ทุกคนแบบไม่มีเงื่อนไข เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่ลูกค้า แต่ก็เหมือนเดิมเพราะไม่มีธนาคารพาณิชย์แห่งใดที่อดทนต่อศึกแย่งเงินฝากได้ เพราะทุกค่ายต่างต้องเร่งทำผลกำไรด้วยกันทั้งนั้น
สุดท้ายผลกำไร…ที่เกิดขึ้นมากมายจนทำให้ธนาคารพาณิชย์ “พุงปลิ้น” ต่างมาจากรายได้ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และอื่น ๆ โดยที่รายได้ดอกเบี้ยยังคงเป็นรายได้หลักของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ซึ่งเรื่องนี้ทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธปท. เป็นการช่วยผู้ออมเงินจริงหรือไม่ หรือเป็นการผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์กอบโกยรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้อย่าง เป็นกอบเป็นกำกันแน่!!!.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentID=152919
.