ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 03:23:48 am »



:13:  :45: :07: :45:

ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 10:11:16 pm »

my-way เขียน:

เมื่อปรมาจารย์ทางจิตแบบหลวงปู่ดูลย์ กล่าวไปถึงความรู้สึกตัว

แล้วก็ลองดู ว่าปรมาจารย์ ด้านความรู้สึกตัว อย่างหลวงพ่อเทียน กล่าวเรื่องจิตที่ส่งออก เป็นสมุทัย
การไม่เกิดความรู้สึกตัว นั้นเป้นอย่างไร

จากพลิกโลกเหนือความคิด โดยหลวงพ่อเทียน

แมวจับหนู


อุปมาเหมือนบ้านเรามีหนู มันจึงกัดเสื้อผ้าสิ่งของเสียหายหมด เราไม่มีความสามารถที่จะไปไล่หนูออกจากบ้านได้ จำเป็นต้องไปเอาแมวมาเลี้ยงไว้, แมวกับหนูเป็นปรปักษ์กัน ถ้ามีแมวแล้วหนูมันกลัว. สมมติ ทีแรกหนูตัวใหญ่แมวตัวเล็ก, พอหนูมาแมวถึงตัวจะเล็กมันก็ตะครุบอยู่ดี แต่หนูตัวโตก็วิ่งหนี แมวก็เกาะติดหนูไป พอเหนื่อยแล้วแมวตัวเล็กมันก็วางหนูเอง หนูจึงหนีพ้นไปได้. เราไม่ต้องไปสอนแมวให้จับหนู เพราะเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว, เราเพียงเอาอาหารให้แมวกินให้มันใหญ่ขึ้นอ้วนโตขึ้นมีกำลังแข็งแรงมากขึ้น. ทีนี้เวลาหนูมันมาอีก แมวซึ่งจ้องคอยทีอยู่โดยธรรมชาติและมีกำลังแล้วนั้น จะกระโจนจับทันทีอย่างแรง หนูมันไม่เคยถูกแมวจับมันก็ตกใจช็อคตายทันที เลือดในตัวหนูก็เลยหยุดวิ่ง แมวกินหนูจึงไม่มีเลือด. ความคิดก็เหมือนกัน พอดีมันคิด – เราเห็นเรารู้เราเข้าใจ – มันหยุดทันที, ความคิดมันเลยไม่ถูกปรุงไป เพราะเรามีสติ-มีสมาธิ-มีปัญญาแล้ว. สติแปลว่าตั้งมั่น สมาธิก็แปลว่าตั้งมั่นตั้งใจไว้มั่น ปัญญาแปลว่ารอบรู้ ตัวสติตั้งมั่น ก็คือ มันคอยจ้องความคิดอยู่เหมือนแมวคอยทีจะจับหนูนั่นเอง, พอดีมันคิดปุ๊บ เราไม่ต้องไปรู้กับมัน ให้มาอยู่กับความรู้สึกตัวนี้ มันคิดแล้วก็หายไป. นี้ก็หมายความว่า เมื่อมีสติเห็นรู้เข้าใจอยู่ความหลงไม่มีหรือมีไม่ได้เลย, เมื่อความหลงไม่มีแล้ว โทสะ-โมหะ-โลภะ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้, นี้เรียกว่า นามรูปไม่ทุกข์ เพราะรู้เท่า-รู้ทัน-รู้กัน-รู้แก้ ซึ่งก็คือ “ตัวสติ” นั่นเอง.
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 10:08:18 pm »

my-way เขียน:

ลองอ่านดู พื้นฐานการปฎิบัติเจริญจิตภาวนา ตามแบบหลวงปู่ดูย์
สำหรับผู้เรื่มปฎิบัติ

อันนีท่านพูดไว้ชัดเจน เรื่องการส่งออกไปเสวยอารณ์



วิธีเจริญจิตภาวนา (ตามวิธีหลวงปู่ดูลย์ อตุโล)

1. เริ่มต้นอิริยาบถที่สบาย

ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร หรือ รู้ "ตัว" อย่างเดียว รักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อย ๆ ให้ "รู้อยู่เฉย ๆ " ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่าง ๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นตามธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้น ๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบสภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำ จากนั้น ค่อย ๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอ รักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไป ด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร

ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อ ๆ ไป...........



เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่าง ๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นตามธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้น ๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 10:06:13 pm »


กรัชกาย เขียน:

ท่านผู้รู้ผู้ทราบที่นับถือ ชาวพุทธอยากได้วิธีปฏิบัติเพื่อการ ละ ว่าต้องทำยังไง ปฏิบัติยังไง จึงจะละกิเลส ละสังโยชน์ได้ วิธีทำ วิธีปฏิบัติน่ะทำยังไง 


LuiPan เขียน:



ก่อนจะถามหาการปฏิบัตินั้นทำอย่างไร ก็ต้องมาทำความเข้าใจเรื่อง อินทรีย์ ที่ระบุในลาย
เซ็นนั้นเสียใหม่ให้ถูกก่อน

หากยังทำอะไรๆ แล้ว เซ็นลายเซ็นเรื่อง อินทรีย์ อยู่แบบนั้น ก็คง ป่วยการที่จะถามหาการปฏิบัติ

คำว่า อินทีรย์ คือ คือ สภาพธรรมที่เป็นใหญ่

ความเป็นใหญ่ของสภาพธรรม คือ เหนือการควบคุม เป็นสภาพธรรมที่เหนือบุคคล
สัตว ตัวตน บุคคล เราเขา ทั้งปวง จึงชื่อว่า อินทรีย์ธรรม

ยกตัวอย่างเช่น

ลูกตา หรือ ตา ซึ่งเป็น อินทรีย์อย่างหนึ่ง มีความเป็นใหญ่เหนือสรรพสิ่ง เหนือชีวิตตา

การที่มีการระบุว่า จะบังคับบัญชาได้ หรือ ขั้นสูงนั้นจะสำรวมอินทรีย์คือบังคับบัญชาได้

ถามว่า หากมีมัจจุมารหมายทวงคืนวาระกรรม คือ จิ้มลูกตาให้บอดเสีย

ผู้ที่มี อินทรีย์สังวรณ์ ที่ไหนในโลกธาตุ จะบังคับให้ตน มองเห็น หรือ มีความเป็นใหญ่
กว่า ตาอินทรีย์ ที่เสียหายไปแล้วได้บ้าง

จะเห็นว่า อินทรีย์คือ ความเป็นใหญ่

การระบุว่า


อ้างคำพูด:
ในขั้นสูง เมื่อกลายเป็นผู้เจริญอินทรีย์แล้ว มีความหมายถึงขั้นเป็นนายเหนือความรู้สึกต่างๆที่จะเกิดจากการรับรู้อารมณ์ทางตา ทางหู เป็นต้นเหล่านั้น สามารถบังคับให้เกิดความรู้สึกต่างๆได้ตามต้องการ



จึงเป็นเรื่องของบุคคล ที่ถือ สิ่งที่ไม่ถูกต้องอยู่ในมือ หากไม่วางลงก่อนเสีย ก็ป่วยการที่จะถาม
หา วิธีปฏิบัติ


my-way เขียน:
คุณลูแปงนี่ ก็ตาแหลม เหมือนกัน ใช้ได้ ๆๆ

สงสัยว่า คุณกรัชกายคงจะยังไม่รู้
ว่าที่ถูกต้องของลายเซนต์ ควรเป็นยังไงครับ
ถ้าได้ปฎิบัติบ้าง ไม่ถึงกับมากมาย ต้องรู้ว่าลายเซนต์ นั่นมันเพี้ยน
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 10:02:29 pm »

mes เขียน:

สรุปว่าอย่างนี้ได้ไหม

สิ่งที่เกิดจากการปรุ่งแต่งไม่ใช่วิมุติธรรม

my-way เขียน:

ยังสรุปอย่างนั้นไม่ได้ ครับ
วิมุติธรรม วิมุตญารทรรศนะ ยังเป็นสิ่งปรุงแต่ง
ยังไม่เป็นของแท้
เอาเข้านิพพานไม่ได้
พระสารีบุตรยังทิ้งไว้ เอาไปไม่ได้ ครับ



my-way เขียน:
[๗๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ สารี-

บุตรพาเอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติ-

ญาณทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วยหรือ.
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระ-

สารีบุตร มิได้พาศีลขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณ-

ทัสสนขันธ์ปรินิพพานไปด้วย.
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 09:59:37 pm »

LuiPan เขียน:
คำว่า ละ นั้น มีปัญหามากในการให้คำอธิาย เสมือนการตอกลิ่มไม้ใหม่เข้าไปในเนื้อกลองจัญไร

ดังนั้น ควรใช้คำของตถาคต

คำว่า ละ ที่เป็นคำเดิมของพระตถาคต คือ ไม่เผลอเพลิน หรือ ไม่เผลอมีนันทิราคะ

ละ แบบ ละนันทิราคะ หากกลับไปอ่านสำนวนบาลีเดิม จะพบว่า คำเดิมก็ใช้คำว่า
ขจัดนันทิราคะ นี่แหละ แต่เพราะลิ่มสลักที่แปลเข้าไปใหม่ แล้วนิยมใช้กัน ก็เอา
คำว่า ละ เข้าไปแทนที่ ทำให้คำของตถาคตที่กล่าวไว้ดีแล้ว อันตรธานหายไป

eragon_joe เขียน:

อันตรธาน มิได้เริ่มที่ บัญญัติ

ละนันทิราคะ หรือ ขจัดนันทิราคะ เพื่อให้ได้ผลซึ่งอะไร นี่คือนัยที่หายไป

ถ้าปัจจัยหนึ่งมิจางไป การแตกร้าวย่อมไม่ปรากฎ

ความเสื่อมแรกที่ปรากฎก่อนที่ ความเสื่อมอื่น ๆ จะปรากฎตามมาก็คือ

สมดุลแห่งความเป็นกลอง เมื่อสมดุลเสีย สิ่งแรกที่สังเกตได้คือ เสียงกลองที่เพี้ยนไป

ส่วนรูปลักษณ์ภายนอก เป็นสิ่งที่เห็นได้หลังจากนั้นมา

ผู้ที่จะรู้ว่าเสียงกลองนั้นเพี้ยนไป มีเพียง ผู้ที่ชำนาญในอุปกรณ์นั้น

สำเนียงที่เพี้ยนไป คือ สิ่งแรกที่ทำให้เรารู้ว่า
กลองนั้นเสียสมดุล และกำลังเดินทางเข้าสู่การเสื่อมในกาลต่อไป

การเห็น นัยยะแห่งกลอง สะท้อน
หนึ่ง กลองที่เราเห็น ไม่ใช่สิ่งเดียวกับกลองใบเก่า
ดังนั้นการตีกลอง ยังกลองใบนี้ เสียงที่ได้ ก็ไม่ใช่เสียงเดียวกับเสียงที่ได้ออกมาจากกลองใบเก่า

สอง เราไม่อาจจะยึดกลองใบนี้ เสียงกลองเสียงนี้ ว่าเป็นสำเนียงที่แท้จริงของกลองได้ไม่

สาม สำเนียงดั่งเดิมของกลองนั้น จางหายไปจากความทรงจำของพวกเราได้อย่างไร
แล้วอะไรคือ สิ่งที่จะช่วยให้เราแกะรอยกลับไปหาสำเนียงนั้นได้ อีกครั้ง

นี่คือเหตุผลที่ ทำไม พุทธจึงแบ่งแยกออกเป็นสองสาย
ก็คือ แบ่งหน้าที่ในการเก็บรักษา
เพื่อสักวันหนึ่ง จะมีผู้นำสมบัติทั้งสองชิ้น กลับมาเชื่อมต่อกันอีกครั้ง

 ไร้สาระท่าน ... ไม่มีอะไร
แค่อ่านความเห็นท่านแล้ว มันรู้สึกไปถึงสำเนียงที่หายไปก่อนที่เนื้อกลองจะหายไป

 


my-way เขียน:

กลองหุ้มด้วยหนังอะไร ถึงจะตีดัง

มุสิละ ดีดพิณเจ็ดสาย เสียงไพเราะเสนาะโสตจับใจคนฟัง

แต่อาจารย์ของมุสิละ ใช้พิณจัญไร ไม่มีสายสักสายเดียว
แต่เสียงธรรม กระจายไปถึงเทวโลก

เสียงของธรรม หาได้เกิดจากหนังกลอง
เสียงของธรรม หาได้เกิดจาสายพิณ
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 09:56:58 pm »

กรัชกาย เขียน:
ท่านผู้รู้ผู้ทราบที่นับถือ ชาวพุทธอยากได้วิธีปฏิบัติเพื่อการ ละ ว่าต้องทำยังไง ปฏิบัติยังไง จึงจะละกิเลส ละสังโยชน์ได้ วิธีทำ วิธีปฏิบัติน่ะทำยังไง 

my-way เขียน:

คุณกรัชกาย ครับ ไม่ต้องชาวพุทธหรอก ชาวไหนๆ ก็รู้จักละได้
ชาวบ้านชาวเมืองชาวป่า
ก็รู้จักครับ
การละกิเลสหยาบๆๆ ไปจนถึงสังโยนข์เบื้องสูง

ถามคนที่ติดคุกติดตารางอยู่ ก็รู้ การลด การละ การเลิก นั่นควรทำยังไง
ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างติดเหล้า ติดนักเรียนสาวๆ
ใครๆก็รู้อยู่แล้ว
ว่าทำยังไง
เมื่อยังติดใจ มันก้ละ ไม่ได้ ลดไม่ได้ เลิกไม่ได้

อ่านธรรมมะมาตั้งมากมาย ยังไม่รู้อีกเหรอครับ
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 09:55:45 pm »

LuiPan เขียน:
การไปฝึกการเคี้ยวอาหารเพื่อเจริญสติ จะทำได้ยาก จะเกิดสติยาก หรือว่า เกิดสติช้า

ก็เหมือนกับ เทวดา ที่เขาอยู่ในภพของการบริโภค ภพเทวดานี้ ถือว่าเป็นภพที่เกิดสติช้า

เหตุเพราะ การบริโภค มันเป็นเรื่องของความสุขอยู่กับกาม คลุกเคล้ากับกาม คนที่เกลือกกลั้ว
กับกาม จะหวังการเจริญสติ ย่อมเป็นไปได้ยาก

จึงต้องฉลาดในการบริโภค เช่น ทำให้อาหารนั้นเป็นสิ่งเรกูล ไปเสีย ซึ่งก็มีหลายวิธี
อย่างเช่น เคี้ยวไปสามสี่ครั้งแล้ว สติ ไม่เกิด ก็คายออกมา แล้วก็ตักกินเข้าไปใหม่

ตรงนี้จะเป็นอุบายในการ ละนันทิราคะในการกินได้ จะทำให้ การเคี้ยวเพื่อการเจริญสติ
นั้นเข้าใกล้เป้าหมายต่อการทำนิพพานให้แจ้ง หรือ การปรารภมีจิตตั้งมั่น ได้มากขึ้น

my-way เขียน:
ความฉลาดในการบริโภค ไม่ใช่การสร้างอุบาย เพื่อทำอาหารดีๆ ให้เป้นปฎืกูล โดยอาศัยความจำ
สติในการบริโภค
เกิดง่ายดาย และเป้นสติที่ไม่ผิดเพี้ยน ไม่ต้องไปแปลงสัญญา
สติที่อินทรีย์ ลิ้นแตะปุ๊ป รู้หวาน นั่นมีสติ
เป้นสติระดับหนึ่ง
ความพอใจ ไม่พอใจในหวาน
เป็นสติอีกระดับหนึ่ง
ความเห็นอาหาร เป็นธาตุ เป็นสติอีกระดับหนึ่ง

แค่แตะลิ้น สติก็เกิดหลายเด้งแล้ว

มันจะยากเย็นตรงไหน

ที่มันยาก ก็เพราะไปเอาที่ปฎิกูลัญญา มาพิจารณา

เพราะไม่มีสติที่ปลายลิ้น แต่ไปทำสติที่ปลายเหตุ

กินกันทุกวัน กินด้วยปัญญา และสติ ตั้งแต่ปลายลิ้น


ถ้าคุณทำสติในการกินยาก
ไม่รู้จักการทำสติในการกิน

ผมจะเคี้ยวให้แทน แล้วคายให้คุณกิน นะครับ

เคี้ยวครั้งเดียว แล้วก็คายให้คุณกิน ก็พอ
จะได้ไม่ต้องพิจารณาอาหาเรเลย

สติที่ตาเห้นปุ๊ป มันจะรู้ทันที ว่า แหวะ
นี่แหละ สติการกิน แบบง่ายๆ
เอาไปหัดปฎิบัตินะครับ
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 09:50:34 pm »

LuiPan เขียน:
มันคนละเรื่องกันกับ การมีจิตตั้งมั่น

จิตตั้งมั่น ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการ อยู่กับการส่งสวด

จิตตั้งมั่น คือ อยู่กับการงานการพิจารณาทุกข์

ทุกขในกรณีของ จขกท คือ กิเลสอันเป็นสังขารขันธ์มันปรากฏตัวออกมา

สังขารขันธ์ปรากฏตัวแล้ว ลืม หลักการพิจารณา ไปสำคัญว่า สังขารขันธ์เป็นตนเข้า
เพราะการขาดการสดับ

ถ้าหมั่นสดับ ก็จะอ๋อ สังขารมันปรากฏเพราะอวิชชามันมีอยู่ จิตสวดมนต์นี้มันผ่อง
ใสด้วยการสวดมนต์แต่มันก็เป็นจิตที่มีอวิชชาอยู่วันยันค่ำ เมื่อมีอวิชชาแล้วกิเลส
อันเป็นสังขารขันธ์ก็เกิดตามมาเป็นธรรมดา

แต่เพราะไม่ทันกระแสของอวิชชา ทำให้คว้าเอากิเลสว่าเป็นตนอยู่ เลยทำให้
ตกจากการพิจารณาทุกข์ การงานที่ควรทำไม่ได้ทำ จึงเรียกว่า จิตไม่ตั้งมั่น
ต่อการงาน ต่อการทำนิพพานให้แจ้ง ผิดหน้าที่ ผิดวาจา ฯ ไป

หากจะผลิกให้กลับมาตั้งมั่น ก็อย่าสำคัญผิดว่า สังขารขันธ์เป็นตน แยกสังขารขันธ์
ออกจากองค์ธรรมที่กำลังทำหน้าที่รู้ให้ได้ วิญญาณขันธ์ก็จะแยกออกจากสังขาร
ขันธ์ ปฏิสนธิกิจของจิตในการคว้าเอาขันธ์5 มาเป็นตนก็จะถูกชำระออกไป

สังขารขันธ์อันที่เป็นกองกิเลส ก็จะย้อมไม่ติดจิต ไม่เกิดปฏิสนธิกิจ นั่นแหละ

หากทำได้ เห็นชัดว่าข้ามได้ ย่อมพยากรณ์ตัวเองได้ว่า จะเกิดอุปาธิ กับอกุศล
นั้นๆอีกหรือเปล่า

แล้วก็ทำการงานอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ขาดการพิจารณา ไม่พลาด ไม่เผลออีก
ก็เรียกว่า มีจิตตั้งมั่น มีธรรมเอกผุด ไม่มีอกุศลใดหยั่งลงในจิต หรือ ชักชวน
ให้จิตสำคัญผิด ย้อมไม่ติดจิต ก็เรียก สติวินโยก็เรียก

my-way เขียน:
จิตตั้งมั่น อยู่กับการพิจารณาทุกข์
ตั้งมั่นระดับหนึ่งเท่านั่นเอง มั๊งครับ

คือตั่งมั่นอยู่ในทุกข์
ก็เลยเข้าไปตั้งอยู่ กับการพิจารณาทุกข์

ก็เลย ยังไม่ถึงความไม่นึกเลย ครับ
ธรรมเอกก็เลยไม่ผุด

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น"



my-way เขียน:


และเมื่อไปตั่งมั่นอยู่ในทุกข์ ยังหาทางออกยังไม่ได้
ก็ไปอาศัย ตั้งมัน อยู่ในพิจารณา ซ้อน เข้าไปอยู่ ในทุกข์อีก ให้มันทุกข์หนักเข้าไปอีกสองต่อ


แบบนี้ นี่ไม่ค่อยฉลาด
ที่ทำไหลสะสมทุกข์ ไปอย่างต่อเนื่อง
ไปตั้งมั่นอยู่ในทุกข์ แล้วพิจารณาทุกข์

นั่นเพราะขาดสติ
ที่ไม่สามารถจะออกจากทุกข์อันนั้นก่อน

แล้วค่อย กลับเข้าสู่ความเป็นผู้ไม่นึก
แล้วค่อยกลับมาพิจารณา
ครับผม

มันตรึกตาม ไปเสียหมด ทั้งๆที่ยังจมอยู่ในทุกข์
ข้อความโดย: ต๊ะติ้งโหน่ง
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2011, 09:48:09 pm »

ปล่อยรู้ เขียน:
:b8: อนุโมทนาสาธุ ทุกๆท่านครับ


อุปาทาน เป็นเหตุปัจจัย ทำให้เกิดภพ...

นิพพาน มิใช่ภพ
แต่การยึดมั่นถือมั่นในนิพพาน คือภพ.


ความรู้ ความเห็น อุบายในการปฏิบัติภาวนาต่างๆ
ญาณ ฌาน ใดๆทั้งหลาย
ยังมิได้เป็นภพ หากยังไม่มีการเข้าไปสำคัญมั่นหมายยึดมั่นถือมั่น.


ความวุ่นวาย ความทุกข์ ความคับแค้นขัดเคืองใจ ความโศกธุลี จะเกิดมีขึ้นก็ต่อเมื่อมีภพบังเกิดขึ้น
ภพจะบังเกิดมีขึ้น ก็เพราะมีอุปาทาน
อุปาทานจะเกิดมีขึ้นมาได้ ก็เพราะอาศัยตัณหา
อยากให้ ไม่อยากให้
อยากได้ ไม่อยากได้
อยากมี ไม่อยากมี
อยากเป็น ไม่อยากเป็น...

อยากให้รู้อย่างนี้ อยากให้ดูอย่างนี้ อยากให้ปฏิบัติอย่างนี้ อยากให้สนทนาอย่างนี้
หากไม่รู้อย่างนี้ ไม่ดูอย่างนี้ ไม่ปฏิบัติอย่างนี้ ไม่สนทนาอย่างนี้ ...ไม่ใช่ ไม่ถูก

การรู้ ก็ดี การเข้าไปรู้ ก็ดี
การดู ก็ดี การเข้าไปดู ก็ดี
ไม่ว่าจะเป็นการรู้หรือการดูแบบใดๆก็ตาม
หากมีการยึดมั่นให้ความสำคัญมั่นหมายขึ้นมาเมื่อใด
เมื่อนั้น การรู้ การดู ก็จะกลายเป็นภพ เป็นที่ที่ให้จิตเข้าไปเสพ เข้าไปอาศัย
เข้าไปตั้งอยู่ ให้จิตเจริญงอกงามอยู่
ความรู้... ที่ได้จากการรู้,จากการดู เช่นนี้ ก็ยังไม่อาจที่จะดับทุกข์ลงได้สนิทอย่างสิ้นเชิงแต่ประการใด

ความรู้ที่ยังมีความสำคัญมั่นหมายอยู่นั้น
จะเป็นได้ก็เพียงใช้เป็นอาวุธเมื่อการต่อสู่ประหัดประหารทางวาจาเท่านั้นเอง

ความรู้ที่ปรารถนาจะให้เป็นธรรมทานแก่ผู้อื่นนั้น เพื่อใช่ดับกระหายบันเทาทุกข์ให้เจือจาง
ก็จะกลับกลายเป็นผงทราย น้ำเกลือ ที่เพิ่มความระคายเคืองแสบตา หิวกระหายหนักเพิ่มขึ้นไปอีก.


...ความยึดมั่นถือมั่น มีผลเป็นแต่ความทุกข์สถานเดียว...

...ความยึดมั่นถือมั่น เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่เป็นทุกข์ เป็นไม่มี...

my-way เขียน:

ยึดในความไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็มีผลเป็นเป็นแต่ความทุกข์ แหละครับ

เพราะไปยึดว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่น ซะแล้ว