ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2011, 09:27:31 am »




ธรรมมีอุปการะมาก  มี  ๒  อย่าง  คือ
        ๑.  สติ  ความระลึกได้
        ๒.  สัมปชัญญะ  ความรู้ตัว

ลักษณะของสติ

        ๑.  ระลึกได้          ๒.  ยึดและถือไว้

สติเกิดขึ้นได้อย่างไร 
        อาการที่จะทำให้สติเกิดขึ้นได้นั้นมี  ๖  อย่าง
                ๑.  ด้วยการเตือน
                ๒.  ด้วยการสังเกต
                ๓.  ด้วยการนับ
                ๔.  ด้วยการจดจำ
               ๕.  ด้วยการทำเครื่องหมาย
                ๖.  ด้วยการภาวนา  (ทำสิ่งที่ไม่มีให้มีขึ้น  ไม่อยู่นิ่งเฉย)

สติมี  ๒  ประเภท  คือ
                ๑.  ระลึกได้ในทางดี  เรียกว่า  สัมมาสติ
                ๒.  ระลึกได้ในทางชั่ว  เรียกว่า  มิจฉาสติ

หน้าที่ของสติมี  ๗  ประการ
                ๑.  ทำหน้าที่เป็นอุปการธรรม
                ๒.  ทำหน้าที่เป็นที่พึ่ง
                ๓.  ทำหน้าที่เป็นกำลัง
                ๔.  ทำหน้าที่เป็นอินทรีย์  คือความเป็นใหญ่ในการรู้เห็น
                ๕.  ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนด
                ๖.  ทำหน้าที่เป็นโพชฌงค์องค์แห่งความรู้
                ๗.  ทำหน้าที่เป็นองค์มรรค
                สติเปรียบเหมือนดวงไฟ
                สัมปชัญญะเปรียบเหมือนแสงของดวงไฟ

                สติ  ระลึกได้  ในเรื่องที่คิด  ในกิจที่ทำ  ในคำที่พูด 
                สัมปชัญญะ รู้ตัวว่า  กำลังคิด  กำลังทำ  กำลังพูด

                สติ เป็นไปทั้ง  ๓  กาล  คือ อดีต  ปัจจุบัน และ อนาคต
                สัมปชัญญะ  เป็นเฉพาะปัจจุบัน

สัมปชัญญะมี ๔  คือ
                ๑.  ความรู้ตัวในสิ่งที่เป็นประโยชน์
                ๒.  ความรู้ตัวในสิ่งที่พอเหมาะ
                ๓.  ความรู้ในสิ่งที่ควร
                ๔.  ความรู้ว่าไม่ลุ่มหลงไม่งมงาย

        สติสัมปชัญญะ  ธรรมะทั้ง ๒  นี้  เป็นธรรมะสำหรับชีวิตประจำวันเป็นอุปการธรรม  ทำให้คนเราทำงานตามหน้าที่  เป็นผู้ตื่น  ไม่มัวเมาประมาท  เป็นที่พึ่งได้ทั้งทางโลกและทางธรรม  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ในทางปฏิบัติธรรมนั้น  จะขาดสติสัมปชัญญะมิได้

สาเหตุที่ทำให้คนเราขาดสติ
                ๑.  มัวเมาในวัยว่ายังเป็นเด็ก  เป็นหนุ่มสาว  ยังไม่แก่เป็นต้น
                ๒.  เมาในความไม่มีโรค  ไม่เจ็บไข้
                ๓.  เมาในชีวิต  คือ  เมาในลาภ  ยศ  สรรเสริญ สุข

จากหนังสือ อธิบายธรรมในนวโกวาท
หัวข้อสอนธรรมะ สำหรับนวกภิกขุ  วัดบวรนิเวศวิหาร
โดย พระธรรมดิลก   (วิชมัย)
วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่  ๒๕ - ธันวาคม - ๒๕๑๖ 

ผู้บันทึก
สุชาโต  ภิกฺขุ  (สุชาติ  ไกรฤกษ์)
นวกะปี  ๒๕๑๖



http://www.watphaidam.com/dm/navakowatsay.htm#%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ