ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 08:58:43 am »




สันติธรรม (พระอาจารย์มั่น)
 
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงซึ่งสันติธรรม
แก่โธตกมาณพ จึงตรัสพระคาถาว่า
ยํกิจิ สญชานาสิ โธตก อุททํ อโธ ติโยญญาปิ
มชเฌ เอตํ วิทิตวา สงโคติ โลเก ภวาภวาย มากาสิ ตัณหํ
 
แปลความว่า ดูกรโธตกะ ท่านมากำหนดรู้หมายรู้
ซึ่งอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ซึ่งเป็นเบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวางสถานกลางว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ในโลก
เครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกดังนี้แล้ว
อย่าได้ทำซึ่งตัณหา ความปรารถนาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลยดังนี้
 
อธิบายว่า ท่านมารู้แจ้งสัญญาณนี้ด้วยปัญญาว่า
เป็นเครื่องข้องเครื่องติดอยู่ในโลกดังนี้แล้ว
อย่าได้ทำตัณหาความปรารถนาเพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย
ส่วนคำว่าเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง
 
ในพระคาถานั้น ก็มีนัยอธิบายเป็น 6นัยเช่นเดียวกับ
เรื่องวิเวกธรรมที่กล่าวมาแล้ว
ทรงแสดงที่อาศัยแห่งกิเลสปปัญจธรรมมีสัญญาเป็นนิทานว่า
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ อันทำให้สัตว์เนิ่นช้า 3ประการนี้
มีสัญญาความสำคัญหมายเป็นเหตุให้เกิด

เมื่อบุคคลมาสำคัญหมายในส่วนอดีต อนาคต ปัจจุบัน
สุข ทุกข์ อุเบกขา กุศลากุศล อัพยากฤต
สามธาตุ สามภพ ด้วยประการใดๆ
ปปัญจสังขาร ที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
 
บังเกิดกล้าเจริญทวีขึ้นด้วยประการใดๆ
ทำให้บุคลลเกิดความเห็นถือมั่นด้วยตัณหาว่า
เอตํ มม นั่นเป็นของเรา
ถือมั่นด้วยมานะว่า เอโสหมสมิ เราเป็นนั่น
ถือมั่นด้วยทิฏฐิว่า
เอโส เม อตตา นั่นเป็นตัวตนแก่นสารของเรา
 
ดังนี้แล้วก็ข้องอยู่ในอารมณ์นั้นๆ ด้วยฉันทะราคะ
สเน่หาอาลัย ผูกพันจิตใจไว้ไม่ให้เปลื้องปลดออกได้
สัญญาอันเป็นนิทาน เป็นเหตุเกิดแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิก็ดี
ตัณหา มานะ ทิฏฐิอันเกิดแต่สัญญานั้นก็ดี
 
สงโค เป็นเครื่องข้องเครื่องติด
เครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลกไม่ให้พ้นไปได้
เอตํ วิทิตวา สงโคติ โลเก
ท่านรู้แจ้งประจักษ์ว่า
สัญญาเป็นเหตุแห่งตัณหา มานะ ทิฏฐิ
 
ตัณหา มานะ ทิฏฐิ มีสัญญาเป็นเหตุดังนี้แล้ว
ท่านอย่าได้ทำตัณหา คือความปรารถนาดิ้นรน
ด้วยจำนงหวังต่างๆ เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย
ท่านจงหยั่งญาณรู้ชั่งด้วยตราชู คือ ปัญญา
 
แล้วเห็นประจักษ์แจ้งชัดว่า เป็นเครื่องผูกจำ
เป็นเครื่องเกี่ยวสัตว์ไว้ในโลก
ท่านอย่าได้ทำซึ่งตัณหา เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย
ตัณหาอันเป็นไปในอาหารวิสัยคือ
รูป เสียงกลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์
 
แตกต่างโดยอาการปวัฎฎิเป็น 3ประการ
คือกาม ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ตัณหา 6หมู่ ตามอารมณ์ สามอย่างตามอาการที่เป็นไปในภพ
เป็นธรรมอันเกิดอีก เกิดขึ้นเป็นไปพร้อมกับทุกข์
 
คืออุปทานขันธ์ ท่านอย่าได้ทำตัณหานั้น เพื่อภพน้อยภพใหญ่เลย
ท่านจงละตัณหานั้นเสีย จงบรรเทาเสีย
ทำตัณหานั้นให้มีที่สุด
ท่านจงยังตัณหานั้นให้ถึงซึ่งอันจะยังเกิดตามไม่ได้
ท่านจงละตัณหานั้นด้วยสมุจเฉทปาหานเถิดฯ



นำมาแบ่งปันโดย : miracle of love
Credit by : http://agaligohome.com/index.php?topic=4494.0
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม * สุขใจดอทคอม
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ท
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ