ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2011, 05:41:34 pm »




Spring, Summer, Fall, Winter...and Spring วงจรชีวิตกิเลสมนุษย์


ชีวิตมนุษย์ก็ไม่ต่างจากการหมุนเวียนของฤดูกาล สดใสร่าเริงเหมือนฤดูใบไม้ผลิ บางครั้งอาจร้อนรุ่มราวแดดแผดเผา บางคราก็แห้งแล้งเหมือนใบไม้ร่วง และบางช่วงก็หนาวจับขั้วหัวใจ

ฤดูกาลที่เปลี่ยนผ่าน ก็เปรียบดังวัฏสังสาร ที่ดำเนินไป แล้วก็ไหลย้อนกลับมาซ้ำเดิม

2-3 ปีก่อน บังเอิญเห็นภาพวัดลอยน้ำกลางหุบเขา จำไม่ได้ว่ามาจากหนังเรื่องอะไร แต่ติดใจความงดงามของอารามบนแผ่นน้ำที่นิ่งสนิทและใสราวกระจก กระทั่งวันหนึ่งก็ได้เจอหนังเรื่องนี้ในร้านเช่าวีซีดี ถึงได้รู้ว่าภาพที่ติด ใจนั้นมาจากหนังเรื่อง Spring, Summer, Fall, Winter ...and Spring ในชื่อภาษาไทยว่า “วงจรชีวิต กิเลสมนุษย์” เป็นหนังเกาหลี แต่ก็ไม่มีอะไรเหมือนบรรดาหนังเกาหลีสุดฮิตที่บ้านเราติดกันงอมแงมอยู่ในขณะนี้

เพราะนอกจากภาพสวยสะกดสายตาแล้ว เนื้อหาของหนังก็ยังสะกิดใจ ด้วยตัวละครไร้ชื่อ และบทสนทนา ที่มีน้อยแทบนับประโยคได้ แต่ภาษาภาพนั้นมากมาย อย่างที่เรียกได้ว่าแทนคำนับพัน

ลามะวัยกลางคนกับศิษย์น้อยเยาว์วัย อาศัยอยู่ในวัดกลางน้ำ ในหุบเขาที่ล้อมด้วยป่าอันเงียบสงบ ปฏิบัติธรรม ด้วยวิถีแห่งพุทธ ดำเนินชีวิตตามสภาพแวดล้อม และครรลองของธรรมชาติ แต่ละฤดูกาล เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ท้องฟ้า ใบไม้ สายน้ำ ท่ามกลางเวลาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง อาจารย์ไม่มีคำสอน แต่ให้ศิษย์เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ

เด็กน้อยเล่นสนุกตามวัย มัดหินก้อนใหญ่ไว้บนหลังของ สัตว์เล็กๆที่จับได้ ดูพวกมันกระเสือกกระสนอย่างลำบากด้วยความบันเทิงใจ

จนรุ่งขึ้น เมื่ออาจารย์มัดหินก้อนใหญ่ใส่หลังของตนบ้าง เด็กน้อยจึงรู้สึกหนัก อ้อนวอนอาจารย์แก้มัดให้ อาจารย์กลับบอกให้ศิษย์ไปแก้มัดสัตว์ที่น่าเวทนาเหล่านั้นก่อน

“หากพวกมันตาย ก้อนหินจะติดตัวเจ้าไปตลอดชีวิต”

การผูกมัดนั้นง่าย แต่การตามแก้ไขช่างยากเย็น เช่นเดียวกับเด็กน้อยที่ต้องเข้าป่า ตามหาสัตว์ตัวจ้อย ที่ตนทรมาน หรือว่าอาจารย์กำลังใช้ก้อนหินเป็นเครื่องมือสอนลูกศิษย์ในเรื่องของ ‘กรรม’


ฤดูกาลเปลี่ยนไป ศิษย์น้อยเติบโตเป็นเด็กหนุ่มผู้สุขุมหมดจด แต่แล้วชีวิตก็ให้บททดสอบครั้งใหญ่ เมื่อเด็กสาวคนหนึ่งเข้ามาพำนักในอารามเพื่อรับการบำบัด เด็กหนุ่มพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหา สร้างความสัมพันธ์อันซ่อนเร้น และหนีจากวัดตามคนรักไปสู่โลกภายนอก ที่เขาไม่เคยสัมผัส

ก่อนหน้านั้น เราได้เห็นห้องที่ไร้ผนัง แต่กลับมีบานประตู ทั้งอาจารย์และศิษย์ผ่านเข้าออกทางประตูอย่างเคร่งครัด แต่เมื่อถึงคราวศิษย์หนุ่มน้อยจะหนีจากอาจารย์ไป เขากลับไม่ใช้ประตู หากแต่ก้าวทะลุฝาผนังที่ว่างเปล่า!!

หรือประตูนั้นคือพระธรรมวินัยที่เป็นเสมือนเกราะป้องกันชีวิต?

ฤดูกาลผันเปลี่ยนอีกครั้ง ศิษย์หนุ่มล้มลุกคลุกคลาน กลับมาหาพระอาจารย์ หอบเอาโทสะและโมหะจากความล้มเหลวในชีวิตกลับมาด้วยท่าทีแข็งกร้าว ราวกับเป็นคน ละคนกับหนุ่มน้อยที่เคยนอนมองเมฆบนท้องฟ้าอย่างมีความสุข ชีวิตทางโลกโหดร้ายกับเขา หรือเป็นเพราะเขาไม่สามารถเข้าถึงธรรมะที่แท้

เราได้เห็นฉากเล็กๆที่ศิษย์หนุ่มขโมยพระพุทธรูปหินไปในวันที่เขาจากวัด ดูเหมือนเขาจะแบกพระพุทธรูปติด ตัวไว้ตลอดเวลา แต่สภาพของเขาบอกเราว่า จริงๆแล้ว ธรรมะต้องอยู่ในใจ

ราคะจริตชักนำให้ชายหนุ่มทำผิดร้ายแรง เมื่อเจ้าหน้าที่ ติดตามมาถึงวัดกลางน้ำ เพื่อนำตัวเขากลับไปรับโทษตามกฎหมาย ขณะที่พระอาจารย์กลับขอเวลา เพื่อมอบบทเรียน แห่งธรรมให้ศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย

เรื่องดำเนินไปพร้อมฤดูเดิมที่เวียนกลับมาใหม่ ฤดูที่พระอาจารย์ได้จากไปแล้ว และศิษย์หนุ่มกลับมา ขณะหนึ่ง เขายืนมองอารามกลางน้ำในตำแหน่งเดียวกับที่เคยยืนเมื่อครั้งเยาว์วัย ครั้งก่อนนั้น ยามอยู่ในอาราม เขารู้สึกว่าเวิ้งน้ำ กว้างใหญ่ แต่เมื่อปีนขึ้นไปบนยอดเขาแล้วมองลงมา กลับเห็นอารามหลังกระจ้อยร่อยลอยอยู่กลางวงน้ำเล็กๆ



โลกเปลี่ยนไปเมื่อเรามองในมุมที่ต่างจากเดิม อีกทั้งยังลึกซึ้งขึ้นเมื่อมองในวันวัยที่เปลี่ยนแปลง

Spring, Summer, Fall, Winter...and Spring เป็นผลงานของคีม คี ดุ๊ก ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวเกาหลีใต้ที่เพิ่ง ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์เบอร์ลินปี 2005

หนังเต็มไปด้วยรายละเอียดและภาพที่แฝงสัญลักษณ์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนฤดู การพายเรือไปมา ระหว่างวัดและฝั่ง ระดับน้ำที่ขึ้นลง ประตูแต่ละบาน นานาสัตว์ทั้งแมว ไก่ เต่า ปลา กบ และงู รวมถึงภาพความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชาย การกระทำอัตวินิบาตกรรม หญิงสาวผู้ปิดบังใบหน้า หรือแม้แต่การแกะสลักพระพุทธรูปด้วยน้ำแข็งที่ย่อมละลายไปในที่สุด

นอกจากการกำกับแล้ว คิม คี ดุ๊ก ยังร่วมแสดงเอง ในฤดูสุดท้าย เมื่อลามะวัยกลางคนลากหินก้อนใหญ่ขึ้นสู่ยอดเขา เพื่อไตร่ตรองถึงคำสอนของพระอาจารย์เมื่อครั้งยังเยาว์ เขากล่าวถึงผลงานชิ้นนี้ว่า

“ผมตั้งใจที่จะบรรยายความรื่นเริงสดใส ความโกรธเกรี้ยว ความโศกเศร้า และความสุขในชีวิตของคนเรา ผ่านแต่ละฤดูกาล และผ่านชีวิตของพระรูปหนึ่งในวัดกลางทะเลสาปที่รอบกายมีเพียงธรรมชาติอันเงียบสงบ”

เป็นหนังที่ดูแล้วอิ่มตาอิ่มใจ ทั้งยังทิ้งข้อสงสัยให้ขบคิด ต่อไม่รู้จบ เพราะหนังตีความได้หลายระดับ แต่ละระดับก่อ ให้เกิดทั้งคำถามและคำตอบที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและจิตใจของมนุษย์

การตีความตามประสบการณ์และฐานคิดที่ต่างกัน คงทำให้การต่อยอดความคิดหลังการดูหนังเรื่องนี้แตกแขนงไปมากมาย แถมฉากเดียวกัน อาจตีความไปคนละทาง เข้าทำนอง....สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย

แต่อย่างน้อย สิ่งหนึ่งที่ได้ คือการตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อ ทบทวนว่า ในขณะที่โลกหมุนไป ชีวิตดำเนินไป เราเรียนรู้อะไรบ้างจากการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล

(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 84 พ.ย. 50 โดย เรืองพิลาศ)


ซาวแทรคหนัง

http://www.youtube.com/watch?v=yNSWWgINlCA#ws


เพลงนี้ แฟนคลับ ตัดต่อ

http://www.youtube.com/watch?v=UHRhjqi_GXo#ws
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 12, 2011, 09:30:48 am »



































ภาพหนัก คำน้อย หนักหน่วง คือนิยาม

เขาสื่อ โดยใช้ภาพ บรรยากาศ มากกว่าคำ น่ะ ดูไป จะเข้าใจ

บางทีนะ หนึ่งภาพ หนึ่งการเคลื่ยนไหว มันมีความหมาย มากกว่า คำเป็นพัน

ภาษาไม่รู้ แต่ ดูฉาก ที่ไหล ๆๆๆๆๆ ต่อ ๆๆๆๆ กัน น่าจะ บรรยายพุทธธรรมได้ ดีอีกแบบ

คำเยอะ ๆ ใช่ว่าจะอ๋อ ๆๆๆๆ

คำน้อย ๆ นี่แหละ อาจ อ๋อ ก็ได้

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 05:04:37 pm »

 :13: ขอบคุณครับพี่มด
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 04:18:29 pm »




:39:   ขอบพระคุณ คุณมดค่ะ

 :13: :19:
ข้อความโดย: ดอกโศก
« เมื่อ: มกราคม 07, 2011, 03:07:29 pm »

ขอเล่าเท้าความค่ะ ^^
เปิดอ่านนิตยสารเล่มเก่าในตู้ มุ่งหวังจะหาข้อมูลบางอย่างที่จะนำมาใช้ในงาน
เปิดมาพบหนึ่งหน้า พูดเรื่องหนัง ที่อ่านจบแล้วพยายามหาโดยการมาเสิร์ชชื่อหนังเป็นภาษาไทยในกูเกิ้ล

แล้วข้อความแรกที่เจอก็พบว่าอยู่ที่ใต้ร่มธรรมนี่เอง...
รู้สึกดั่งคำโบราณว่า "ใกล้เกลือกินด่าง" กระจ่างใจก็วันนี้เองค่ะ

ขอบคุณมดเอ็กที่นำเรื่องดีๆมาแบ่งปันค่ะ ^^
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กันยายน 28, 2010, 09:40:52 am »











Spring, Summer, Fall, Winter... and Spring


และ Spring,Summer,Fall,Winter…and Spring   สร้างใน ค.ศ.2004 โดย Kim Ki Duk  ผู้กับและเขียนบท ถ้าดูจากหนังแก่นแกนของเรื่องก็คงอยากเล่าทฤษฎีของการเปลี่ยนแปลง “ไตรลักษณ์” หนังเล่าเรื่องของเถรน้อยคนหนึ่งที่อาศัยอยู่กับหลวงตาในวัดลอยน้ำกลางทะเลสาบในหุบเขาอันเงียบสงบ  ฤดูกาลเปลี่ยนแปลง เณรน้อยโตขึ้นเป็นพระหนุ่ม เผชิญกับราคะกิเลสจากหญิงสาวที่มาพักรักษาตัวในวัด และแพ้พ่ายจนได้เสียกัน ชีวิตวัยหนุ่มเปลี่ยนไปตามฤดูกาล พระหนุ่มหนีจากวัดตามผู้หญิงไป เรื่องราวเป็นอย่างไร หาหนังมาดูกันเอา สาระที่น่าสนใจคือ การตีความวัฏฏะสงสารออกมาโดยใช้สัญลักษณ์ที่เรียบง่ายและงดงาม ผ่านฤดูกาล ผ่านตัวละคร ผ่านสัญลักษณ์เปรียบเทียบสัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆ ที่เลี้ยงไว้ในวัด อยากดูการสอนโดยการไม่พูด แต่พยายามเข้าใจและแสดงตัวอย่างของวิถีชีวิตที่ดีงามให้ดู ของหลวงตาผู้เฒ่า ผู้กำกับ Kim Ki Duk เขายังบอกเลยว่า  “ผมตั้งใจจะพรรณนาผ่านมุมมองของอารมณ์ดีใจ เสียใจ โกรธ เศร้าโศกของชีวิตมนุษย์ผ่าน 4 ฤดูกาล และผ่านชีวิตพระสงฆ์ที่วัด Jusan ที่อยู่กลางทะเลสาปและล้อมรอบไปด้วยธรรมชาติ”  มีคนให้ทัศนะเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ที่เคยนำมาฉายในเมืองไทยในชื่อเรื่อง วงจรชีวิต กิเลสมนุษย์ ว่า “Kim Ki-duk ผู้กำกับ และผู้แสดง ได้แปลพุทธธรรมเรื่องไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง ความทุกข์ และความไม่ใช่ตน ออกมาเป็นภาษาภาพที่งดงาม และอิ่มเอม”